การรับมือกับปัญหาบ้านร้าว เราอาจลองพิจารณาเบื้องต้นเพื่อลดความกังวลระหว่างที่รอหารือกับวิศวกรได้ ว่ารอยร้าวในบ้านเรามีแนวโน้มจะเป็นรอยร้าวอันตราย ฟ้องปัญหาโครงสร้าง หรือเป็นรอยร้าวผนังทั่วไปที่เกิดขึ้นได้แบบไม่อันตราย
>
รอยร้าวตามส่วนต่างๆ ของบ้าน โดยเฉพาะบริเวณกำแพงบ้านมักจะเป็นส่วนที่เห็นก่อนและเห็นชัดที่สุด อาจทำให้หลายคนกังวลใจว่าบ้านของเราจะพังหรือไม่ ซึ่งที่จริงแล้ว ไม่ใช่ว่ารอยร้าวทุกแบบจะแสดงถึงสัญญาณอันตรายเสมอไป วันนี้ SCGHOME.COM จะนำรอยร้าวรูปแบบต่างๆ มาเล่าให้ฟัง เพื่อให้เจ้าของบ้านนำไปพิจารณากันก่อน ระหว่างรอหารือกับวิศวกรได้
>
รอยร้าวอันตราย จากฐานรากทรุดไม่เท่ากัน
>
หากเจ้าของบ้านสังเกตกำแพงแล้วพบรอยร้าวในส่วนของผนังและโครงสร้างเสาคานในลักษณะต่อไปนี้ 1) รอยร้าวที่ปลายคาน 2) รอยร้าวแบบข้อปล้องที่เสา 3) รอยร้าวทแยงมุมที่ผนัง สันนิษฐานได้ว่าฐานรากบ้านเรามีปัญหา เกิดการทรุดตัวที่ไม่เท่ากัน นอกจากนี้ หากสังเกตที่พื้นและพบรอยร้าวเป็นแนวยาว ต่อเนื่องไปตามแนวผนัง ก็เป็นร้อยร้าวอันตรายที่ฟ้องปัญหาแบบเดียวกันด้วย ควรรีบให้วิศวกรโครงสร้างเข้ามาตรวจสอบ
>
รอยร้าวผนัง รอยร้าวอันตรายจากฐานรากทรุดไม่เท่ากัน
ภาพ: รอยร้าวอันตรายจากฐานรากทรุดไม่เท่ากัน
>
รอยร้าวอันตราย จากปัญหาโครงสร้างรับน้ำหนักเยอะเกินไป
>
หากสังเกตโครงสร้างส่วนต่างๆ ของบ้าน ไม่ว่าจะเป็น เสา คาน รวมถึงพื้นคอนกรีตเสริมเหล็ก แล้วพบรอยร้าวดังต่อไปนี้ 1) รอยแตกร้าวหรือกะเทาะใต้ท้องพื้น 2) รอยร้าวแนวเฉียงที่ปลายคานไปหัวเสา 3) รอยร้าวแนวดิ่งกลางคาน 4) รอยร้าวแตกลึกที่เสา สันนิษฐานได้ว่าโครงสร้างบ้านเรารับน้ำหนักเยอะเกินไป หากพบรอยร้าวเหล่านี้ ควรรีบให้วิศวกรโครงสร้างเข้ามาตรวจสอบเช่นเดียวกัน
>
รอยร้าวผนัง รอยร้าวอันตรายจากโครงสร้างรับน้ำหนักมากเกินไป
ภาพ: รอยร้าวอันตรายจากโครงสร้างรับน้ำหนักมากเกินไป
>
รอยร้าวผนังหรือบริเวณรอยต่อผนังทั่วไปที่ดูไม่เสี่ยงอันตราย
>
เป็นรอยร้าวที่เกิดขึ้นได้กับตัวผนังก่ออิฐฉาบปูน หรือรอยต่อผนังกับโครงสร้าง ไม่ว่าจะเป็น 1) รอยร้าวแนวดิ่งกลางผนังจากด้านบน 2) รอยร้าวที่มุมวงกบ 3) รอยร้าวแตกลายงาทั่วไป 4) รอยร้าวแนวนอนที่ผนังใต้ท้องคาน 5) รอยร้าวแนวดิ่งข้างเสา รอยร้าวเหล่านี้มักเกิดที่ผิวปูนฉาบ หรือเกิดจากการก่อผนังไม่ได้มาตรฐาน ไม่ได้เกี่ยวข้องกับโครงสร้าง เสา คาน หรือพื้นคอนกรีตเสริมเหล็ก ดังนั้นจึงอาจไม่ใช่เรื่องที่น่ากังวลมากนัก
>
Single Image รอยร้าวผนัง บ้านร้าว ผนังร้าวทั่วไปที่ดูไม่เสี่ยงอันตราย
ภาพ: รอยร้าวผนังทั่วไปที่ดูไม่เสี่ยงอันตราย
>
Single Image รอยร้าวผนัง บ้านร้าว ผนังร้าวทั่วไปที่ดูไม่เสี่ยงอันตราย
ภาพ: รอยร้าวผนังทั่วไปที่ดูไม่เสี่ยงอันตราย
>
เลือกซื้อวัสดุยาแนว ซ่อมรอยร้าว วัสดุเก็บงานรอยต่อ MagiX คลิก\{.button .newtab} {.centered}
>
จะเห็นได้ว่าบรรดารอยร้าวที่เกิดขึ้นในบ้านเรานั้น อาจเป็นได้ทั้งรอยร้าวที่แสดงถึงอันตรายจากปัญหาโครงสร้าง ซึ่งควรรีบปรึกษาวิศวกรเพื่อพิจารณาหาวิธีแก้ไข ไปจนถึงรอยร้าวที่ผิวปูนฉาบทั่วไปบริเวณผนังหรือรอยต่อระหว่างผนังกับโครงสร้าง ซึ่งไม่ได้อันตราย เพียงแค่ทำให้ดูไม่สวยงาม หรืออาจเป็นช่องทางให้น้ำฝนรั่วซึมเข้าบ้านได้ รอยร้าวที่ไม่อันตรายเหล่านี้เจ้าของบ้านอาจติดต่อช่างให้มาซ่อมแซมได้เมื่อสะดวก หรือหากรอยร้าวมีจำนวนน้อยและขนาดเล็ก เจ้าของบ้านอาจลงมือซ่อมแซมด้วยตัวเองได้ อย่างไรก็ตาม รอยร้าวตามส่วนต่างๆ ในบ้านทั้งหมดที่เล่าไปนี้ หากเจ้าของบ้านไม่ถนัดในการพิจารณาหรือเพิ่งผ่านเหตุการณ์ที่ทำให้ไม่มั่นใจ เช่น แผ่นดินไหว ก็อาจลองปรึกษาวิศวกรโครงสร้างก่อนจะวางแผนซ่อมอีกครั้ง
>
อ่านเพิ่มเติม: ปัญหาน่ารู้ รอยร้าวผนัง แบบไหนซ่อมได้ แบบไหนอันตราย?!!\{.newtab}
>
เลือกซื้อวัสดุยาแนว ซ่อมรอยร้าว วัสดุเก็บงานรอยต่อ MagiX คลิก\{.button .newtab} {.centered}
การรับมือกับปัญหาบ้านร้าว เราอาจลองพิจารณาเบื้องต้นเพื่อลดความกังวลระหว่างที่รอหารือกับวิศวกรได้ ว่ารอยร้าวในบ้านเรามีแนวโน้มจะเป็นรอยร้าวอันตราย ฟ้องปัญหาโครงสร้าง หรือเป็นรอยร้าวผนังทั่วไปที่เกิดขึ้นได้แบบไม่อันตราย
>
รอยร้าวตามส่วนต่างๆ ของบ้าน โดยเฉพาะบริเวณกำแพงบ้านมักจะเป็นส่วนที่เห็นก่อนและเห็นชัดที่สุด อาจทำให้หลายคนกังวลใจว่าบ้านของเราจะพังหรือไม่ ซึ่งที่จริงแล้ว ไม่ใช่ว่ารอยร้าวทุกแบบจะแสดงถึงสัญญาณอันตรายเสมอไป วันนี้ SCGHOME.COM จะนำรอยร้าวรูปแบบต่างๆ มาเล่าให้ฟัง เพื่อให้เจ้าของบ้านนำไปพิจารณากันก่อน ระหว่างรอหารือกับวิศวกรได้
>
รอยร้าวอันตราย จากฐานรากทรุดไม่เท่ากัน
>
หากเจ้าของบ้านสังเกตกำแพงแล้วพบรอยร้าวในส่วนของผนังและโครงสร้างเสาคานในลักษณะต่อไปนี้ 1) รอยร้าวที่ปลายคาน 2) รอยร้าวแบบข้อปล้องที่เสา 3) รอยร้าวทแยงมุมที่ผนัง สันนิษฐานได้ว่าฐานรากบ้านเรามีปัญหา เกิดการทรุดตัวที่ไม่เท่ากัน นอกจากนี้ หากสังเกตที่พื้นและพบรอยร้าวเป็นแนวยาว ต่อเนื่องไปตามแนวผนัง ก็เป็นร้อยร้าวอันตรายที่ฟ้องปัญหาแบบเดียวกันด้วย ควรรีบให้วิศวกรโครงสร้างเข้ามาตรวจสอบ
>
รอยร้าวผนัง รอยร้าวอันตรายจากฐานรากทรุดไม่เท่ากัน
ภาพ: รอยร้าวอันตรายจากฐานรากทรุดไม่เท่ากัน
>
รอยร้าวอันตราย จากปัญหาโครงสร้างรับน้ำหนักเยอะเกินไป
>
หากสังเกตโครงสร้างส่วนต่างๆ ของบ้าน ไม่ว่าจะเป็น เสา คาน รวมถึงพื้นคอนกรีตเสริมเหล็ก แล้วพบรอยร้าวดังต่อไปนี้ 1) รอยแตกร้าวหรือกะเทาะใต้ท้องพื้น 2) รอยร้าวแนวเฉียงที่ปลายคานไปหัวเสา 3) รอยร้าวแนวดิ่งกลางคาน 4) รอยร้าวแตกลึกที่เสา สันนิษฐานได้ว่าโครงสร้างบ้านเรารับน้ำหนักเยอะเกินไป หากพบรอยร้าวเหล่านี้ ควรรีบให้วิศวกรโครงสร้างเข้ามาตรวจสอบเช่นเดียวกัน
>
รอยร้าวผนัง รอยร้าวอันตรายจากโครงสร้างรับน้ำหนักมากเกินไป
ภาพ: รอยร้าวอันตรายจากโครงสร้างรับน้ำหนักมากเกินไป
>
รอยร้าวผนังหรือบริเวณรอยต่อผนังทั่วไปที่ดูไม่เสี่ยงอันตราย
>
เป็นรอยร้าวที่เกิดขึ้นได้กับตัวผนังก่ออิฐฉาบปูน หรือรอยต่อผนังกับโครงสร้าง ไม่ว่าจะเป็น 1) รอยร้าวแนวดิ่งกลางผนังจากด้านบน 2) รอยร้าวที่มุมวงกบ 3) รอยร้าวแตกลายงาทั่วไป 4) รอยร้าวแนวนอนที่ผนังใต้ท้องคาน 5) รอยร้าวแนวดิ่งข้างเสา รอยร้าวเหล่านี้มักเกิดที่ผิวปูนฉาบ หรือเกิดจากการก่อผนังไม่ได้มาตรฐาน ไม่ได้เกี่ยวข้องกับโครงสร้าง เสา คาน หรือพื้นคอนกรีตเสริมเหล็ก ดังนั้นจึงอาจไม่ใช่เรื่องที่น่ากังวลมากนัก
>
Single Image รอยร้าวผนัง บ้านร้าว ผนังร้าวทั่วไปที่ดูไม่เสี่ยงอันตราย
ภาพ: รอยร้าวผนังทั่วไปที่ดูไม่เสี่ยงอันตราย
>
Single Image รอยร้าวผนัง บ้านร้าว ผนังร้าวทั่วไปที่ดูไม่เสี่ยงอันตราย
ภาพ: รอยร้าวผนังทั่วไปที่ดูไม่เสี่ยงอันตราย
>
เลือกซื้อวัสดุยาแนว ซ่อมรอยร้าว วัสดุเก็บงานรอยต่อ MagiX คลิก\{.button .newtab} {.centered}
>
จะเห็นได้ว่าบรรดารอยร้าวที่เกิดขึ้นในบ้านเรานั้น อาจเป็นได้ทั้งรอยร้าวที่แสดงถึงอันตรายจากปัญหาโครงสร้าง ซึ่งควรรีบปรึกษาวิศวกรเพื่อพิจารณาหาวิธีแก้ไข ไปจนถึงรอยร้าวที่ผิวปูนฉาบทั่วไปบริเวณผนังหรือรอยต่อระหว่างผนังกับโครงสร้าง ซึ่งไม่ได้อันตราย เพียงแค่ทำให้ดูไม่สวยงาม หรืออาจเป็นช่องทางให้น้ำฝนรั่วซึมเข้าบ้านได้ รอยร้าวที่ไม่อันตรายเหล่านี้เจ้าของบ้านอาจติดต่อช่างให้มาซ่อมแซมได้เมื่อสะดวก หรือหากรอยร้าวมีจำนวนน้อยและขนาดเล็ก เจ้าของบ้านอาจลงมือซ่อมแซมด้วยตัวเองได้ อย่างไรก็ตาม รอยร้าวตามส่วนต่างๆ ในบ้านทั้งหมดที่เล่าไปนี้ หากเจ้าของบ้านไม่ถนัดในการพิจารณาหรือเพิ่งผ่านเหตุการณ์ที่ทำให้ไม่มั่นใจ เช่น แผ่นดินไหว ก็อาจลองปรึกษาวิศวกรโครงสร้างก่อนจะวางแผนซ่อมอีกครั้ง
>
อ่านเพิ่มเติม: ปัญหาน่ารู้ รอยร้าวผนัง แบบไหนซ่อมได้ แบบไหนอันตราย?!!\{.newtab}
>
เลือกซื้อวัสดุยาแนว ซ่อมรอยร้าว วัสดุเก็บงานรอยต่อ MagiX คลิก\{.button .newtab} {.centered}