การรับมือกับปัญหาบ้านร้าว เราอาจลองพิจารณาเบื้องต้นเพื่อลดความกังวลระหว่างที่รอหารือกับวิศวกรได้ ว่ารอยร้าวในบ้านเรามีแนวโน้มจะเป็นรอยร้าวอันตราย ฟ้องปัญหาโครงสร้าง หรือเป็นรอยร้าวผนังทั่วไปที่เกิดขึ้นได้แบบไม่อันตราย > รอยร้าวตามส่วนต่างๆ ของบ้าน โดยเฉพาะบริเวณกำแพงบ้านมักจะเป็นส่วนที่เห็นก่อนและเห็นชัดที่สุด อาจทำให้หลายคนกังวลใจว่าบ้านของเราจะพังหรือไม่ ซึ่งที่จริงแล้ว ไม่ใช่ว่ารอยร้าวทุกแบบจะแสดงถึงสัญญาณอันตรายเสมอไป วันนี้ SCGHOME.COM จะนำรอยร้าวรูปแบบต่างๆ มาเล่าให้ฟัง เพื่อให้เจ้าของบ้านนำไปพิจารณากันก่อน ระหว่างรอหารือกับวิศวกรได้ > รอยร้าวอันตราย จากฐานรากทรุดไม่เท่ากัน > หากเจ้าของบ้านสังเกตกำแพงแล้วพบรอยร้าวในส่วนของผนังและโครงสร้างเสาคานในลักษณะต่อไปนี้ 1) รอยร้าวที่ปลายคาน 2) รอยร้าวแบบข้อปล้องที่เสา 3) รอยร้าวทแยงมุมที่ผนัง สันนิษฐานได้ว่าฐานรากบ้านเรามีปัญหา เกิดการทรุดตัวที่ไม่เท่ากัน นอกจากนี้ หากสังเกตที่พื้นและพบรอยร้าวเป็นแนวยาว ต่อเนื่องไปตามแนวผนัง ก็เป็นร้อยร้าวอันตรายที่ฟ้องปัญหาแบบเดียวกันด้วย ควรรีบให้วิศวกรโครงสร้างเข้ามาตรวจสอบ > รอยร้าวผนัง รอยร้าวอันตรายจากฐานรากทรุดไม่เท่ากัน ภาพ: รอยร้าวอันตรายจากฐานรากทรุดไม่เท่ากัน > รอยร้าวอันตราย จากปัญหาโครงสร้างรับน้ำหนักเยอะเกินไป > หากสังเกตโครงสร้างส่วนต่างๆ ของบ้าน ไม่ว่าจะเป็น เสา คาน รวมถึงพื้นคอนกรีตเสริมเหล็ก แล้วพบรอยร้าวดังต่อไปนี้ 1) รอยแตกร้าวหรือกะเทาะใต้ท้องพื้น 2) รอยร้าวแนวเฉียงที่ปลายคานไปหัวเสา 3) รอยร้าวแนวดิ่งกลางคาน 4) รอยร้าวแตกลึกที่เสา สันนิษฐานได้ว่าโครงสร้างบ้านเรารับน้ำหนักเยอะเกินไป หากพบรอยร้าวเหล่านี้ ควรรีบให้วิศวกรโครงสร้างเข้ามาตรวจสอบเช่นเดียวกัน > รอยร้าวผนัง รอยร้าวอันตรายจากโครงสร้างรับน้ำหนักมากเกินไป ภาพ: รอยร้าวอันตรายจากโครงสร้างรับน้ำหนักมากเกินไป > รอยร้าวผนังหรือบริเวณรอยต่อผนังทั่วไปที่ดูไม่เสี่ยงอันตราย > เป็นรอยร้าวที่เกิดขึ้นได้กับตัวผนังก่ออิฐฉาบปูน หรือรอยต่อผนังกับโครงสร้าง ไม่ว่าจะเป็น 1) รอยร้าวแนวดิ่งกลางผนังจากด้านบน 2) รอยร้าวที่มุมวงกบ 3) รอยร้าวแตกลายงาทั่วไป 4) รอยร้าวแนวนอนที่ผนังใต้ท้องคาน 5) รอยร้าวแนวดิ่งข้างเสา รอยร้าวเหล่านี้มักเกิดที่ผิวปูนฉาบ หรือเกิดจากการก่อผนังไม่ได้มาตรฐาน ไม่ได้เกี่ยวข้องกับโครงสร้าง เสา คาน หรือพื้นคอนกรีตเสริมเหล็ก ดังนั้นจึงอาจไม่ใช่เรื่องที่น่ากังวลมากนัก > Single Image รอยร้าวผนัง บ้านร้าว ผนังร้าวทั่วไปที่ดูไม่เสี่ยงอันตราย ภาพ: รอยร้าวผนังทั่วไปที่ดูไม่เสี่ยงอันตราย > Single Image รอยร้าวผนัง บ้านร้าว ผนังร้าวทั่วไปที่ดูไม่เสี่ยงอันตราย ภาพ: รอยร้าวผนังทั่วไปที่ดูไม่เสี่ยงอันตราย > เลือกซื้อวัสดุยาแนว ซ่อมรอยร้าว วัสดุเก็บงานรอยต่อ MagiX คลิก\{.button .newtab} {.centered} > จะเห็นได้ว่าบรรดารอยร้าวที่เกิดขึ้นในบ้านเรานั้น อาจเป็นได้ทั้งรอยร้าวที่แสดงถึงอันตรายจากปัญหาโครงสร้าง ซึ่งควรรีบปรึกษาวิศวกรเพื่อพิจารณาหาวิธีแก้ไข ไปจนถึงรอยร้าวที่ผิวปูนฉาบทั่วไปบริเวณผนังหรือรอยต่อระหว่างผนังกับโครงสร้าง ซึ่งไม่ได้อันตราย เพียงแค่ทำให้ดูไม่สวยงาม หรืออาจเป็นช่องทางให้น้ำฝนรั่วซึมเข้าบ้านได้ รอยร้าวที่ไม่อันตรายเหล่านี้เจ้าของบ้านอาจติดต่อช่างให้มาซ่อมแซมได้เมื่อสะดวก หรือหากรอยร้าวมีจำนวนน้อยและขนาดเล็ก เจ้าของบ้านอาจลงมือซ่อมแซมด้วยตัวเองได้ อย่างไรก็ตาม รอยร้าวตามส่วนต่างๆ ในบ้านทั้งหมดที่เล่าไปนี้ หากเจ้าของบ้านไม่ถนัดในการพิจารณาหรือเพิ่งผ่านเหตุการณ์ที่ทำให้ไม่มั่นใจ เช่น แผ่นดินไหว ก็อาจลองปรึกษาวิศวกรโครงสร้างก่อนจะวางแผนซ่อมอีกครั้ง > อ่านเพิ่มเติม: ปัญหาน่ารู้ รอยร้าวผนัง แบบไหนซ่อมได้ แบบไหนอันตราย?!!\{.newtab} > เลือกซื้อวัสดุยาแนว ซ่อมรอยร้าว วัสดุเก็บงานรอยต่อ MagiX คลิก\{.button .newtab} {.centered}
แนะแนวทางตรวจสุขภาพบ้าน ทั้งที่มีอายุไม่เกิน 5 ปี และ 5-15 ปี เพื่อหาจุดบกพร่องขณะตรวจสภาพบ้านและปรับปรุงซ่อมแซมตามสมควร ให้สามารถอยู่อาศัยได้อย่างราบรื่นปลอดภัย >“บ้าน” ไม่ว่าจะถูกสร้างให้แข็งแรงเพียงใด แต่เมื่อเวลาผ่านไป ย่อมต้องเสื่อมโทรมตามกาลเวลา เจ้าของบ้านจึงควรตรวจสอบสุขภาพของตัวบ้านอยู่เป็นประจำ เพื่อช่วยยืดอายุการใช้งาน และลดการเกิดปัญหาบานปลายในอนาคต โดยการตรวจสอบสภาพบ้านจะแบ่งตามช่วงอายุของบ้าน ดังนี้ >## การตรวจสภาพบ้านที่มีอายุ 0-5 ปี >ปัญหาที่พบส่วนใหญ่มักเกิดจากความบกพร่องของการก่อสร้าง เรียกว่า Defect อาทิ การแตกร้าวของผนังจากการฉาบ หรือเลือกใช้ปูนฉาบที่ไม่ได้มาตรฐาน หรือความบกพร่องของอุปกรณ์ภายในบ้านที่มาจากการติดตั้งไม่ได้มาตรฐาน นอกจากนี้ อาจพบปัญหาดินรอบบ้านทรุดตัว จนเกิดโพรงใต้บ้าน ซึ่งหากเป็นบ้านในโครงการและอยู่ในช่วงรับประกัน ให้สอบถามทางโครงการว่าปัญหานี้อยู่ในเงื่อนไขการรับประกันหรือไม่ แต่หากเป็นบ้านที่สร้างโดยผู้รับเหมาทั่วไปก็อาจจะพิจารณาซ่อมแซมเป็นจุด ๆ ไป บริการเติมเต็ม ปิดโพรงใต้บ้าน แก้ปัญหาดินรอบบ้านทรุด คลิก\{.button .newtab} {.centered} >## การตรวจสภาพบ้านที่มีอายุ 5-15 ปี >เป็นช่วงเวลาควรเริ่มทำการตรวจสอบและบำรุงรักษา ซึ่งหากแก้ไขได้ทันจะช่วยลดการเกิดปัญหาที่อาจบานปลายในอนาคตได้ โดยเน้นตรวจ 3 จุดสำคัญ ได้แก่ ภายนอกบ้าน ภายในบ้าน และโครงสร้างของบ้าน ซึ่งมีรายละเอียดแยกย่อยกันไป >## การตรวจสภาพบ้านที่มีอายุ 5-15 ปี : ตรวจสภาพพื้นที่ภายนอกบ้าน >1) รอยร้าวที่ผนังบ้าน สำหรับรอยร้าวขนาดเล็กที่เห็นด้วยตา เป็นรอยแตกยาวไปมาแบบไร้ทิศทาง สร้างความเสียหายให้ผนังและสีภายนอก โดยเฉพาะทิศที่ได้รับความร้อนจากแสงแดดตลอดวัน เช่น ทิศใต้ และทิศตะวันตก รอยร้าวชนิดนี้ไม่อันตราย ไม่ส่งผลกับโครงสร้างอาคาร แต่ถ้าปล่อยไว้นานอาจทำให้น้ำฝนเข้าสู่อาคารได้ ในการแก้ไข ให้แต่งรอยแตกร้าวให้กว้างขึ้นเล็กน้อยเป็นรูปตัววี พร้อมทำความสะอาดให้เรียบร้อย จากนั้นทำการทารองพื้นปูนเก่า และเก็บรอยร้าวด้วยวัสดุอุดโป๊วที่มีความยืดหยุ่นสูง ก่อนทาสีทับหน้าชนิดยืดหยุ่นตามระบบการทาสีที่ถูกต้อง แต่หากเป็นรอยเพียงเท่าเส้นผมให้ทาสีทับหน้าชนิดยืดหยุ่นตัวสูงทาทับปิดรอยแตกร้าวได้เลย >2) ตรวจการรั่วซึมที่ผนัง รอยรั่วบริเวณมุมประตูหน้าต่างมักมาพร้อมรอยแตกร้าวบริเวณมุมวงกบ ทำให้น้ำรั่วซึมเข้าบ้าน อาจเพราะไม่ได้ใส่ลวดกรงไก่ในขั้นตอนก่อฉาบ จึงสร้างรอยร้าวเวลาใช้งานประตูหรือหน้าต่างได้ง่าย การใส่ลวดกรงไก่จะช่วยป้องกันรอยแตกร้าวอันเป็นสาเหตุรั่วซึมในส่วนนี้ได้ ตรวจสภาพบ้าน ตรวจสุขภาพบ้าน รอยร้าวผนังใกล้ประตูหน้าต่าง ผนังร้าวรั่วซึม >ภาพ:ตัวอย่างรอยแตกร้าวที่ผนังในตำแหน่งใกล้กับหน้าต่าง >3) รอยรั่วบริเวณรอยต่อผนังชนท้องคาน จะเห็นรอยแตกร้าวเป็นเส้นระหว่างใต้คานกับผนัง ทำให้น้ำฝนไหลเข้าตัวบ้าน สาเหตุมักเกิดตั้งแต่ขั้นตอนการก่อสร้าง การผิดขั้นตอน หรือเร่งฉาบปูนเร็วเกินไป ทำให้ปูนเกิดการหดตัวลง แก้ไขได้โดยใช้กาว PU หรืออะคริลิกอุดระหว่างร่อง ความยืดหยุ่นของสารเชื่อมประสานจะช่วยอุดรอยร้าวได้ ตรวจสภาพบ้าน ตรวจสุขภาพบ้าน รอยร้าวใต้คาน รอยร้าวผนังใต้คาน >ภาพ:ตัวอย่างรอยแตกร้าวที่ผนังบริเวณใต้คาน ซื้อกาว PU คลิก-สีขาว-300-ml.-MagiX?utmsource=Web-SCG-HOME-LandingPage-Article&utmmedium=CTA-Products&utm_campaign=Products-PU1SealJ)\{.button .newtab} {.centered} >4) รอยรั่วบริเวณรอยต่อแนวดิ่งข้างเสา อาจเกิดจากการเก็บงานรอยต่อได้ไม่ดี หรือร้ายแรงหน่อยคือ ไม่ได้เสียบเหล็กหนวดกุ้งระหว่างเสากับผนังบ้าน แก้ไขได้โดยสกัดรอยแตกร้าวให้ใหญ่ขึ้นเป็นรูปตัววี จากนั้นยาด้วย PU แล้วทาสีเก็บความเรียบร้อย และควรใส่เหล็กหนวดกุ้งทุกครั้งในการก่อผนังชนเสา >5) การทรุดตัวของดินและพื้นรอบบ้าน หลังจากที่พบการทรุดตัวของดินรอบบ้านในช่วง 5 ปีแล้วนั้น ปัญหาที่มักตามมาคือ ปัญหาพื้นรอบบ้านและพื้นจอดรถมีการทรุดตัวเสียหาย เนื่องจากพื้นส่วนนี้มักไม่ได้ ลงเสาเข็ม หรือลงเสาเข็มแบบสั้นที่อาศัยเพียงแรงฝืดในชั้นดินช่วยพยุงน้ำหนักของพื้นไว้ และเมื่อเวลาผ่านไปพื้นดินมีการทรุดตัวตามธรรมชาติ พื้นคอนกรีตเสริมเหล็กตำแหน่งนั้นจึงทรุดตาม โดยเริ่มสังเกตได้จากระดับที่เอียงผิดปกติ และหากมีการทรุดมากขึ้นจะเห็นรอยแตกร้าวบริเวณพื้นตามมา ส่วนวิธีการแก้ไขนั้น หากเป็นพื้นจอดรถควรทำการลงเข็มเพื่อช่วยลดการทรุดตัวในอนาคต และควรให้แยกต่างหากจากตัวบ้านโดยไม่เชื่อมกัน เพื่อป้องกันความเสียหายกรณีที่มีการขยับตัวของโครงสร้างไม่เท่ากัน ตรวจสภาพบ้าน ตรวจสุขภาพบ้าน โพรงใต้บ้าน พื้นทรุด พื้นรอบบ้านทรุด ดินรอบบ้านทรุด >ภาพ:ตัวอย่างโพรงใต้บ้านที่เกิดจากปัญหาพื้นดินรอบบ้านทรุด บริการเติมเต็ม ปิดโพรงใต้บ้าน แก้ปัญหาดินรอบบ้านทรุด คลิก\{.button .newtab} {.centered} >6) ตรวจสอบหลังคาเพื่อป้องกันสัตว์เล็ก เช่น นก หนู ค้างคาว กระรอก ที่เข้ามาทำรังและกัดกินโครงสร้าง ทำให้หลังคาบ้านโดนทำลาย ผุพังง่าย ก่อความรำคาญทั้งกลิ่นและเสียง รวมถึงทำให้บ้านสกปรก ทั้งนี้ในการตรวจสอบให้สังเกตรายละเอียดต่างๆ คือ >- ครอบข้าง ควรอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ไม่พบช่องว่าง >- สันหลังคา ไม่ชำรุด เเตกร้าว เชิงชายอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ไม่แตกหัก >- สันตะเข้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ไม่พบช่องว่าง >- ครอบปิดปลายสันตะเข้ อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ไม่พบช่องว่าง >- ฝ้าชายคา ไม่ชำรุด เเตกหักเสียหาย >ส่วนการป้องกันแก้ไขแนะนำให้ติดตั้งระบบหลังคากันสัตว์เล็ก เพื่อช่วยป้องกันไม่ให้สัตว์ต่างๆ เข้ามาทำลายโครงสร้างหลังคาหรือเข้ามาอยู่อาศัยได้ ประกอบไปด้วยอุปกรณ์ 5 ตำแหน่ง ได้แก่ แผ่นปิดครอบข้าง แผ่นปิดครอบสันหลังคา แผ่นปิดเชิงชาย แผ่นปิดครอบสันตะเข้ แผ่นปิดปลายสันตะเข้ บริการติดตั้งระบบหลังคากันสัตว์เล็ก SCG คลิก\{.button .newtab} {.centered} >7) การรั่วซึมที่หลังคา >สังเกตรูปทรงหลังคาว่าได้ระดับ มีความสมมาตรดีหรือไม่ กระเบื้องมุงหลังคาติดตั้งได้แนว ไม่เผยอ ไม่มีรอยแตกร้าว ครอบหลังคาทั้งแนวสันหลังคาและตะเข้สันปิดมิดชิด ถ้าครอบเปียกให้สังเกตว่าปูนใต้ครอบมีรอยร้าวหรือไม่ เพราะเป็นจุดที่น้ำซึมผ่านได้ ส่วนภายในบ้านให้มองหาคราบน้ำบนฝ้าชายคาว่ามีหรือไม่ และลองเปิดฝ้าเพดานชั้นบนแล้วสังเกตดูว่ามีช่องของแสง หรือคราบน้ำในโถงหลังคาหรือไม่ ในการแก้ไขควรเรียกผู้เชี่ยวชาญมาตรวจสอบและซ่อมหลังคาตามมาตฐานการติดตั้งของประเภทหลังคา ชนิดนั้น ๆ ตรวจสภาพบ้าน ตรวจสุขภาพบ้าน หลังคารั่ว ฝ้าเพดานช้ำน้ำ ปัญหาหลังคารั่วซึม ซ่อมหลังคารั่ว >ภาพ: รอยรอยน้ำบริเวณฝ้าเพดานชั้นบน แสดงให้เห็นถึงปัญหารั่วซึมที่หลังคา บริการปรับปรุง ซ่อมแซมหลังคาบ้าน คลิก\{.button .newtab} {.centered} >## การตรวจสภาพบ้านที่มีอายุ 5-15 ปี : ตรวจสภาพในบ้าน >1) พื้นไม้กับปัญหาเรื่องปลวก ตรวจสอบพื้นไม้ภายในบ้านว่ายังใช้งานได้ดี มีปัญหาเรื่องปลวกหรือไม่ สังเกตรอยทางเดินปลวกภายในบ้าน เศษปีกหรือมูลของแมลงเม่าภายในตัวบ้าน เสียงปลวกที่กำลังกินไม้ ส่วนประตูหน้าต่างไม้หากมีรอยผุก่อน เริ่มฝืดและเปิดปิดยากขึ้น อาจเป็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับเรื่องปลวกได้ ในการแก้ไขควรเรียกบริษัทกำจัดปลวกมาทำการฉีดพ่นน้ำยาทั้งภายนอกและภายในบ้าน ทุก 1-3 ปี หรือตามระยะเวลาที่เหมาะสม >2) พื้นกระเบื้องเซรามิก เมื่อใช้งานไปนานอาจเกิดปัญหากระเบื้องหลุดล่อนหรือยาแนวหลุด วิธีแก้ปัญหาเบื้องต้นสามารถทำการแก้ไขเป็นจุดๆ ได้ แนะนำว่าซื้อกระเบื้องเซรามิกในเฉดสีเดียวกันสำรองไว้แต่แรกเผื่อใช้ปรับปรุงหรือซ่อมแซมในอนาคต (หากซื้อภายหลังอาจได้เฉดสีไม่ตรง หรือบางรุ่นอาจเลิกผลิต) บริการติดตั้งพื้นภายในบ้าน คลิก\{.button .newtab} {.centered} >## การตรวจสภาพบ้านที่มีอายุ 5-15 ปี : ตรวจสอบโครงสร้างบ้านเก่า >เน้นตรวจหารอยแตกร้าวขนาดใหญ่ตามตำแหน่งโครงสร้าง เช่น เสา คาน พื้น รวมถึงสภาพผิดปกติที่เป็นอันตรายกับโครงสร้างดังต่อไปนี้ >- พบรอยแตกร้าวขนาดใหญ่ที่ตำแหน่งเสา คาน พื้น ร้ายแรงหน่อยอาจเห็นเหล็กเสริมภายในโครงสร้าง >- พบรอยแตกร้าวหรือรอยแตกเฉียง 45 องศาที่ผนัง >- พบรอยแยกแตกแยกระหว่างโครงสร้างบ้านเดิมกับส่วนต่อเติม >- พบเหล็กเส้นที่ตำแหน่งท้องพื้นชั้นดาดฟ้า >- พบการล้มเอียงของพื้น หรือผนังของตัวบ้าน >ในการตรวจสอบโครงสร้างบ้านเก่า หากพบลักษณะดังกล่าว สันนิษฐานได้ว่าโครงสร้างของบ้านอาจมีปัญหา และไม่ปลอดภัยสำหรับผู้อยู่อาศัย แนะนำให้ปรึกษาวิศวกรโครงสร้างเพื่อทำการแก้ไข >จะเห็นได้ว่าการตรวจสภาพบ้านที่มีอายุ 5-15 ปี นั้น มีรายละเอียดปลีกย่อยมากมาย หากเจ้าของบ้านไม่ถนัด อาจปรึกษาผู้เชี่ยวชาญช่วยตรวจสอบ และสำหรับบ้านที่อยู่อาศัยมานานหลายปี แนะนำให้ตรวจสอบงานระบบด้วย โดยเฉพาะระบบไฟฟ้า เพื่อป้องกันอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินของคนในบ้าน (อ่านบทความเกี่ยวข้อง “ตรวจระบบไฟฟ้าฉบับเจ้าของบ้าน: 4 ข้อ เช็กระบบไฟบ้านเก่าเกิน 10 ปี” >>คลิก{.newtab}) >ลงทะเบียนปรึกษาเรื่องการทำบ้านกับผู้เชี่ยวชาญของ เอสซีจี โฮม ได้ที่นี่ >>คลิก{.newtab} >เพื่อให้ “บ้าน” อยู่สบาย และป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาลุกลามบานปลายในอนาคต จึงควรหมั่นตรวจสอบบำรุงรักษา “บ้าน” อยู่เสมอ ซึ่งทาง เอสซีจี โฮม มีผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำปรึกษาและพร้อมให้บริการเกี่ยวกับการสร้าง ปรับปรุง ซ่อมแซม และต่อเติมบ้าน โดยลูกค้าสามารถปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญได้ที่ ร้านเอสซีจี โฮม ทั่วประเทศ (ค้นหาสาขาร้านเอสซีจี โฮม >> คลิก{.newtab}) และลงทะเบียนปรึกษาเรื่องการทำบ้านกับผู้เชี่ยวชาญของ เอสซีจี โฮม ได้ที่นี่ >> คลิก{.newtab} หรือสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ SCG HOME Contact Center โทร 02-586-2222
รวมถามตอบเกี่ยวกับระบบระบายอากาศ SCG Active AIRflow™ System ไม่ว่าจะเป็นหลักการทำงาน การใช้งาน เหมาะจะติดตั้งกับบ้านแบบไหนการติดตั้ง ดูแลรักษาอย่างไร เป็นต้น > 1) ระบบระบายอากาศ SCG Active AIRflow™ System มีหลักการทำงานอย่างไร? > ระบบนี้ทำงานโดยการดึงอากาศจากภายนอกเข้ามาในบ้านผ่านช่องลมเข้า (Intake Air Grille) ที่ผนัง ซึ่งมีตัวกรองสำหรับกรองฝุ่น PM 10, PM 2.5 และแมลง ได้ จากนั้นอุปกรณ์ Ceiling Ventilator ที่ติดตั้งบนฝ้าเพดาน ก็จะดูดเอาอากาศอากาศในบ้านขึ้นโถงหลังคา แล้วถ่ายเทออกไปนอกบ้านผ่านอุปกรณ์ Smart Roof Ventilator ที่อยู่บนหลังคา เป็นการดูดเอาอากาศร้อนและความชื้นผ่านออกทางโถงหลังคาซึ่งเป็นส่วนที่ร้อนที่สุดของบ้าน (สอดคล้องกับหลักการธรรมชาติที่ความร้อนจะลอยตัวสูงขึ้น) > Singleimage การทำงานระบบระบายอากาศ SCG Active AIRflow System ภาพ: หลักการทำงานของระบบระบายอากาศ SCG Active AIRflow™ System > 2) ระบบระบายอากาศ SCG Active AIRflow™ System แตกต่างกับลูกหมุนระบายอากาศอย่างไร? > ลูกหมุนระบายอากาศธรรมดาจะทำงานตามธรรมชาติโดยอาศัยการไหลเวียนของอากาศและความเร็วลมจากภายนอก ต่างกันกับระบบ SCG Active AIRflow™ System ซึ่งจะมี Smart Control Box เซนเซอร์วัดอุณหภูมิ และ Timer คอยควบคุมการทำงานของระบบให้เหมาะสมกับสภาพอากาศภายในบ้านอยู่ตลอด จึงสามารถระบายความร้อนและความชื้นออกจากบ้านได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่า Singleimage พัดลมฟักทองลูกหมุนระบาย ภาพ: ตัวอย่างพัดลมลูกหมุนระบายอากาศที่ติดตั้งบนหลังคา > 3) บ้านที่มีการติดตั้งระบบระบายอากาศ SCG Active AIRflow™ System มีข้อดีแตกต่างกับบ้านที่ทั่วไปที่ไม่ได้ติดตั้งอย่างไร? > บ้านที่ติดตั้งระบบ SCG Active AIRflow™ System จะมีการเร่งอัตราการระบายอากาศในบ้านได้มากขึ้น ทำให้ไม่ร้อนอบอ้าว ลดปัญหาการสะสมความชื้นกลิ่นอับ สารก่อภูมิแพ้ในบ้าน สิ่งสำคัญคือช่วยลดอุณหภูมิในโถงหลังคาซึ่งเป็นจุดที่ร้อนที่สุด ทำให้อุณหภูมิภายในบ้านลดลง เครื่องปรับอากาศจึงทำงานน้อยลง ช่วยประหยัดพลังงานได้ ส่วนบ้านที่ไม่ได้ติดตั้ง SCG Active AIRflow™ System ก็จะร้อนอบอ้าวกว่า อาจเกิดปัญหาเรื่องกลิ่นอับและสารก่อภูมิแพ้ได้มากกว่า > ติดตั้ง ระบบระบายอากาศ SCG Active AIRflow™ System คลิก\{.button .newtab} {.centered} > 4) การลดความร้อนในบ้าน หากใช้การติดตั้งฉนวนกันความร้อนอย่างเดียว จะเพียงพอหรือไม่? > ฉนวนกันความร้อน\{.newtab}มีหน้าที่ “ช่วยป้องกันความร้อนจากภายนอกเข้าสู่ตัวบ้าน” ซึ่งในความเป็นจริงก็จะยังมีความร้อนบางส่วนที่เข้ามาในบ้านได้ รวมถึงความร้อนสะสมที่เกิดจากเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน หากไม่ได้ระบายออก ก็จะถูกฉนวนกันความร้อนกักเก็บเอาไว้เช่นกัน (คล้ายกับกระติกน้ำร้อน) การติดตั้งระบบ SCG Active AIRflow™ System จะดึงเอาความร้อนสะสมที่อยู่ภายในบ้านและในโถงหลังคาระบายออกไป ดังนั้นเมื่อใช้คู่กับฉนวนกันความร้อน ก็จะช่วยส่งเสริมให้บ้านเย็นสบายยิ่งขึ้น จึงนับว่าดีกว่าเมื่อเทียบกับการใช้ฉนวนกันความร้อนเพียงอย่างเดียว > Singleimage การใช้ฉนวนกันความร้อนร่วมกับ SCG Active Airflow System ภาพ: ตัวอย่างการติดตั้งฉนวนกันความร้อนที่ฝ้าเพดานชั้นบน ควบคู่กับระบบระบายอากาศที่ช่วยดูดเอาความร้อนในโถงหลังคาออกไปได้ > 5) ระบบระบายอากาศ SCG Active AIRflow™ System เหมาะสำหรับติดตั้งในบ้าน หรือที่อยู่อาศัยแบบใด? > เหมาะกับบ้านเดี่ยวหรือบ้านแฝด (กรณีเป็นทาวน์เฮ้าส์ ทาวน์โฮม ภายในโถงหลังคาจะต้องมีการกั้นแยกพื้นที่แยกกับเพื่อนบ้าน เพื่อไม่ให้อากาศในโถงหลังคาเชื่อมกัน) โดยบ้านชั้นเดียว ชั้นครึ่ง และ 2 ชั้น จะให้ประสิทธิภาพดีที่สุด กรณีเป็นบ้าน 3 ชั้น ก็สามารถติดตั้งได้จะต้องมีทางขึ้นหลังคาจากระเบียงชั้น 2 ด้วย ผนังบ้านควรก่อด้วยอิฐมอญหรืออิฐมวลเบา (หากเป็นผนัง Precast จะมีพิจารณาขั้นตอนติดตั้งเฉพาะเพิ่มเติม) ฝ้าเพดานควรเป็นแบบฉาบเรียบขนานกับพื้น เพื่อให้มีปริมาณอากาศในโถงหลังคาเหมาะสมการทำงานของระบบ ส่วนกระเบื้องหลังคาควรเป็นวัสดุคอนกรีตหรือเซรามิก (หากเป็นเมทัลชีทควรมีความชันมากกว่า 3 องศา) ทั้งนี้ก่อนใช้บริการจะต้องมีการสำรวจหน้างานโดยทีมงาน SCG เพื่อประเมินความเหมาะสมในการติดตั้งและนำเสนอแพ็กเกจที่เหมาะสม > 6) SCG Active AIRflow™ System มีกี่แบบให้เลือก? > หลักๆ จะแบ่งเป็นแพ็กเกจ Compact และแพ็กเกจ Premium โดยแพ็กเกจ Compact จะมี Timer สำหรับตั้งเวลาเพื่อควบคุมการทำงาน ส่วนแพ็กเกจ Premium จะทำงานอัตโนมัติตามอุณหภูมิในบ้านและโถงหลังคา โดยมีเซนเซอร์แสดงค่าอุณหภูมิ คาร์บอนไดออกไซด์ และ VOCs อยู่ 2 จุด คือในโถงหลังคาและตำแหน่งชั้น 2 ในบ้าน (เซนเซอร์ที่ชั้น 2 จะแสดงค่าฝุ่น PM2.5 ด้วย) สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่ คลิก\{.newtab} > 7) หลังจากที่เราติดตั้งระบบระบายอากาศ SCG Active AIRflow™ System ไปแล้วจะมีวิธีดูแลรักษาอย่างไร? > Intake Air Grille: เป็นวัสดุพลาสติกใช้ผ้าเช็ดทำความสะอาดได้ ส่วนไส้กรองด้านในสามารถใช้เครื่องดูดฝุ่นทำความสะอาดได้ และควรเปลี่ยนแผ่นกรองทุก 4-6 เดือน Ceiling Ventilator: ควรดับไฟเพื่อความปลอดภัยก่อนจะทำความสะอาดโดยใช้ผ้าเช็ด เป่าด้วยพัดลม หรือใช้เครื่องดูดฝุ่นทำความสะอาด Smart Roof Tile Ventilator: เป็นอุปกรณ์ที่ติดตั้งบนหลังคา จึงทำความสะอาดค่อนข้างยาก ควรติดต่อผู้เชี่ยวชาญจาก SCG มาดำเนินการให้แทน Smart Control Box: เจ้าของบ้านไม่ควรแกะออกมาเพราะเสี่ยงอันตราย หากโดนความชื้นอาจทำให้ไฟฟ้าลัดวงจรได้ แนะนำให้เช็ดทำความสะอาดภายนอกรวมถึงสังเกตการทำงานของพัดลม Ceiling Ventilator ซึ่งจะตรวจสอบได้ง่ายผ่าน Application หากเป็นแพ็กเกจที่มีการแสดงสถานะเชื่อมต่อกับ Wi-Fi > ติดตั้ง ระบบระบายอากาศ SCG Active AIRflow™ System คลิก\{.button .newtab} {.centered} > 8) SCG Active AIRflow™ System ต้องใช้ไฟฟ้าในการเดินระบบ จะกินไฟมากน้อยแค่ไหน? > ระบบใช้พลังงานไฟฟ้าไม่มาก โดย Ceiling Ventilator ใช้ไฟประมาณ 20-23 วัตต์ และ Smart Roof Tile Ventilator ใช้ประมาณ 5 วัตต์ โดยรวมแล้วจะใช้ค่าไฟจะอยู่ที่ประมาณ 100-200 บาทต่อเดือน ยกตัวอย่างบ้านขนาด 170 ตร.ม. ติดตั้ง Ceiling Ventilator 1 จุด และ Smart Roof Tile Ventilator 2 จุด อาจใช้ค่าไฟประมาณ 85-90 บาทต่อเดือน ซึ่งถือว่าคุ้มค่าเมื่อเทียบกับอากาศที่เย็นสบายขึ้นและช่วยลดภาระการทำงานของแอร์ > 9) อุปกรณ์ที่ติดอยู่บนหลังคา จะมีกลไกป้องกันไม่ให้แมลงหรือสัตว์ต่างๆ เข้ามาได้อย่างไร? > บริเวณ Smart Roof Tile Ventilator และ Intake Air Grill จะมีตะแกรงป้องกัน จึงมั่นใจได้ว่าจะไม่มีสัตว์หรือแมลงเข้าสู่ภายในบ้านผ่านระบบระบายอากาศ > Singleimage ตะแกรงกันแมลงของระบบ SCG Active Airflow System ภาพ: ตะแกรงป้องกันแมลง สัตว์รบกวน ที่ติดตั้งมากับอุปกรณ์ต่างๆ > 10) หากเราจะเปิดแอร์ จะต้องทำการปิดระบบระบายอากาศ SCG Active AIRflow™ System ก่อนหรือไม่? > ขณะเปิดแอร์ แนะนำให้ปิดระบบ SCG Active AIRflow™ System ทั้งพัดลมระบายอากาศ Ceiling Ventilator และ Smart Roof Ventilator เพื่อป้องกันไม่ให้อากาศเย็นไหลออกจากบ้าน ส่วน Intake Air Grill ที่มีอุปกรณ์เปิด-ปิดแบบ Manual สามารถเลื่อนปิดช่องลมได้สนิท นอกจากนี้ หากภายนอกบ้านมีกลิ่นไม่พึงประสงค์ ฝุ่น หรือควัน ก็แนะนำให้ปิดทั้ง Intake Air Grill และพัดลมระบายอากาศด้วยเช่นกัน > อ่านเพิ่มเติม: [บ้านเย็นประหยัดไฟด้วย Active AIRflow™ System ]( https://www.scghome.com/living-ideas/articles/บ้านเย็นประหยัดไฟด้วย--Active-AIRflow-System)\{.newtab} > ติดตั้ง ระบบระบายอากาศ SCG Active AIRflow™ System คลิก\{.button .newtab} {.centered}
รวมถามตอบเกี่ยวกับบ้านรั่วจากปัญหารอยร้าวรั่วซึมในบ้าน ไม่ว่าจะเป็นประตูหน้าต่างรั่วซึม ผนังร้าวรั่วซึม ห้องน้ำชั้นบนรั่วซึมลงมาชั้นล่าง ดาดฟ้ารั่วซึม แต่ละปัญหามีแนวทางแก้ไขอย่างไร มีวัสดุผลิตภัณฑ์ตัวไหนที่ตอบโจทย์ได้บ้าง ? > > สารบัญบทความ > >1) วัสดุป้องกันรั่วซึมและแก้ปัญหารอยแตกร้าวจาก MagiX มีกี่ประเภท และมีจุดเด่นอย่างไร? >2) ปัญหาประตูหน้าต่างบ้านรั่วซึม สาเหตุเกิดจากอะไร และเราควรแก้ไขอย่างไร? >3) ปัญหาผนังบ้านเกิดรอยแตกร้าวรั่วซึม ควรแก้ไขอย่างไร? >4) ห้องน้ำชั้นบนรั่วซึม น้ำหยดลงมาชั้นล่าง ควรซ่อมแซมอย่างไร? >5) การยาแนวรอยต่อต่างๆ เช่น อ่างล้างหน้ากับผนัง โถสุขภัณฑ์กับพื้น ด้วยผลิตภัณฑ์ของ MagiX จะต่างกับการใช้กาวยาแนวกระเบื้องปกติอย่างไร? >6) ปัญหาดาดฟ้ารั่วซึมเกิดจากสาเหตุอะไร ควรแก้ไขอย่างไร? >7) บ้านหรืออาคารสร้างใหม่ อยากป้องกันปัญหาดาดฟ้ารั่วซึม ควรใช้วัสดุอะไรดี? >8) สีทากันซึมดาดฟ้าที่เป็นวัสดุอะคริลิก โพลียูรีเทน และโมดิฟายซิลิโคน ต่างกันอย่างไร? >9) บริการติดตั้งระบบซึมดาดฟ้าของ MagiX ครอบคลุมงานอะไรบ้าง? >10) พื้นแบบไหนที่สามารถทาสีกันซึมได้? >11) พื้นดาดฟ้าที่ทาสีกันซึมแล้ว สามารถปรับปรุงตกแต่งภายหลัง เช่น ปูกระเบื้องทับ ทำพื้นระเบียงไม้ ทำสวนดาดฟ้า ได้หรือไม่? > > 1) วัสดุป้องกันรั่วซึมและแก้ปัญหารอยแตกร้าวจาก MagiX มีกี่ประเภท และมีจุดเด่นอย่างไร? > มีทั้งหมด 5 ประเภท ได้แก่ ซิลิโคน (Silicone), อะคริลิก (Acrylic), โพลียูรีเทน (Polyurethane หรือ PU), โมดิฟายด์ ซิลิโคน (Modified Silicone) และ Epoxy ซึ่งครอบคลุมการแก้ไขปัญหาร้าวรั่วซึมของบ้านได้ทั้งหลัง โดยวัสดุแต่ละประเภทจะต่างกันในเรื่องคุณสมบัติวัสดุ อายุการใช้งาน ข้อจำกัดในการใช้งาน และราคา ทั้งนี้ผลิตภัณฑ์จาก MagiX เป็นการร่วมมือกันระหว่างบริษัท SCG และ บริษัท Noritake ประเทศญี่ปุ่น มีทีมวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์โดยคิดค้นสูตรให้เหมาะกับสภาพอากาศเมืองไทย รวมถึงมีทีมให้บริการติดตั้งระบบกันซึมดาดฟ้า และแก้ไขปัญหารั่วซึมร้าวต่างๆ ด้วย > SingleImage วัสดุป้องกันบ้านรั่วซึม ยาแนวกันซึมซ่อมรอยร้าว MagiX ภาพ: วัสดุป้องกันรั่วซึมและแก้ปัญหารอยแตกร้าวจาก MagiX > เลือกซื้อ วัสดุป้องกันรั่วซึมและแก้ปัญหารอยร้าวจาก MagiX\{.button .newtab} {.centered} > 2) ปัญหาประตูหน้าต่างบ้านรั่วซึม สาเหตุเกิดจากอะไร และเราควรแก้ไขอย่างไร? > มักเกิดจากการยืด/หด/ขยายตัวที่ต่างกันของวัสดุ หรือโครงสร้างขยับตัว ทำให้รอยต่อบริเวณผนังกับขอบประตูหน้าต่างเกิดการแตกร้าว หรือเกิดช่องว่างให้น้ำฝนรั่วซึมผ่าน ผลิตภัณฑ์ของ MagiX ที่ช่วยแก้ไขได้จะมี S-1 Multipurpose เป็นวัสดุเบสซิลิโคน ซึ่งมีข้อจำกัดคือไม่สามารถทาสีทับได้ อีกทางเลือกคือ PU-1 Seal-สีขาว-300-ml.-MagiX?&sapid=ZAAXX0015098&matno=20014548)\{.newtab} เป็นวัสดุเบสโพลิยูรีเทน (PU) ยืดหยุ่นดี ทนรังสี UV ทาสีทับได้ ใช้ได้ทั้งภายในและภายนอก > SingleImage ยาแนวกันซึมอุดรอยรั่วประตูหน้าต่าง ภาพ: S-1 Multipurpose และ PU-1 Seal จาก MagiX สำหรับแก้ไขปัญหาประตูหน้าต่างบ้านรั่วซึม > 3) ปัญหาผนังบ้านเกิดรอยแตกร้าวรั่วซึม ควรแก้ไขอย่างไร? > การซ่อมผนังรั่วซึมให้พิจารณาประเภทผนังว่าเป็นผนังก่ออิฐฉาบปูน ผนังคอนกรีตสำเร็จรูป (Pre-cast) หรือผนังอิฐมวลเบา และดูลักษณะของรอยแตกร้าว หากแตกร้าวถึงระดับโครงสร้างควรปรึกษาวิศวกร ส่วนรอยแตกร้าวระดับพื้นผิวเจ้าของบ้านซ่อมแซมเองได้วัสดุซ่อมรอยร้าว กรณีเป็นผลิตภัณฑ์ของ MagiX แนะนำให้ให้ Multi Putty สำหรับรอยร้าวขนาดเล็ก หรือหากรอยแตกร้าวใหญ่ขึ้นแนะนำ Super Joint Modified Silicone ส่วนรอยแตกร้าวที่มีขนาดใหญ่แนะนำใช้ Epoxy Joint > ส่วนผนังแผ่นไฟเบอร์ซีเมนต์ อย่างผนังสมาร์ทบอร์ด แนะนำผลิตภัณฑ์ Max Joint เป็นวัสดุสำเร็จรูปสามารถเปิดใช้งานได้เลย หรืออาจเลือกใช้ปูนฉาบ Smart Joint ซึ่งสามารถขัดตกแต่งตรงบริเวณรอยต่อได้ > SingleImage ยาแนวกันซึมอุดรอยรั่วผนัง MagiX ภาพ: วัสดุจาก MagiX สำหรับแก้ไขปัญหาผนังบ้านรั่วซึม > 4) ห้องน้ำชั้นบนรั่วซึม น้ำหยดลงมาชั้นล่าง ควรซ่อมแซมอย่างไร? > ปัญหาห้องน้ำรั่วซึม มักเกิดจาก 3 สาเหตุ > สาเหตุที่ 1: ยาแนวร่องกระเบื้องหลุดล่อน เนื่องจากน้ำยาทำความสะอาดที่เราใช้ แก้ไขได้โดยทำการยาแนวใหม่เองได้ ด้วยวัสดุยาแนวสูตรทนกรด หรือยาแนว Epoxy ซึ่งทนต่อน้ำยาทำความสะอาดได้ดี สาเหตุที่ 2: พื้นห้องน้ำไม่ได้ทำระบบกันซึมหรือกันซึมเสื่อมสภาพ การแก้ไขจะต้องต้องรื้อกระเบื้องออกแล้วก็ทากันซึมบนพื้นให้เรียบร้อย ก่อนจะปูกระเบื้องทับลงไปใหม่ สาเหตุที่ 3: รอยต่อของท่อเกิดการชำรุดรั่วซึม ให้ซ่อมแซมรอยต่อท่อด้วยน้ำยาประสานท่อ ส่วนรอยต่อระหว่างพื้นและท่อให้ใช้ซิลิโคน หรือผลิตภัณฑ์ S-2 Sanitary & Bath จาก MagiX ซึ่งมีคุณสมบัติยืดหยุ่นดี กันเชื้อราได้ และทนต่อน้ำยาทำความสะอาด > 5) การยาแนวรอยต่อต่างๆ เช่น อ่างล้างหน้ากับผนัง โถสุขภัณฑ์กับพื้น ด้วยผลิตภัณฑ์ของ MagiX จะต่างกับการใช้กาวยาแนวกระเบื้องปกติอย่างไร? > กาวยาแนวกระเบื้องทั่วไปจะทนต่อน้ำยาทำความสะอาดได้ระดับหนึ่ง แต่เมื่อใช้ไปนานๆ มักจะหลุดล่อน และส่วนใหญ่มักไม่สามารถกันคราบดำ คราบเชื้อราได้ ทาง MagiX จึงพัฒนาผลิตภัณฑ์ S-2 Sanitary & Bath ช่วยป้องกันราดำบริเวณรอยต่อขอบสุขภัณฑ์กับพื้น และรอยต่อขอบอ่างล้างหน้ากับผนังหรือเคาน์เตอร์อ่างล้างหน้า เนื้อวัสดุเป็นซิลิโคน ยืดหยุ่นดี มีอายุการใช้งานยาวนาน > SingleImage ยาแนวห้องน้ำ MagiX S-2 Sanitary & Bath ภาพ: S-2 Sanitary & Bath สำหรับยาแนวบริเวณรอยต่อขอบสุขภัณฑ์กับพื้น รอยต่อขอบอ่างล้างหน้ากับผนังหรือเคาน์เตอร์อ่างล้างหน้า ช่วยป้องกันราดำได้ > เลือกซื้อ วัสดุป้องกันรั่วซึมและแก้ปัญหารอยร้าวจาก MagiX\{.button .newtab} {.centered} > 6) ปัญหาดาดฟ้ารั่วซึมเกิดจากสาเหตุอะไร ควรแก้ไขอย่างไร? > สาเหตุโดยหลักมักเกิดจาก พื้นดาดฟ้ามีรอยแตกร้าวทำให้น้ำซึมผ่านหยดลงชั้นล่างได้ หรือรอยต่อระหว่างพื้นกับผนังเกิดช่องว่างจากการที่โครงสร้างขยับตัว น้ำจึงซึมผ่านได้ อีกสาเหตุคือ ใช้ผลิตภัณฑ์แก้ปัญหารั่วซึมไม่เหมาะสม ไม่ตรงโจทย์ ก็ทำให้เกิดการรั่วซึมได้อีกเช่นกัน การแก้ไขควรสำรวจปัญหาโดยขัดทำความสะอาดพื้นเพื่อสำรวจสภาพและตำแหน่งรอยแตกร้าว ประเมินสาเหตุรั่วซึมอย่างละเอียด เพื่อทำการปรับปรุงซ่อมแซมพื้นให้เรียบร้อยก่อนจะติดตั้งวัสดุกันซึม > 7) บ้านหรืออาคารสร้างใหม่ อยากป้องกันปัญหาดาดฟ้ารั่วซึม ควรใช้วัสดุอะไรดี? > วัสดุป้องกันดาดฟ้ารั่วซึมในท้องตลาดจะมีหลากหลาย ยกตัวอย่างวัสดุ PVC Membrane วัสดุ Bitumen Membrane จะต้องใช้อุปกรณ์ติดตั้งหลายอย่าง แต่ถ้าหากต้องการวัสดุที่ติดตั้งง่าย ค่าใช้จ่ายไม่สูงมาก แนะนำ “สีทากันซึมดาดฟ้า” ซึ่งสามารถเลือกสีได้ด้วย โดยสีทากันซึมจะมีทั้งประเภทอะคริลิก (Acrylic) โพลียูรีเทน (Polyurethane) และ โมดิฟายด์ ซิลิโคน (Modified Silicone) > SingleImage ทาสีกันซึมดาดฟ้า MagiX แก้ปํญหาดาดฟ้ารั่ว ภาพ: การป้องกันและแก้ไขปัญหาดาดฟ้ารั่วด้วยสีทากันซึมดาดฟ้า > 8) สีทากันซึมดาดฟ้าที่เป็นวัสดุอะคริลิก โพลียูรีเทน และโมดิฟายซิลิโคน ต่างกันอย่างไร? > สีทากันซึมอะคริลิกเป็นที่นิยมเนื่องจากราคาถูก แต่อายุการใช้งานจะไม่นานมาก ประมาณ 2-3 ปี ส่วนโพลียูรีเทนและโมดิฟายด์ ซิลิโคน จะใช้งานได้ยาวนานประมาณ 5-10 ปี ขึ้นไป ยึดเกาะและยืดหยุ่นดี ทนรังสี UV ได้ดี นอกจากนี้ สีทากันซึมประเภทโมดิฟายด์ ซิลิโคนของ MagiX จะผสมสารที่เป็นฉนวนกันร้อนด้วย จึงช่วยป้องกันความร้อนจากดาดฟ้าที่จะส่งผ่านมายังห้องด้านล่างได้ สำหรับผลิตภัณฑ์สีทากันซึมของ MagiX จะมี 2 ประเภทคือ อะคริลิก และโมดิฟายด์ ซิลิโคน นอกจากนี้ทาง MagiX ยังมีบริการติดตั้งระบบกันซึมดาดฟ้าอีกด้วย > อ่านเพิ่มเติม: รู้ไว้ใช่ว่า...สีทากันซึมดาดฟ้า อะคริลิก PU และ Modified Silicone Acrylic\{.newtab} > 9) บริการติดตั้งระบบซึมดาดฟ้าของ MagiX ครอบคลุมงานอะไรบ้าง? > แพ็กเกจมาตรฐานทั่วไปจะเป็นการเตรียมพื้นผิวขัดทำความสะอาด และทาสีกันซึม แต่หากทางทีมงานสำรวจหน้างานแล้วพบปัญหาจะเสนอบริการปรับปรุงพื้นด้วย (มีค่าใช้จ่ายเพิ่ม) เช่น พื้นมีวัสดุกันซึมของเดิมอยู่ จะต้องรื้อกันซึมเดิมออกเพื่อสำรวจรอยแตกร้าว จากนั้นจึงซ่อมรอยแตกร้าวให้เรียบร้อยก่อนจะทาสีกันซึม ส่วนพื้นดาดฟ้าที่มีปัญหาเป็นแอ่ง จะมีบริการปรับระดับพื้นเฉพาะจุด หรือหากพื้นมีน้ำขังประมาณ 1-2 วัน ขึ้นไปก็สามารถแก้ไขโดยทำรางน้ำเพื่อให้น้ำไหลไปยังท่อระบายน้ำได้ > SingleImage ทาสีกันซึมดาดฟ้า MagiX Modified Silicone ภาพ: การทาสีกันซึมดาดฟ้าโมดิฟายด์ ซิลิโคน โดยทีมช่างจาก MagiX > SingleImage พื้นเป็นแอ่ง ทำร่องน้ำแก้ปัญหาพื้นน้ำขังไม่ได้ระดับ ภาพ: ปัญหาพื้นเป็นแอ่ง (ซ้ายบน) พื้นมีน้ำขัง (ซ้ายล่าง) และการแก้ปัญหาน้ำขังด้วยการทำร่องระบายน้ำ (ขวา) > บริการติดตั้งระบบกันน้ำรั่วซึมสำหรับดาดฟ้า โดย MagiX\{.button .newtab} {.centered} > 10) พื้นแบบไหนที่สามารถทาสีกันซึมได้? > พื้นซีเมนต์ทั่วไปรวมถึงพื้นปูกระเบื้องที่อยู่ในสภาพสมบูรณ์ สามารถทาสีกันซึมทับได้ ส่วนพื้นที่มีปัญหาเกี่ยวข้องกับโครงสร้าง ใต้ท้องพื้นสึกกร่อนแตกร้าวจนเห็นเหล็กเส้น ควรปรึกษาวิศวกรเพื่อแก้ไข ร่วมกับการทาสีกันซึมบนผิวพื้นดาดฟ้า > SingleImage ท้องพื้นดาดฟ้าแตกร้าว คอนกรีตกะเทาะหลุดล่อน ภาพ: ใต้ท้องพื้นดาดฟ้าที่มีปัญหาด้านโครงสร้าง คอนกรีตแตกกะเทาะจนเห็นเหล็กเสริม > 11) พื้นดาดฟ้าที่ทาสีกันซึมแล้ว สามารถปรับปรุงตกแต่งภายหลัง เช่น ปูกระเบื้องทับ ทำพื้นระเบียงไม้ ทำสวนดาดฟ้า ได้หรือไม่? > สามารถปูกระเบื้องทับได้ตามปกติ แต่หากเป็นพื้นระเบียงไม้จะมีข้อคำนึงคือ น้ำที่ขังอยู่ใต้ระเบียงไม้จะระเหยได้ยาก จึงแนะนำให้ทำได้กรณีเป็นสีทากันซึมประเภทโมดิฟายด์ ซิลิโคนซึ่งมีอายุใช้งานยาวนาน ส่วนกรณีที่ต้องการทำสวนดาดฟ้าแนะนำให้จัดสวนแบบนำกระถางต้นไม้มาวาง ไม่ควรเทดินปลูกต้นไม้ทับพื้นที่ทาสีกันซึม เพราะสีกันซึมอาจถลอกหลุดล่อนได้ ทั้งนี้หากเจ้าของบ้านได้วางแผนตั้งแต่แรกว่าจะทำสวนดาดฟ้าแบบลงดินปลูกต้นไม้ แนะนำให้ใช้ซีเมนต์กันซึม Flexproof Powder ซึ่งมีความแข็งแรงที่ผิวหน้ามากกว่าสีทากันซึม และตอบโจทย์การใช้งานลงตัวกว่า > อ่านเพิ่มเติม: จัดการปัญหาหลังคาดาดฟ้ารั่ว เอาชัวร์ก่อนฝนมา\{.newtab} > อ่านเพิ่มเติม: 6 ขั้นตอน ทาสีกันซึมดาดฟ้า ป้องกัน + แก้ปัญหาดาดฟ้ารั่วซึม\{.newtab}
หลายบ้านที่ติดตั้งฉนวนกันความร้อนแล้ว ยังคงรู้สึกถึงความร้อนที่ผ่านเข้ามาภายในบ้านอยู่ มาดูกันว่าทำไมบ้านยังร้อน? ความร้อนที่เกิดขึ้นมาจากส่วนไหนอีกบ้าง? และมีวิธีช่วยลดความร้อนอย่างไร? >ความร้อนส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นภายในบ้าน 70% มักเป็นความร้อนจากแสงอาทิตย์ที่ผ่านเข้ามาทางหลังคาบ้านเป็นหลัก สำหรับเจ้าของบ้านที่ติดตั้งฉนวนใยแก้วกันความร้อนบริเวณหลังคาหรือฝ้าเพดานแล้ว พบว่าภายในบ้านยังคงมีความร้อนอยู่ เหตุผลเนื่องจากยังมีความร้อนจากส่วนอื่นๆ ที่ทำให้เกิดความร้อนขึ้นในบ้านอีกเช่นกัน ติดฉนวนแบบวางบนแป วางเหนือฝ้าเพดาน >ภาพ: ตัวอย่างการติดตั้ง “แผ่นสะท้อนความร้อนเอสซีจี รุ่นอัลตราคูล” ซึ่งเป็นฉนวนกันความร้อนชนิดวางบนแปของหลังคา และ “ฉนวนกันความร้อน เอสซีจี รุ่น STAY COOL” ฉนวนสำหรับติดตั้งเหนือฝ้าเพดาน > 3 เหตุผลที่บ้านยังร้อน แม้ว่าติดตั้งฉนวนกันความร้อนบริเวณหลังคาและฝ้าเพดานแล้ว > เมื่อติดตั้งฉนวนกันความร้อนที่หลังคาหรือผนัง ความร้อนจากหลังคาจะส่งผ่านมาได้ "น้อยลง" นั่นหมายความว่า ความร้อนบางส่วนจากหลังคาจะยังสามารถส่งผ่านเข้ามาในบ้านได้ นอกจากนี้ยังมีอีก 3 สาเหตุหลักๆ ที่ทำให้บ้านร้อนได้มากขึ้นได้แก่ 1) ความร้อนจากส่วนอื่นของบ้าน (ที่ไม่ได้มีการติดตั้งฉนวนหรือไม่สามารถติดตั้งฉนวนได้) 2) แหล่งกำเนิดความร้อนอื่นๆ ในบ้าน และ 3) ขาดการระบายอากาศที่ดี > 1) ความร้อนจากส่วนอื่นๆ ของบ้าน > นอกจากความร้อนจากแสงแดดที่ผ่านเข้ามาทางหลังคาและโถงหลังคา ยังมีความร้อนจากอีกหลายส่วนของบ้าน ไม่ว่าจะเป็น > >1.1 ความร้อนจากช่องแสง ประตู-หน้าต่างกระจก ช่องแสงหรือช่องกระจก เป็นส่วนที่มีความใส ทำให้แสงแดดสามารถส่องเข้ามาได้ พร้อมกับความร้อนที่ผ่านเข้ามาด้วย หากบริเวณนั้นแสงแดดส่องเข้ามาตรงๆ โดยเฉพาะทิศใต้และทิศตะวันตกความร้อนจะยิ่งสามารถผ่านเข้ามาได้มากเช่นกัน ความร้อนที่ผ่านเข้ามาทางช่องแสงประตูหน้าต่าง กระจก >ภาพ: ความร้อนที่ผ่านเข้ามาทางช่องแสงประตูหน้าต่างหรือกระจก >แนวทางแก้ปัญหาบ้านร้อนจากประตูหน้าต่าง: สามารถทำได้หลายวิธี เช่น การติดม่าน การติดฟิล์มกรองแสง การเลือกกระจกที่ช่วยลดความร้อน ติดตั้งระแนงช่วยกรองแสง ซึ่งสามารถเลือกวิธีใดวิธีหนึ่งหรือผสมหลายวิธีก็ได้ >1.1.1 “การติดม่าน” เป็นวิธีที่ง่ายสำหรับการลดความร้อนในส่วนนี้ เพราะเรามักจะติดผ้าม่านเพื่อ ช่วยเพิ่มความเป็นส่วนตัวอยู่แลว แนะนำให้เลือกใช้ผ้าม่านแบบทึบแสงหรือแบบที่บล็อกแสงได้ 100% หรือผ้าม่านแบบโปร่งเพื่อกรองแสงบางส่วน ติดตั้งม่านบล็อกแสง 100% ม่านแบบโปร่งที่ช่วยกรองแสงบางส่วน >ภาพ: ติดตั้งด้วยม่านบล็อกแสง 100% หรือผ้าม่านแบบโปร่งที่ช่วยกรองแสงบางส่วน >1.1.2 “การเลือกติดฟิล์มกรองแสง” เป็นอีกวิธีที่ช่วยแก้ปัญหาบ้านร้อนได้ไม่ยาก ปัจจุบันฟิล์มกรองแสงสามารถเลือกได้ว่า ต้องการกรองแสงกี่เปอร์เซ็นต์ และยังมีหลายสีสันให้เลือก จึงสามารถเลือกให้เหมาะสมกับแต่ละพื้นที่ในบ้านรวมถึงสไตล์ของบ้านได้ ติดตั้งฟิล์มกรองแสง >ภาพ: ติดตั้งฟิล์มเพื่อช่วยกรองแสงที่จะผ่านเข้ามาภายในบ้าน >1.1.3 "เปลี่ยนเป็นกระจกที่ช่วยลดความร้อน" ในท้องตลาด ยังมีกระจกที่ออกแบบมาเป็นพิเศษให้เป็นฉนวนกันความร้อน ที่ช่วยประหยัดพลังงานได้ เช่น กระจก Low-E, กระจก Heat Stop, กระจกฉนวน หรือ Insulated Glass, กระจกฮีตมิเรอร์ >1.1.4 "สร้างร่มเงาให้กับผนังอาคาร" ไม่ว่าจะเป็นการ “ติดตั้งระแนงแผงบังแดด” นอกจากจะช่วยกรองแสงแล้ว หากเลือกรูปแบบที่เข้ากับสไตล์บ้าน ยังช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ให้บ้านสวยขึ้นหรือดูมีลูกเล่นขึ้นได้ หรือ “การต่อเติมกันสาดเหนือช่องเปิด” ทำให้เกิดเงาและช่วยป้องกันไม่ให้ความร้อนจากแสงแดดส่องเข้าบ้านโดยตรง นอกจากจะช่วยลดความร้อนแล้วยังช่วยกันฝนสาดอีกด้วย ติดตั้งระแนงบังแดด >ภาพ: ติดตั้งระแนงบังแดด ช่วยกรองแสงที่จะผ่านเข้ามาโดยตรงสู่ภายในบ้าน สนใจ รั้วระแนง ฟาซาด พร้อมบริการติดตั้ง คลิก\{.button .newtab} {.centered} text >ภาพ: สร้างร่มเงาให้กับช่องเปิดอาคารด้วยการต่อเติมกันสาดวัสดุทึบแสง ช่วยป้องกันทั้งแดดและฝน สนใจ บริการต่อเติมหลังคาโรงรถ/กันสาด เหมาเบ็ดเสร็จ คลิก\{.button .newtab} {.centered} >1.2 ความร้อนที่สะสมที่ผนัง จะถูกถ่ายเทเข้ามาในบ้านได้ ซึ่งจะมากน้อยขึ้นอยู่กับวัสดุและระบบผนัง เช่น ผนังอิฐมอญจะสะสมความร้อนช่วงกลางวันและถ่ายเทเข้ามาในบ้านเราช่วงหัวค่ำจนถึงกลางคืน >แนวทางแก้ปัญหาบ้านร้อนจากผนัง: สามารถติดตั้งระบบผนังเบาพร้อมฉนวนกันความร้อนเพิ่มเติม เพื่อลดความร้อนที่จะส่งผ่านทางผนังเข้าสู่ภายในบ้าน ติดตั้ง ระบบผนังไม้ฝา เอสซีจี รุ่นคูลพลัส ฉนวนกันความร้อน เอสซีจี รุ่น COOL-WALL >ภาพ: ตัวอย่างการติดตั้ง “ระบบผนังไม้ฝา เอสซีจี รุ่นคูลพลัส” และติดตั้ง “ฉนวนกันความร้อน เอสซีจี รุ่น COOL WALL” สำหรับลดความร้อนที่จะผ่านเข้ามาทางผนังบ้าน > 2) แหล่งกำเนิดความร้อนอื่นๆ ในบ้าน > นอกจากความร้อนจากแสงแดดภายนอกแล้ว ยังมีความร้อนที่เกิดขึ้นภายในบ้านเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นความร้อนจากอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน รวมถึงความร้อนจากร่างกายมนุษย์ > >2.1 ความร้อนจากอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน ไม่ว่าจะเป็น ตู้เย็น เตาอบ ไมโครเวฟ เตาแก๊ส คอมพิวเตอร์ หลอดไฟ รวมถึงความร้อนจากการทำอาหาร >วิธีลดความร้อน: หากอุปกรณ์ไฟฟ้าชิ้นไหนไม่ได้ใช้งานควรปิดการทำงานให้เรียบร้อย ส่วนหลอดไฟ สามารถเปลี่ยนมาใช้หลอด LED ที่ให้ความร้อนน้อย ความร้อนจากเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ในบ้าน >ภาพ: ความร้อนที่เกิดขึ้นภายในบ้านจากเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ในบ้าน >2.2 ความร้อนจากร่างกายมนุษย์ เพราะร่างกายคนเรามีความร้อนเกิดขึ้น ไม่ว่าจากกระบวนการเผาผลาญอาหาร การรักษาอุณหภูมิเพื่อรักษาการทำงานของร่างกาย การออกกำลังกาย เมื่อมีความร้อนส่วนเกินเกิดขึ้น จึงมีการกระจายถ่ายเทความร้อนออกจากร่างกายเพื่อให้อุณหภูมิภายในร่างกายมีความสมดุลและมีสุขภาพดี >วิธีลดความร้อน: อุณหภูมิหรือความร้อนจากร่างกายคนเราสามารถดลงได้ โดยการดื่มน้ำอุณหภูมิห้องหรือน้ำที่เย็นกว่าปกติเล็กน้อย การอาบน้ำ การเปิดพัดลม หรือให้มีการระบายอากาศภายในบ้านที่ดี ก็สามารถช่วยลดความร้อนลงได้ > 3) ไม่มีการระบายอากาศที่ดี > เพราะฉนวนกันความร้อนเป็นการป้องกันความร้อนจากภายนอก แต่หากมีความร้อนเกิดขึ้นและสะสมในบ้านแล้วไม่มีการระบายอากาศที่ดี หรือการปิดบ้านไว้ทั้งวัน ก็จะกันความร้อนจากข้างในไม่ให้ออกไปด้วย > >วิธีช่วยระบายถ่ายเทอากาศในบ้าน สามารถทำได้โดยการเปิดประตูหน้าต่างระหว่างวัน (เหมาะสำหรับบ้านที่ติดตั้งมุ้งลวดเพื่อป้องกันแมลงและสัตว์เล็กๆ เข้ามาในบ้าน) เพิ่มการระบายความร้อนที่โถงหลังคา เช่น การเปลี่ยนไปใช้ฝ้าชายคาแบบที่มีรูระบายอากาศ การติดตั้งกระเบื้องปล่องระบายอากาศ รวมถึงการติดตั้งระบบระบายอากาศ Active AirflowTM System ติดตั้งมุ้งลวด >ภาพ: บ้านที่ติดตั้งมุ้งลวด สามารถเปิดประตูหน้าต่าง เพื่อระบายความร้อนจากภายในบ้านได้ > สนใจ มุ้งลวดพร้อมบริการติดตั้ง คลิก\{.button .newtab} {.centered} > ติดตั้งฝ้าชายคาระบายอากาศ >ภาพ: เปลี่ยนมาติดตั้งฝ้าชายคาระบายอากาศ อีกหนึ่งวิธีช่วยให้บ้านมีการระบายอากาศที่ดี > สนใจ ฝ้าภายนอกแบบเรียบและระบายอากาศ พร้อมบริการติดตั้ง คลิก\{.button .newtab} {.centered} > ติดตั้งระบบระบายอากาศ Active AirflowTM System >ภาพ: การระบายอากาศภายในบ้าน เมื่อติดตั้งระบบระบายอากาศ Active AirflowTM System > สนใจ ระบบระบายอากาศ Active AirflowTM System คลิก\{.button .newtab} {.centered} > เมื่อทราบสาเหตุที่ทำให้บ้านยังร้อนทั้ง ๆ ที่ติดตั้งฉนวนกันความร้อนแล้ว ลองหาทางปรับปรุงแก้ไขตามแนวทางที่แนะนำเท่าที่เป็นไปได้ จะเห็นได้ว่านอกจากการลดความร้อนในส่วนต่าง ๆ แล้ว สิ่งที่สำคัญคือการถ่ายเทอากาศที่ดี เพราะจะเป็นตัวช่วยระบายความร้อนที่ผ่านเข้ามาสะสมอยู่ภายในบ้านให้ออกไปได้ และยังไม่ทำให้บ้านอบอ้าวมากจนเกินไปอีกด้วย > สนใจ บริการติดตั้งฉนวนกันความร้อน STAY COOL คลิก\{.button .newtab} {.centered}
แจกแจงปัญหารอยร้าวผนังแบบต่างๆ ซึ่งอาจเป็นแค่รอยร้าวรั่วซึมที่แก้ไขได้ไม่ยุ่งยากมาก หรือจะเป็นรอยร้าวที่ฟ้องว่าสภาพโครงสร้างกำลังเป็นอันตราย ซึ่งเจ้าของบ้านจะต้องพิจารณาให้ดี >รอยร้าวผนังบ้านเกิดขึ้นได้หลายลักษณะ บางรูปแบบดูรุนแรงจนน่าสงสัยว่าเป็นอันตราย อาทิ รอยร้าวที่มุมวงกบ รอยร้าวแนวนอนที่ผนังใต้ท้องคาน รอยร้าวแนวดิ่งข้างเสา ซึ่งรอยร้าวผนังทั้ง 3 แบบนี้นี้มักมีสาเหตุจากการก่อสร้างที่ไม่ครบขั้นตอน จนเกิดปัญหา อย่างไรก็ดี ยังมีรอยร้าวผนังรูปแบบอื่นที่ควรปรึกษาวิศวกรโครงสร้างด้วยเช่นกัน >## รอยร้าวผนังที่มุมวงกบ... >เป็นร้อยร้าวผนังที่เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ได้แก่ การก่อผนังอิฐโดยปราศจากเสาเอ็น คานเอ็น/ทับหลัง การฉาบปูนที่หนาไม่เท่ากันบริเวณเสาเอ็นและผนังก่ออิฐ รวมถึงแรงสั่นสะเทือนจากการใช้งานประตูและหน้าต่าง จนเกิดรอยร้าวผนังนำมาสู่ปัญหาผนังรั่วซึมได้ รอยร้าวผนัง ผนังรั่วซึม ผนังร้าวรอบวงกบ รอยร้าวรอบประตูหน้าต่าง >ภาพ: ตัวอย่าง รอยร้าวผนังที่มุมวงกบหน้าต่าง >## รอยร้าวแนวนอนที่ผนังใต้ท้องคาน... >รอยร้าวผนังลักษณะนี้เกิดจากการยุบตัวของปูนก่อทำให้เกิดรอยแยกระหว่างผนังอิฐกับใต้ท้องคาน (หากก่อผนังชนท้องคานในทีเดียวโดยไม่เว้นช่องว่างเพื่อรอปูนก่อยุบตัวก่อน มักจะเกิดปัญหานี้) ผนังรั่วซึม ซ่อมผนังร้าว ผนังรั่วซึม ผนังร้าว แนวใต้ท้องคาน >ภาพ: ตัวอย่าง รอยร้าวแนวนอนที่ผนังใต้ท้องคาน >## รอยร้าวผนังแนวดิ่งข้างเสา... >มีสาเหตุมาจากการไม่เสียบเหล็กหนวดกุ้งขณะก่อผนังเชื่อมกับเสา เมื่อปูนเกิดการยืดหดตัวตามธรรมชาติของวัสดุ ก็จะเกิดรอยร้าวผนังในลักษณะนี้ได้ ผนังรั่วซึม ซ่อมผนังร้าว ผนังรั่วซึม ผนังร้าว แนวดิ่งข้างเสา >ภาพ: ตัวอย่างรอยร้าวผนังแนวดิ่งข้างเสา >และเมื่อดูจากสาเหตุแล้ว จะพบว่าปัญหารอยร้าวผนังรั่วซึมทั้ง 3 แบบดังที่ได้กล่าวไปนี้ ไม่ได้เกิดจากสภาพของโครงสร้างที่เป็นอันตราย เจ้าของบ้านเพียงแค่ซ่อมรอยร้าวผนังเพื่อปิดช่องทางการรั่วซึมก็จะจบปัญหาได้ โดยวิธีหลักๆ ที่ทำกันทั่วไปคือ หากรอยร้าวกว้างไม่เกิน 1 ซม. ควรสกัดผนังตามแนวรอยร้าวให้เป็นร่องรูปตัว V กว้างและลึกไม่เกิน 1 ซม. ทำความสะอาดแล้วฉาบโป๊วด้วยอะคริลิกฟิลเลอร์ ขัดด้วยกระดาษทรายให้เรียบ หรืออุดร่องด้วย กาว PU (โพลียูรีเทน) จากนั้นทาสีทับให้เรียบร้อย แต่หากรอยร้าวกว้างเกิน 1 ซม. การซ่อมแซมจะขึ้นอยู่กับลักษณะรอยร้าวและงบประมาณ รอยร้าวผนัง ผนังรั่วซึม ซ่อมผนังร้าว กาวอุดรอยรั่วผนัง PU >ภาพ: ตัวอย่างวัสดุยาแนวโพลียูรีเทน PU-1 Seal ใช้งานสะดวก ช่วยให้เจ้าของบ้านซ่อมร้าวผนังด้วยตัวเองได้อย่างง่ายดาย เลือกซื้อวัสดุยาแนว อะคริลิก ซิลิโคน โพลียูรีเทน (PU) คลิก\{.button .newtab} {.centered} >สำหรับผนังบ้านที่มีการต่อเติม โดยที่ผนังส่วนต่อเติมถูกก่อฉาบเชื่อมรอยต่อติดกับตัวบ้าน เมื่อส่วนต่อเติมทรุดตัว จะเกิดการฉีกขาดเป็นรอยร้าวทำให้น้ำรั่วซึมเข้ามา ปัญหาผนังร้าวรัวซึมตรงส่วนต่อเติมนี้สามารถแก้ไขเบื้องต้นโดยการสกัดและอุดด้วยวัสดุยาแนวได้เช่นเดียวกัน รอยร้าวผนัง ผนังรั่วซึม ซ่อมผนังร้าว ส่วนต่อเติม >ภาพ: การยาแนวรอยต่อระหว่างผนังส่วนต่อเติม เลือกซื้อวัสดุยาแนว อะคริลิก ซิลิโคน โพลียูรีเทน (PU) คลิก\{.button .newtab} {.centered} >ในทางกลับกัน หากเจ้าของบ้านพบว่ารอยร้าวผนังบ้านมีลักษณะต่างจากที่กล่าวมาข้างต้น แม้จะไม่มีปัญหารั่วซึมก็ตาม ให้พึงระวังว่าสภาพโครงสร้างอาจผิดปกติ ยกตัวอย่างเช่น รอยร้าวแนวดิ่งกลางผนัง อาจบ่งบอกว่าคานที่อยู่เหนือผนังจุดนั้นกำลังแอ่นตัวเพราะรับน้ำหนักมากและดันผนังจนเกิดรอยร้าวตามที่เห็น แนะนำให้โยกย้ายของหนักบริเวณดังกล่าวออกไปบ้าง ส่วนรอยร้าวผนังบ้านที่แสดงถึงความบกพร่องของโครงสร้างอย่างรอยร้าวผนังแนวเฉียง ซึ่งมีสาเหตุมาจากโครงสร้างใต้ดินทรุดตัว นับว่าเป็นรอยร้าวอันตราย ควรรีบปรึกษาวิศวกรโครงสร้างเพื่อหาสาเหตุและวิธีแก้ไขโดยเร็ว รอยร้าวผนัง ผนังรั่วซึม รอยร้าวบนผนัง อันตราย รอยร้าวบ้าน ใต้คาน >ภาพ: รอยร้าวแนวดิ่งกลางผนัง เป็นรอยร้าวผนังซึ่งแสดงถึงอันตรายต่อโครงสร้าง รอยร้าวผนัง ผนังรั่วซึม รอยร้าวบนผนัง อันตราย รอยร้าวบ้าน รอยร้าวแนวเฉียงบนผนัง >ภาพ: รอยร้าวแนวเฉียงที่ผนัง เป็นรอยร้าวผนังซึ่งแสดงถึงอันตรายต่อโครงสร้าง >จะเห็นได้ว่าเมื่อเกิดปัญหาผนังร้าวขึ้นมา นอกเหนือจากการหาทางซ่อมแซมอุดรอยร้าวผนังแล้ว ควรพิจารณาด้วยว่ารอยร้าวผนังนั้นเป็นอันตรายหรือไม่ รวมถึงหมั่นตรวจสอบรอยร้าวทุกประเภทที่อยู่บนผนังไม่ว่าจะเกิดปัญหารั่วซึมหรือไม่ก็ตาม จะให้ดีควรแนะนำให้สมาชิกทุกคนในบ้านร่วมด้วยช่วยกันสังเกต หากพบความผิดปกติควรรีบปรึกษาวิศวกรโครงสร้างในการหาทางแก้ไขเพื่อความปลอดภัย บริการให้คำปรึกษาเรื่องบ้านที่หน้างาน คลิก\{.button .newtab} {.centered}
คลายข้อสงสัยเกี่ยวกับเครื่องเติมอากาศ SCG Active AIR Quality ในแง่หลักการปรับคุณภาพอากาศในบ้าน ระบบการกรองฝุ่น กรองเชื้อโรค ลักษณะของที่อยู่อาศัยที่เหมาะจะใช้งาน การดูแลรักษา เป็นต้น > > 1) เครื่องเติมอากาศ SCG Active AIR Quality มีหลักการทำงานแบบไหน และนำเอาอากาศดีเข้ามาภายในห้องหรือภายในบ้านเราได้อย่างไร? > ในแง่หลักการทำงานเพื่อปรับคุณภาพอากาศ เครื่องเติมอากาศ SCG Active AIR Quality จะนำเอาอากาศจากภายนอกมาผ่านตัวกรอง 5 ขั้นตอน เพื่อกรองเอาฝุ่น เชื้อโรคต่างๆ ออกจนได้อากาศบริสุทธิ์ ก่อนจะนำเข้ามาสู่ภายในบ้าน โดยอากาศบริสุทธิ์ที่เติมเข้ามาในห้องจะเกิดแรงดันบวก ดันเอาอากาศเดิมในห้องไหลออกไปตามขอบประตูหน้าต่าง ดังนั้น ฝุ่น หรือเชื้อโรคจากภายนอกจะแทรกซึมเข้ามาภายในบ้านไม่ได้ และการที่อากาศใหม่เข้ามาแทนที่อากาศเก่า ก็เหมือนเป็นการเติมออกซิเจนเข้าบ้าน และถ่ายเทคาร์บอนไดออกไซด์ ฝุ่น เชื้อโรค ของเดิมที่มีอยู่ภายในห้องออกไป ทำให้ผู้อยู่อาศัยรู้สึกสดชื่นเพราะได้อากาศดีๆ เติมเข้ามาในบ้านตลอด > 2) ระบบกรองของเครื่องเติมอากาศ SCG Active AIR Quality มีส่วนประกอบอย่างไร และสามารถกรองอะไรบ้าง? > มีตัวกรอง 5 ขั้นตอนประกอบด้วย > • Fresh Air Shield เป็นด่านแรกที่ช่วยกรองฝุ่น แมลง หรือสิ่งแปลกปลอมขนาดใหญ่ แมลง และช่วยป้องกันฝน > • Coarse Filter เป็นการกรองหยาบขั้นต้น เพื่อดักฝุ่น แมลง เส้นผม ขนสัตว์ขนาดเล็ก > • Carbon Filter ยับยั้งกลิ่นภายนอกบ้านที่เป็นสารอินทรีย์ อย่างกลิ่นอาหาร กลิ่นขยะ รวมถึงอนุภาคเคมีอันตรายที่อาจก่อให้เกิดมะเร็ง > • HEPA H13 Filter กรองฝุ่น PM 2.5 เชื้อโรค อนุภาคสารเคมีขนาดเล็ก > • Anti-viral Filter ยับยั้งเชื้อโรค ไวรัส แบคทีเรียต่างๆ > Singleimage ตัวกรอง 5 ชั้น ของ SCG Active Air Quality ภาพ: ส่วนประกอบของระบบกรองเพื่อปรับคุณภาพอากาศ ของเครื่องเติมอากาศ SCG Active AIR Quality > เครื่องเติมอากาศดี SCG Active AIR Quality พร้อมติดตั้ง คลิก\{.button .newtab} {.centered} > 3) เครื่องเติมอากาศ SCG Active AIR Quality ต่างกับเครื่องฟอกอากาศทั่วไปยังไง และเสียงจะดังหรือไม่? เครื่องเติมอากาศ SCG Active AIR Quality มีนวัตกรรมที่สามารถฆ่าเชื้อโรค ไวรัสและแบคทีเรีย ได้ภายใน 5 นาที โดยจะทำการกรองอากาศตั้งแต่ก่อนเข้าบ้าน ดังนั้นอากาศที่เข้ามาในบ้านจึงเป็นอากาศที่สะอาด บริสุทธิ์ นอกจากนี้ การเติมอากาศบริสุทธิ์เข้ามาในบ้านเรื่อยๆ ของ SCG Active AIR Quality ช่วยลดคาร์ออกไซด์แล้วก็เพิ่มออกซิเจนภายในห้องของเราได้ โดยอากาศดีที่เข้ามาจะมีลักษณะเป็นแรงดันบวกที่ดันเอาอากาศเก่าภายในห้องออกไป (Positive Pressure) ทำให้อากาศเสียจากภายนอกไม่สามารถแทรกซึมเข้ามาได้ตลอดเวลาที่ระบบทำงาน > ในขณะที่เครื่องฟอกอากาศจะฟอกอากาศภายในห้องที่มีฝุ่นและเชื้อโรคอยู่แล้วให้ดีขึ้น โดยเครื่องฟอกอากาศจะสามารถฟอกอนุภาค เชื้อโรค สารพิษอะไรได้บ้างนั้น ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของแต่ละรุ่น ทั้งนี้ อากาศในห้องยังคงเป็นอากาศเดิมที่มีการสะสมของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะห้องที่มักเป็นระบบปิดอย่างห้องที่เปิดเครื่องปรับอากาศ > ส่วนเรื่องเสียงของเครื่องเติมอากาศ SCG Active AIR Quality จะขึ้นอยู่กับระดับแรงลม โดยแรงลมสูงสุดเสียงจะดังอยู่ประมาณ 45 ถึง 50 เดซิเบล ซึ่งเทียบเท่ากับเครื่องปรับอากาศขนาด 15,000 BTU ที่เราเปิดใช้งานกันทั่วไป > SingleImage ระบบแรงดันบวก air positive pressure กันฝุ่นเข้าบ้าน ภาพ: หลักการทำงานของเเครื่องเติมอากาศ SCG Active AIR Quality > 4) เครื่องเติมอากาศ SCG Active AIR Quality เหมาะกับบ้านแบบไหน พื้นที่ติดตั้งขนาดเท่าไหร่? > เหมาะกับบ้านเดี่ยว ทาวน์เฮาส์ คอนโด ทั้งที่กำลังสร้าง รีโนเวต หรือสร้างเสร็จไปแล้ว โดยพื้นที่ติดตั้งต้องเป็นพื้นที่ปิดที่มีผนังอย่างน้อยด้านหนึ่งอยู่ติดกับภายนอกเพื่อให้ดึงอากาศเข้ามาได้ หลักการใช้งานที่แนะนำคือ 1 เครื่อง ต่อ 1 ห้องปิดขนาดไม่เกิน 40 ตร.ม. ความสูงฝ้าเพดานประมาณ 2.8 ม. (ตามมาตรฐานบ้านทั่วไป) เครื่องจะช่วยสร้างอากาศสะอาดในบ้านได้ภายใน 1 ช.ม. (กรณีขนาดพื้นที่ใหญ่กว่าที่กล่าวไป ระบบจะสามารถทำให้อากาศสะอาดได้เช่นกันแต่จะต้องใช้เวลาเพิ่มขึ้น) > 5) บ้านที่กำลังสร้างใหม่ หากต้องการติดตั้ง SCG Active AIR Quality ควรทำการสำรวจ ติดตั้ง ในขั้นตอนไหน? สามารถเตรียมได้ตั้งขั้นตอนการออกแบบเลย โดยนำแบบเข้ามาหารือในเรื่องตำแหน่งติดตั้ง การเตรียมระบบไฟ รวมถึงกำหนดทางเดินสายไฟ ให้ดูลงตัวสวยงาม หรือถ้าเป็นบ้านที่ลงมือก่อสร้างไปแล้ว ก็สามารถหารือได้เลยเช่นกัน 6) เครื่องเติมอากาศ SCG Active AIR Quality มีกี่รุ่นกี่แบบให้เลือก? > ปัจจุบันมีทั้งหมด 6 รุ่น โดยจะมี 3 รุ่นสำหรับติดตั้งในห้องที่ไม่ได้เปิดเครื่องปรับอากาศ ได้แก่ รุ่น CM 150o รุ่น CA 150o Series และรุ่น CA 180i ส่วนห้องที่มีการเปิดใช้งานเครื่องปรับอากาศตลอด จะเหมาะกับรุ่นที่มีทั้งช่องอากาศเข้าออก เพื่อให้เกิดความดันและเกิดการแลกเปลี่ยนอุณหภูมิ ให้อุณหภูมิเย็นลงก่อนที่อากาศจะเข้าภายในบ้าน ซึ่งได้แก่ รุ่น XM 100i รุ่น XM 60i Series และรุ่น XA 150i ทั้งนี้รายละเอียดแต่ละรุ่นสามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่ คลิก SingleImage รุ่นของระบบปรับคุณภาพอากาศในบ้าน เครื่องเติมอากาศ SCG Active Air Quality ภาพ: เครื่องเติมอากาศ SCG Active AIR Quality รุ่นต่างๆ > เครื่องเติมอากาศดี SCG Active AIR Quality พร้อมติดตั้ง คลิก\{.button .newtab} {.centered} > 7) อากาศที่ดูดจากภายนอกมากรอง จะมีความร้อนที่ทำให้เครื่องปรับอากาศต้องทำงานหนักขึ้นหรือไม่? > สำหรับห้องที่ใช้เครื่องปรับอากาศ จะเหมาะกับรุ่นที่มีระบบ ERV ในตัว ซึ่งจะมีกลไกช่วยลดอุณหภูมิของอากาศจากภายนอกก่อนจะนำอากาศเข้ามาสู่ภายในบ้าน จึงกระทบกับการทำงานของเครื่องปรับอากาศน้อยมาก 8) ระบบการทำงานของเครื่องเติมอากาศ SCG Active AIR Qualityกินไฟมากน้อยแค่ไหน? > แต่ละเครื่องจะใช้ไฟประมาณ 4-30 วัตต์ ขึ้นอยู่กับระดับแรงลม ซึ่งถ้าเทียบกับค่าไฟกรณีเปิดระบบใช้งานวันละ 8 ชม. จะอยู่ที่ 1-2 บาทต่อวัน 9) เครื่องเติมอากาศ SCG Active AIR Quality มีอายุการใช้งานกี่ปี ดูแลรักษาอย่างไร และมีรับประกันหรือไม่? > มีอายุการใช้งาน 5-7 ปี การดูแลรักษาทำได้โดย ถอดฟิลเตอร์ Fresh Air Shield และ Coarse Filter มาทำความสะอาดเดือนละ 1 ครั้ง ส่วน Carbon Filter และ HEPA H13 Filter ควรเปลี่ยนทุก 6 เดือนถึง 1 ปี นอกจากนี้ทาง SCG ยังมีการรับประกันตัวเครื่องเป็นเวลา 1 ปี > 10) ระบบ SCG Active AIR Quality ต่างกับระบบ SCG Active AIRflow™ System อย่างไร? > ระบบของ SCG Active AIR Quality เป็นการปรับคุณภาพอากาศโดยเติมอากาศดีเข้ามาในบ้าน เหมาะกับห้องนอน ห้องทำงาน ห้องต่างๆ ที่เป็นระบบปิด ในขณะที่ระบบ SCG Active AIRflow™ Systemจะเป็นการระบายความร้อน ความอบอ้าวออกจากตัวบ้าน ซึ่งจะใช้ในพื้นที่เปิดอย่าง ห้องนั่งเล่นที่เป็นโถงสูงเชื่อมไปจนถึงเพดานใต้หลังคา > SingleImage การถ่ายเทอากาศของ SCG Active AIR Quality กับ Active AIRflow System ภาพ: เปรียบเทียบการถ่ายเทอากาศของระบบ SCG Active AIR Quality กับระบบ SCG Active AIRflow™ System > เครื่องเติมอากาศดี SCG Active AIR Quality พร้อมติดตั้ง คลิก\{.button .newtab} {.centered} > อ่านเพิ่มเติม: ปิดบ้านหนีฝุ่นกันเชื้อโรค แต่ยังระบายอากาศในบ้านได้ด้วย SCG Active AIR Quality > อ่านเพิ่มเติม: บ้านเย็นประหยัดไฟด้วย Active AIRflow™ System >
เจ้าของบ้านสามารถซื้อฉนวนกันความร้อน SCG STAY COOL ด้วยตัวเอง เพิ้อให้ช่างทั่วไปที่เจ้าของบ้านใช้บริการอยู่ นำฉนวนขึ้นไปติดตั้งที่ฝ้าเพดานชั้นบนสุดได้ โดยปฏิบัติตามวิธีติดตั้งจากคู่มือ รวมถึงตรวจสอบสภาพโถงหลังคาว่าเหมาะที่จะติดตั้งฉนวนหรือไม่ > ก่อนจะซื้อฉนวนกันความร้อนมาติดตั้งที่ฝ้าเพดานชั้นบนสุด เพื่อกันความร้อนจากหลังคา ควรตรวจสภาพโถงหลังคาให้แน่ใจว่าติดตั้งได้จริง และไม่เกิดปัญหาเมื่อใช้งานดังต่อไปนี้ 1) ฝ้าเพดานสภาพดี เรียบ ได้ระดับ > ฝ้าไม่แอ่น ไม่มีคราบช้ำน้ำบนฝ้า ในโถงหลังคาไม่มีคราบน้ำตามโครงสร้างที่แสดงปัญหาหลังคารั่วซึม (หากหลังคารั่วต้องซ่อมก่อนจึงจะติดตั้งฉนวนได้) > 2) มีช่องเซอร์วิสให้ช่างขึ้นไปติดตั้งฉนวนกันความร้อนได้ > ขนาดช่องเซอร์วิส ไม่ต่ำกว่า 60x60 ซม. สามารถเปิดขึ้นไปทำงานด้านบนฝ้าได้โดยไม่มีสิ่งกีดขวาง Singleimage ช่อง Service-ช่องเซอร์วิสบนฝ้าเพดานเพื่อขึ้นไปติดตั้งฉนวนกันความร้อน SCG ภาพ: ตัวอย่างช่องเซอร์วิสบนฝ้าเพดาน > 3) โครงคร่าวฝ้าแข็งแรง สมบูรณ์ รองรับน้ำหนักฉนวนกันความร้อน SCG STAY COOL ได้ > โครงคร่าวต้องไม่ผุ ไม่มีปลวก รับน้ำหนักฉนวนได้ ฉนวนหนา 75 มม. น้ำหนัก 1.13 กก./ตร.ม. ฉนวนหนา 150 มม. น้ำหนัก 2.06 กก./ตร.ม. > 4) ภายในโถงหลังคา มีระยะสูงพอให้ทำงานได้สะดวก > ระยะจากฝ้าถึงหลังคา ≥ 1.5 ม. ความสูงจากหลังคานลงมาถึงฝ้า ≤ 40 ซม. Singleimage ความสูงในโถงหลังคาที่ช่างปูฉนวนกันความร้อน SCG ได้ ภาพ: ช่างกำลังติดตั้งฉนวนกันความร้อน SCG ภายในโถงหลังคา > 5) สายไฟเหนือฝ้ามีสภาพดีและเรียบร้อย > สายไฟทั้งหมดอยู่ในสภาพสมบูรณ์ หากมีส่วนชำรุดให้แก้ไขซ่อมแซมก่อน และสายไฟทั้งหมดต้องร้อยอยู่ในท่อให้เป็นระเบียบเรียบร้อย > เมื่อเจ้าของบ้านสำรวจรายละเอียดและสภาพโถงหลังคาเรียบร้อยแล้ว ก็ต้องกะปริมาณฉนวนที่จะสั่งซื้อ ซึ่งสามารถคำนวณได้โดยนำขนาดพื้นที่ฝ้าชั้นบน หารด้วย 2.4 (ฉนวน 1 ม้วน ปูได้ 2.4 ตร.ม.) หากเหลือเศษให้ปัดขึ้น Singleimage คำนวณพื้นที่เพื่อกะจำนวนซื้อฉนวนกันความร้อน SCG stay cool ภาพ: แนวทางการคำนวณปริมาณเพื่อสั่งซื้อฉนวนกันความร้อน SCG Stay Cool > อย่างไรก็ตาม หากเจ้าของบ้านได้อ่านข้อมูลทั้งหมดนี้แล้วรู้สึกว่าไม่มั่นใจ รวมถึงมองว่าการตรวจสภาพโถงหลังคาและติดตั้งฉนวนบนฝ้า มีรายละเอียดเฉพาะ ก็สามารถพึ่งทีมงานผู้ชำนาญมาทำการสำรวจแทน หรือซื้อเลือกซื้อฉนวนกันความร้อน SCG Stay Cool แบบพ่วงบริการติดตั้งไปเลย เพื่อความสะดวกมั่นใจว่าจะไม่เกิดเหตุการณ์ซื้อฉนวนมาแล้วติดตั้งไม่ได้ เสียเงินฟรี หรือติดตั้งไปแล้วเกิดปัญหาในอนาคต > อ่านเพิ่มเติม: ฉนวนกันความร้อน STAY COOL ปูทับโคมไฟดาวน์ไลท์ได้ไหม ? > อ่านเพิ่มเติม: ปูฉนวนกันความร้อนแบบไหน ให้บ้านใหม่
คลายข้อสงสัยเกี่ยวกับ “ระบบหลังคาโซลาร์ เอสซีจี” หรือ “SCG Solar Roof” สำหรับผู้ที่สนใจอยากติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์บนหลังคาบ้าน อาคาร หรือโรงงาน >ระบบหลังคาโซลาร์ เอสซีจี เป็นอีกทางเลือกในการประหยัดค่าไฟในบ้าน/อาคาร โดยใช้พลังงานสะอาดที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ ก่อนจะตัดสินใจติดตั้งระบบหลังคาโซลาร์ เอสซีจี ย่อมต้องพิจารณาปัจจัยหลายอย่าง SCG HOME จึงรวบรวมข้อมูลในรูปแบบคำถาม-คำตอบ ที่อ่านเข้าใจได้ง่ายๆ >## 1) SCG Solar Roof ใช้แผงโซลาร์เซลล์ และ Inverter แบบใด ? >A: ระบบหลังคาโซลาร์ เอสซีจี หรือ SCG Solar Roof ใช้อุปกรณ์ดังนี้ >- Premium Package : แผงโซลาร์ Mono High Efficiency Tier 1 (USA/ EU) และ อินเวอร์เตอร์ Huawei >- Smart Package : แผงโซลาร์ Mono High Efficiency Tier 1 และ อินเวอร์เตอร์ Huawei >- Microinverter Package-Enphase : แผงโซลาร์ Mono High Efficiency Tier 1 (USA/ EU) และ ไมโครอินเวอร์เตอร์ Enphase >- Microinverter Package-Hoymiles : แผงโซลาร์ Mono High Efficiency Tier 1 และ ไมโครอินเวอร์เตอร์ Hoymiles แผงโซล่าเซลล์ แผงโซลาร์เซลล์ Solar rooftop SCG Solar Roof >ภาพ: ตัวอย่างแผงโซลาร์เซลล์ และชุดอุปกรณ์ของระบบหลังคาโซลาร์ เอสซีจี หรือ SCG Solar Roof >## 2) ระบบ SCG Solar Roof เหมาะกับบ้านที่ใช้ไฟฟ้าอย่างไรจึงคุ้มค่า ? >A: ระบบหลังคาโซลาร์ เอสซีจี หรือ SCG Solar Roof มีทั้งระบบ On Grid (ใช้ไฟจากระบบโซลาร์และการไฟฟ้า) และ ระบบ Hybrid (ใช้ไฟจากระบบโซลาร์ การไฟฟ้า และมีแบตเตอรี่สำหรับกักเก็บไฟ) เหมาะกับบ้านที่ “มีการใช้ไฟในช่วงกลางวันอย่างสม่ำเสมอ” (เปิดเครื่องปรับอากาศอย่างน้อย 1 ตัว) และ “ควรมีค่าไฟขั้นต่ำ 3,000 บาท ต่อเดือน” โดยสามารถเลือกระบบ Hybrid เพิ่มเติมเพื่อกักเก็บไฟไว้ใช้ในช่วงกลางคืน ซึ่งควรเลือกขนาดของระบบและขนาดแบตเตอรี่ให้เหมาะกับการใช้งานเพื่อความคุ้มค่าสูงสุด >## 3) หากเกิดไฟดับตอนกลางวัน จะยังมีไฟฟ้าใช้หรือไม่ ? >A: กรณีไม่มีแสงอาทิตย์เพียงพอสำหรับผลิตไฟฟ้า จะเป็นการใช้ไฟจากการไฟฟ้าตามปกติ ส่วนกรณีที่เกิดไฟดับในตอนกลางวัน สำหรับระบบ On Grid ระบบจะตัดการทำงานโดยทันทีเมื่อเกิดไฟฟ้าดับ ตามข้อกำหนดด้านความปลอดภัยของการไฟฟ้า แต่ระบบ Hybrid ยังสามารถใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าบางส่วนได้ในลักษณะของระบบไฟสำรองฉุกเฉิน สนใจ ระบบหลังคาโซลาร์ เอสซีจี พร้อมบริการครบวงจร คลิก\{.button .newtab} {.centered} >## 4) SCG Solar Roof มีอุปกรณ์และบริการอะไรให้บ้าง ? >A: ค่าใช้จ่ายในแพ็กเกจของระบบหลังคาโซลาร์ เอสซีจี หรือ SCG Solar Roof จะครอบคลุมถึง >- ค่าอุปกรณ์ต่างๆในระบบ รวมค่าออกแบบระบบ และค่าติดตั้ง >- ค่าดำเนินการขออนุญาตทั้งกระบวนการ >- บริการหลังการขาย (ตาม Package ที่เลือก) >ทั้งนี้ ก่อนสั่งซื้อแพ็กเกจ จะมีค่าบริการสำรวจหน้างาน (หักคืนเป็นส่วนลดค่าบริการติดตั้งได้) ซึ่งครอบคลุมการตรวจสอบสภาพหลังคาและโครงสร้างด้วยโดรน การออกแบบวางแผงและจุดติดตั้งที่เหมาะสม การคำนวณและแบ่ง string ให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด ก่อนจะทำการเสนอราคาให้ลูกค้าพร้อมชี้แจงรายละเอียดจากทีมวิศวกร >## 5) ขั้นตอนติดตั้ง SCG Solar Roof รวมขออนุญาต ใช้เวลากี่วัน ? >A: งานติดตั้งระบบหลังคาโซลาร์ เอสซีจี หรือ SCG Solar Roof ใช้เวลาประมาณ 3-5 วัน โดยเมื่อรวมขั้นตอนขออนุญาตจะใช้เวลาประมาณ 3-4 เดือน ขึ้นอยู่กับหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง ซึ่งประกอบด้วย การไฟฟ้าภาคนครหลวงหรือส่วนภูมิภาค ที่ทำการเขต และสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ติดตั้ง SCG Solar Roof-แผงโซล่าเซลล์-แผงโซลาร์เซลล์ >ภาพ: ตัวอย่างการติดตั้งระบบหลังคาโซลาร์ เอสซีจี หรือ SCG Solar Roof >## 6) SCG Solar Roof ติดตั้งกับบ้าน/อาคารแบบใดได้บ้าง ? >A: ระบบหลังคาโซลาร์ เอสซีจี หรือ SCG Solar Roof สามารถติดตั้งกับบ้านเดี่ยว ทาวน์เฮาส์ อาคาร ที่สูงไม่เกิน 3 ชั้น หากมุงหลังคาควรมีความชันไม่เกิน 35 องศา โดยผ่านการตรวจสอบหลังคาและโครงสร้างแล้วว่าอยู่ในสภาพที่แข็งแรงสมบูรณ์ ติดตั้ง SCG Solar Roof-แผงโซล่าเซลล์-แผงโซลาร์เซลล์ >ภาพ: เปรียบเทียบก่อนและหลังติดตั้ง ระบบหลังคาโซลาร์ เอสซีจี หรือ SCG Solar Roof สนใจ ระบบหลังคาโซลาร์ เอสซีจี พร้อมบริการครบวงจร คลิก\{.button .newtab} {.centered} >## 7) SCG Solar Roof สามารถติดตั้งกับหลังคาแบบใดได้บ้าง ? >A: สามารถติดตั้งได้เกือบทุกประเภทหลังคา ตั้งแต่พื้น Concrete Slab หลังคามุงกระเบื้องประเภทต่างๆ (ทั้งกระเบื้องหลังคา SCG และยี่ห้ออื่นๆ) ไม่ว่าจะเป็นกระเบื้องหลังคาคอนกรีต เซรามิก เมทัลชีท ยกเว้นหลังคาไฟเบอร์ซีเมนต์ และ Shingle Roof สำหรับหลังคามุงกระเบื้องลอนคู่จะติดตั้งได้เฉพาะกรณีทำการปรับปรุงหลังคาด้วยวิธี Top Up Roof เท่านั้น กระเบื้องหลังคา SCG Solar Roof แผงโซล่าเซลล์ แผงโซลาร์เซลล์ >ภาพ: กระเบื้องหลังคา เอสซีจี รุ่นต่างๆ ที่เหมาะและไม่เหมาะกับการติดตั้ง ระบบหลังคาโซลาร์ เอสซีจี หรือ SCG Solar Roof >## 8) SCG Solar Roof มีจุดเด่นอย่างไร ? >A: นอกจากมาตรฐานการติดตั้ง การบริการ และความชำนาญในเรื่องงานหลังคามายาวนานแล้ว ระบบหลังคาโซลาร์ เอสซีจี หรือ SCG Solar Roof ยังใช้นวัตกรรมการติดตั้ง Solar FIX ที่ยึดแผงโซลาร์ได้โดยไม่ต้องเจาะหลังคา จึงหมดกังวลเรื่องรั่วซึม โดยยังคงความแข็งแรง ทนทานต่อแรงลมได้ (ทั้งนี้ ระบบ Solar Fix เป็นอุปกรณ์เฉพาะที่ใช้ได้กับกระเบื้องหลังคาบางรุ่นของ เอสซีจี เท่านั้น) นอกจากนี้บริการในแพ็กเกจยังครอบคลุมเรื่องการขออนุญาตจากภาครัฐทั้งกระบวนการ รวมถึงบริการดูเลรักษาหลังการขายตามเงื่อนไขในแต่ละแพ็กเกจด้วย ติดตั้ง SCG Solar Roof-แผงโซล่าเซลล์-แผงโซลาร์เซลล์-Solar fix >ภาพ: ตัวอย่างอุปกรณ์ Solar FIX ที่ยึดแผงโซลาร์กับผืนหลังคาโดยไม่ต้องเจาะหลังคา >## 9) SCG Solar Roof เหมาะกับหลังคาทิศใด องศาเท่าไหร่ ? >A: ทิศที่เหมาะที่สุดในการติดตั้งระบบหลังคาโซลาร์ เอสซีจี หรือ SCG Solar Roof คือ ทิศใต้ รองลงมาคือทิศตะวันตก ส่วนองศาหลังที่เหมาะที่สุด คือ 15 องศา สนใจ ระบบหลังคาโซลาร์ เอสซีจี พร้อมบริการครบวงจร คลิก\{.button .newtab} {.centered} >## 10) SCG Solar Roof ใช้งานกี่ปีจึงจะคืนทุน ? >A: ระบบหลังคาโซลาร์ เอสซีจี หรือ SCG Solar Roof มักคืนทุนเมื่อใช้งานประมาณ 6-10 ปี ขึ้นอยู่กับขนาดของระบบและพฤติกรรมการใช้งาน >## 11) พลังงานไฟฟ้าที่ได้จาก SCG Solar Roof สามารถขายคืนการไฟฟ้าได้หรือไม่ ? >A: ระบบหลังคาโซลาร์ เอสซีจี หรือ SCG Solar Roof เหมาะสำหรับผลิตไฟฟ้าเพื่อใช้งานในเวลากลางวันเป็นหลัก เพื่อทดแทนการจ่ายค่าไฟจากการไฟฟ้า (หน่วยละ 4.18 บาท ณ เดือน กันยายน 2567 กรณีไม่ใช่มิเตอร์ TOU) ทั้งนี้หากมีส่วนเหลือใช้จะขายคืนให้การไฟฟ้าได้ในราคาหน่วยละ 2.20 บาท (นโยบายปี 2567) โดยสามารถขายคืนได้เฉพาะระบบ On Grid เท่านั้น (ระบบ Hybrid ยังไม่สามารถขายคืนได้) โดยมีข้อกำหนดกรณีต้องการขายไฟคืน คือ ไฟ 1 เฟส ติดตั้งได้ไม่เกิน 5 kW ส่วนไฟ 3 เฟส ติดตั้งได้ไม่เกิน 10 kW การทำงาน-SCG Solar Roof-แผงโซล่าเซลล์-แผงโซลาร์เซลล์-ขายไฟคืน >ภาพ: การทำงานของระบบหลังคาโซลาร์ เอสซีจี หรือ SCG Solar Roof ที่แสดงให้เห็นการผลิตไฟฟ้าเพื่อใช้ในบ้าน และส่วนที่เหลือซึ่งสามารถขายคืนการไฟฟ้าได้ >## 12) หลังจากติดตั้ง SCG Solar Roof ไปแล้ว จะมีค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาอย่างไรบ้าง ? >A: หลังจากการติดตั้ง ทาง SCG มีบริการดูแลตรวจสอบระบบและล้างทำความสะอาดแผงโซลาร์ ให้ฟรี 5 ปี (ปีละ 1 ครั้ง) สำหรับรุ่น Premium และ 2 ปี (ปีละ 1 ครั้ง) สำหรับรุ่น Smart ส่วนแพ็กเกจ Microinverter รุ่น Enphase และรุ่น Hoymiles จะให้บริการเป็นระยะ 5 ปี และ 2 ปี ตามลำดับ ทั้งนี้หลังจากระยะเวลาดังกล่าวลูกค้าสามารถซื้อ Package เพิ่มเติม ซึ่งมีค่าใช้จ่ายประมาณครั้งละ 2,000-5,000 บาท ขึ้นอยู่กับขนาดระบบ >## 13) SCG Solar Roof ใช้งานได้กี่ปี รับประกันกี่ปี ? >A: ระบบหลังคาโซลาร์ เอสซีจี หรือ SCG Solar Roof ใช้งานได้มากกว่า 25 ปี โดยรับประกันตามเงื่อนไขในแต่ละแพ็กเกจดังนี้ >- Premium Package: รับประกันแผง 25 ปี และประสิทธิภาพการทำงาน 30 ปี (ปีที่ 30 ปี ประสิทธิภาพไม่ต่ำกว่า 80%) รับประกัน Inverter 15 ปี (Huawei) และรับประกันการติดตั้ง 3 ปี (กรณีใช้ Solar Fix) >- Smart Package: รับประกันแผง 12 ปี รับประกันประสิทธิภาพการทำงาน 30 ปี (ปีที่ 30 ปี ประสิทธิภาพไม่ต่ำกว่า 80%) รับประกัน Inverter 10 ปี (Huawei) และรับประกันการติดตั้ง 2 ปี >- Microinverter Package-Enphase: รับประกันแผง 25 ปี และประสิทธิภาพการทำงาน 30 ปี (ปีที่ 30 ปี ประสิทธิภาพไม่ต่ำกว่า 80%) รับประกัน Inverter 15 ปี และรับประกันการติดตั้ง 3 ปี (กรณีใช้ Solar Fix) >- Microinverter Package-Hoymiles: รับประกันแผง 12 ปี รับประกันประสิทธิภาพการทำงาน 30 ปี (ปีที่ 30 ปี ประสิทธิภาพไม่ต่ำกว่า 80%) รับประกัน Inverter 12 ปี และรับประกันการติดตั้ง 2 ปี สนใจ ระบบหลังคาโซลาร์ เอสซีจี พร้อมบริการครบวงจร คลิก\{.button .newtab} {.centered}
ทบทวนความรู้เรื่องแอร์ฉบับเจ้าของบ้าน ผ่านบทสัมภาษณ์วิศวกร เพื่อให้เจ้าของบ้านเลือกใช้ได้อย่างเหมาะสม รวมถึงดูแลรักษาแอร์บ้านให้มีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้น text >## รู้จักกับเครื่องปรับอากาศฉบับแอร์บ้าน ก่อนเลือกซื้อ >1) ส่วนประกอบหลักๆ ของแอร์ที่เจ้าของบ้านควรรู้มีอะไรบ้าง ? >A: แอร์บ้านทั่วไปจะมีส่วนประกอบหลักอยู่ 4 ส่วน ได้แก่ >1.1) คอมเพรสเซอร์ (Compressor) ทำหน้าที่ดูดอัดสารทำความเย็น >1.2) คอนเดนเซอร์ (Condenser) หรือเรียกอีกอย่างว่ารังผึ้งคอยล์ร้อน ทำหน้าที่ระบายความร้อนออกจากสารทำความเย็น >1.3) แคปทิวบ์ (Capillary Tube) หรือ อิเล็กทรอนิกส์ เอ็กซ์แพนชั่น วาล์ว (Electronic Expansion Valve) หน้าที่ลดความดันของสารทำความเย็น >1.4) อีวาโพเรเตอร์ (Evaporator) หรือเรียกอีกอย่างว่ารังผึ้งคอยล์เย็น ทำหน้าที่แลกเปลี่ยนความร้อนในห้อง กับสารทำความเย็น แอร์บ้าน >ภาพ: ส่วนประกอบหลักของแอร์บ้านทั่วไป >2) ชุดคอยล์เย็นในแอร์บ้าน มีส่วนประกอบอะไรบ้าง ? >A: ชุดคอยล์เย็นที่ถามมาประกอบไปด้วย Evaporator หรือรังผึ้งคอยล์เย็น, มอเตอร์พัดลม, โบลเวอร์กรงกระรอก, แผงคอนโทรล, เซนเซอร์, แผ่นฟอก, แผ่นกรอง และบอดี้หรือโครงเครื่อง >3) ลูกค้าซื้อแอร์พร้อมติดตั้ง อุปกรณ์ติดตั้งมาตรฐานที่แถมมีอะไรบ้าง ? >A: สำหรับแอร์ของ Mitsubishi Heavy Duty ชุดติดตั้งมาตรฐานที่มีให้คือ ท่อสารทำความเย็น (ทองแดงพร้อมฉนวน), สายไฟมาตรฐาน มอก., เบรกเกอร์มาตรฐาน, รางครอบท่อ , ขายางรองคอยล์ร้อน, ท่อน้ำทิ้ง PVC ขนาด 3/8” สีเทา ซึ่งสามารถสอบถามข้อมูลจากผู้ขาย หรือดูรายละเอียดในหน้าเว็บไซต์สินค้าได้ >4) Q: แอร์บ้านสามารถเดินท่อสารทำความเย็นได้ยาวสุดกี่เมตร ? >A: แอร์บ้านแต่ละรุ่นแต่ละยี่ห้อ ระยะท่อสารทำความเย็นที่สามารถเดินได้จะไม่เท่ากัน แต่สำหรับแอร์ Mitsubishi Heavy Duty สามารถเดินท่อสารทำความเย็นได้ยาวสุดถึง 30 ม. ในรุ่นอินเวอร์เตอร์ 24,000 บีทียู (การเดินท่อสารทำความเย็นได้ในระยะไกล จะช่วยในเรื่องตำแหน่งการจัดวางให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น เช่น ติดแอร์ห้องหน้าบ้าน แต่อยากเอาคอยล์ร้อนไปซ่อนหลังบ้าน เป็นต้น) แอร์บ้าน >ภาพ: ตัวอย่างการเดินท่อสารทำความเย็นเชื่อมซึ่งเชื่อมกับคอยล์ร้อน >5) คอยล์ทองแดงกับคอยล์อะลูมิเนียมในแอร์บ้าน ต่างกันอย่างไร ? >A: คอยล์ทองแดงกับคอยล์อะลูมิเนียมในที่นี้หมายถึงท่อสารทำความเย็นบริเวณรังผึ้งคอยล์ร้อน ความแตกต่างจะอยู่ที่การดูแลรักษาและอายุการใช้งาน สมมติคอยล์เกิดรั่วและไม่มีอะไหล่ให้เปลี่ยน ถ้าเป็นคอยล์ทองแดง ช่างสามารถซ่อมอุดรอยรั่วด้วยวิธีการเชื่อมตามปกติได้ แต่ถ้าเป็นคอยล์อะลูมิเนียม การซ่อมจะต้องอาศัยความชำนาญเป็นพิเศษเพราะถ้าใช้ความร้อนไม่เหมาะสมจะยิ่งทำให้คอยล์รั่วหนักกว่าเดิม > >6) แอร์รุ่นธรรมดา (Fix Speed) กับแอร์รุ่นอินเวอร์เตอร์ (Inverter) แตกต่างกันอย่างไร ? >A: แตกต่างกันที่โปรแกรมการทำงานของคอมเพรสเซอร์ เมื่อเริ่มทำงานแอร์อินเวอร์เตอร์จะค่อยๆ เพิ่มความเร็วรอบการทำงานของคอมเพรสเซอร์ตามที่ได้โปรแกรมไว้ เมื่ออุณหภูมิภายในห้องใกล้เคียงกับอุณหภูมิที่รีโมท คอมเพรสเซอร์จะค่อยๆ ลดความเร็วรอบการทำงานลงแต่ไม่ถึงกับตัดการทำงาน ช่วยให้ประหยัดไฟและสามารถควบคุมอุณหภูมิได้อย่างแม่นยำ (เหมาะกับห้องที่ต้องการอุณหภูมิคงที่) โดยระบบจะประมวลผลเองว่าคอมเพรสเซอร์ต้องทำงานที่ความเร็วรอบเท่าไหร่ ส่วนแอร์รุ่นธรรมดานั้น คอมเพรสเซอร์จะเริ่มต้นทำงานที่ความเร็วรอบสูงสุด จึงทำให้ใช้กระแสไฟฟ้าสูง และเมื่อทำอุณหภูมิภายในห้องต่ำกว่าที่รีโมท 1 องศา คอมเพรสเซอร์จะหยุดทำงานประมาณ 3 - 5นาที และจะเริ่มทำงานใหม่อีกครั้ง ช่วงที่หยุดการทำงานจะทำให้อุณหภูมิภายในห้องสูงขึ้น บางครั้งทำให้รู้สึกร้อน (แอร์ธรรมดาจะราคาถูกและกินไฟมากกว่าแอร์อินเวอร์เตอร์) >7) แอร์รุ่นใดประหยัดไฟ จะสามารถรู้ได้อย่างไร ? >A: สามารถดูได้ที่ฉลากเบอร์ 5 ถ้าแอร์รุ่นใดมีฉลากเบอร์ 5 แปะอยู่ แปลว่าแอร์รุ่นนั้นประหยัดไฟตามมาตรฐานของการไฟฟ้าแห่งประเทศไทย นอกจากนี้ฉลากเบอร์ 5 ของแอร์รุ่นใหม่ๆ จะมีดาวด้วย ดาวจะมีตั้งแต่ 1ดาว ถึง 3 ดาว ดาวยิ่งเยอะจะยิ่งประหยัดไฟมากขึ้น นอกจากดาวแล้ว อีกค่าที่บ่งบอกถึงความประหยัดไฟคือค่า SEER ที่อยู่บนฉลากเบอร์ 5 ตัวเลขยิ่งมากจะยิ่งประหยัดมาก แอร์ประหยัดไฟ >ภาพ: ตัวอย่างสติกเกอร์ฉลากเบอร์ 5 บนเครื่องแอร์ ที่ระบุประสิทธิภาพการประหยัดไฟระดับ 3 ดาว และค่า SEER ที่ 25.69 บีทียู/ชั่วโมง/วัตต์ >8) ฉลากเบอร์ 5 ที่ว่านี้ รับรองโดยหน่วยงานใด ? >A: ฉลากเบอร์ 5 ที่อยู่บนแอร์ทุกเครื่อง การไฟฟ้าแห่งประเทศไทยจะเป็นผู้ออกให้ ไม่สามารถจัดทำขึ้นมาเองได้ ถ้ามีบริษัทใดจัดทำขึ้นมาเอง มีความผิดถึงขั้นสั่งปิดโรงงาน >9) น้ำยาแอร์ R32 คืออะไร และมีข้อดีอย่างไร ? >A: ต้องขอชี้แจงก่อนว่า ในอดีตน้ำยาแอร์ที่ใช้กันจะเป็นน้ำยา R22 ซึ่งทำลายโอโซนที่อยู่ในชั้นบรรยากาศ มีผลทำให้โลกร้อนขึ้น ต่อมาได้เปลี่ยนมาใช้เป็นน้ำยา R410a ซึ่งมีค่าทำลายโอโซนในชั้นบรรยากาศเป็น 0 แต่ค่าที่ทำให้โลกร้อนยังสูงอยู่มาก ปัจจุบันก็เลยเปลี่ยนมาใช้น้ำยา R32 ซึ่งเป็นสารทำความเย็นที่ใช้อยู่ในแอร์รุ่นใหม่ๆ คุณสมบัติจะไม่ทำลายโอโซนในชั้นบรรยากาศและมีค่าที่ทำให้โลกร้อนน้อยมากๆ >10) เราจะรู้ได้อย่างไรว่าแอร์ตัวไหนใช้น้ำยาอะไร และน้ำยาแอร์สามารถใช้แทนกันได้หรือไม่ ? >A: น้ำยาแอร์จะระบุไว้ที่ Name Plate ของเครื่อง และน้ำยาแอร์ต่างชนิดกันจะไม่สามารถใช้ทดแทนกันได้ เนื่องจากผู้ผลิตจะออกแบบโครงสร้างขดลวดและซีลยางภายในของคอมเพรสเซอร์มาไม่เหมือนกัน จึงใช้ทดแทนกันไม่ได้ น้ำยาแอร์R32 ภาพ: ข้อมูลบน Name Plate ของเครื่องแอร์ที่ระบุถึงข้อมูลของน้ำยาแอร์ที่ใช้ > >## การเลือกขนาดเครื่องปรับอากาศ (สำหรับแอร์บ้าน) >11) การเลือกขนาดบีทียูของแอร์ให้เหมาะสมกับขนาดห้อง จะมีวิธีการเลือกอย่างไร ? >A: การเลือกขนาดของแอร์ให้เหมาะสมกับขนาดของห้อง จะต้องคำนึงถึงการใช้งานเป็นหลัก ตัวอย่างเช่น ห้องรับแขก คนที่ใช้งานมีหลายคน มีการเปิดทีวี และเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆ อุปกรณ์เหล่านี้จะคายความร้อนอยู่ตลอดเวลา ก็ต้องเลือกบีทียูของแอร์ที่สูงกว่าห้องนอนที่ขนาดเท่ากัน ยกตัวอย่างถ้าในตาราง ระบุว่า 9,000 บีทียู เหมาะกับห้องขนาด 9-12 ตารางเมตร หมายถึง ขนาดแอร์ 9,000 บีทียู เหมาะกับห้องรับแขกที่ขนาด 9-11 ตารางเมตร หรือห้องนอนที่ 11-12 ตารางเมตร เป็นต้น ทั้งนี้ เจ้าของบ้านอาจเช็คเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ของ Mitsubishi Heavy Duty Thailand ที่ลิงค์ https://mitsuheavythai.com/th/calculation.php จะมีโปรแกรมคำนวณตามรายละเอียดการใช้งาน ว่าเป็นห้องประเภทไหน บ้านแบบไหน เช่น บ้านเดี่ยว คอนโด หรืออาคารพาณิชย์ เป็นต้น) ขนาดแอร์ >ภาพ: ตัวอย่างตารางแสดงเกณฑ์การเลือกขนาดเครื่องปรับอากาศอย่างง่าย >12) ห้องนั่งเล่นที่มีลักษณะเปิดโล่งติดโถงบันได แอร์จะทำงานหนักกว่าห้องทั่วไปหรือไม่ ? >A: แอร์จะทำงานหนักกว่าห้องทั่วไป เนื่องจากพื้นที่เปิดโล่งเปรียบเสมือนการเพิ่มขนาดของห้อง ทำให้แอร์พยายามทำงานให้สัมพันธ์กับขนาดห้อง Btuแอร์ >ภาพ: ตัวอย่างห้องนั่งเล่นติดโถงบันได ซึ่งแอร์จะต้องทำงานหนักกว่าเมื่อเทียบกับห้องนั่งเล่นแบบปิดที่มีขนาดเท่ากัน >13) ห้องที่มีขนาดใหญ่ ควรติดแอร์ตัวเดียวที่มีบีทียูเหมาะสมกับขนาดห้อง หรือติดแอร์ที่มีบีทียูลดลงครึ่งนึง จำนวน 2 ตัว ดี ? >A: สามารถเลือกได้ทั้ง 2 วิธี เพียงแต่ว่าถ้าเป็นกรณีที่ใช้แอร์ 2 ตัว ควรเปิดพร้อมกันทั้งสองตัว ไม่ควรเปิดเพียงตัวเดียวเพราะแอร์จะทำงานหนักจนเกินไป (วิธีนี้จะมีข้อดีถ้าหากแอร์ตัวใดตัวหนึ่งเสีย ก็ยังสามารถใช้แอร์อีกตัวได้) >14) เหตุใดตัวเลขขนาดบีทียูบนฉลากเบอร์ 5 กับตัวเลขที่อยู่ในตารางบีทียู จึงไม่เหมือนกัน เช่น ฉลากเบอร์ 5 ระบุว่า 12,276 บีทียู/ชั่วโมง แต่ในตารางระบุว่า 12,000 บีทียู/ชั่วโมง เป็นต้น ? >A: ตัวเลขที่ระบุบนฉลากเบอร์ 5 ของมิตซูบิชิ เฮฟวี่ ดิวตี้ (Mitsubishi Heavy Duty) ได้มาจากการทดสอบโดยการไฟฟ้า ซึ่งตัวเลขบีทียูที่ได้จะเป็นค่าที่ได้จากการทดสอบตามความเป็นจริงจะไม่มีการปัดเศษ ให้เป็นจำนวนเต็ม ในส่วนของตัวเลขที่อยู่ในตารางบีทียู เช่น 9,000 12,000 18,000และ 24,000 เป็นเพียงตัวเลขที่ได้มาจากการคำนวณของอเมริกาที่ใช้เรียกขนาดบีทียูเป็นตัน (1 ตัน = 12,000 บีทียู) >15) ห้องที่มีเพดานสูง 5 เมตร ควรติดแอร์ประเภทใด ? >A: อาจติดแอร์เพดานแบบแขวน แอร์ท่อลม แอร์แบบ 4 ทิศทาง แอร์ตู้ตั้ง หรือแอร์แบบติดผนัง (แต่ต้องติดต่ำลงมา) ที่แนะนำก็เป็นแอร์ประเภทตู้ตั้ง เพราะจะทำความเย็นในบริเวณที่ใช้งานจริงๆ แอร์บ้าน ภาพ: แอร์รูปแบบต่างๆ ได้แก่ แอร์ติดผนัง แอร์แบบแขวน แอร์ตู้ตั้ง แอร์ท่อลม และแอร์แบบ 4 ทิศทาง >## ปัญหาและการดูแลรักษาเครื่องปรับอากาศ ฉบับแอร์บ้าน >16) ปัญหาเปิดแอร์แล้วแอร์มีกลิ่นเหม็นอับ เกิดจากสาเหตุอะไร ? >A: อาจเกิดได้จากสาเหตุต่างๆ ดังนี้ >16.1) คอยล์เย็นสกปรก มีเชื้อโรค เชื้อรา เชื้อแบคทีเรียไปเติบโตในคอยล์ เนื่องจากไม่ได้ล้างแอร์เป็นเวลานาน >16.2) ปลายท่อน้ำทิ้งอยู่ใกล้บริเวณแหล่งน้ำทิ้ง เช่น คลอง หรือท่อระบายน้ำ ส่งผลให้กลิ่นไม่พึงประสงค์บางส่วนถูกดูดเข้ามาขณะแอร์ทำงาน แนะนำให้แก้ไขโดยการย้ายตำแหน่งท่อน้ำทิ้ง >16.3) เกิดกลิ่นจากสิ่งปฏิกูลของสัตว์เลี้ยงภายในบ้าน >16.4) มีสัตว์เข้าไปตายอยู่ในคอยล์เย็น เช่น หนู จิ้งจก เป็นต้น >เสริม แอร์บางรุ่นมีความสามารถในการลดปัญหากลิ่นอับได้ เช่น แอร์ Mitsubishi Heavy Duty จะมีฟังก์ชั่น Self Clean Operation หรือเรียกสั้นๆ ว่า โหมดคลีน ซึ่งโหมดคลีนจะเริ่มทำงานหลังจากที่เราปิดแอร์แล้ว โดยใบพัดของพัดลมคอยล์เย็นจะทำงานในรอบต่ำ เพื่อไล่ความชื้นในคอยล์เย็นเป็นเวลา 2 ชม. ส่งผลให้คอยล์เย็นไม่มีความชื้น ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราและเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดกลิ่นเหม็นอับ (การทำงานในโหมดนี้กินไฟน้อยมาก จึงไม่ต้องกังวลเรื่องค่าไฟ แนะนำให้เปิดใช้โหมดคลีนอย่างสม่ำเสมอเพื่อป้องกันการเกิดกลิ่นเหม็นอับ แต่หากแอร์เริ่มมีกลิ่นแล้วควรล้างแอร์เพื่อทำความสะอาดคอยล์เย็น > >17) ห้องที่มีความชื้นมากจะส่งผลเสียกับแอร์หรือไม่ และการเปิดแอร์จะช่วยกำจัดความชื้นได้ไหม ? >A: ห้องที่มีความชื้นมาก เช่น ห้องนอนที่ติดห้องน้ำ แอร์จะทำงานหนักกว่าห้องปกติ จึงควรปิดประตูห้องน้ำ เพื่อลดภาระการทำงานของแอร์ อย่างไรก็ดี หน้าที่ของแอร์คือ ทำความเย็นและควบคุมความชื้นให้อยู่ในเกณฑ์ที่ผู้อยู่อาศัยรู้สึกสบายตัว ก็ถือว่าช่วยได้ระดับหนึ่ง ทั้งนี้ สำหรับแอร์บางรุ่น เช่น แอร์ Inverter ของ Mitsubishi Heavy Duty จะมี Humidity Sensor ที่ทำหน้าที่ตรวจจับความชื้นภายในห้อง หากตรวจพบว่าภายในห้องมีความชื้นสูงเกินค่าที่กำหนดไว้ เครื่องจะคำนวณ และปรับการทำงานอัตโนมัติ เพื่อให้ค่าความชื้นลดลงอยู่ในค่าที่กำหนดไว้ เป็นสาเหตุให้บางครั้งผู้ใช้งานไม่สามารถปรับตำแหน่งบานสวิงได้ เนื่องจากแอร์กำลังทำงานอยู่ในกระบวนการการลดความชื้น แอร์บ้าน ภาพ: ห้องนอนที่มีห้องน้ำในตัวจะมีความชื้นสูง แอร์จึงทำงานหนักกว่าห้องนอนปกติที่มีขนาดเท่ากัน ควรปิดประตูห้องน้ำเพื่อลดภาระการทำงานของแอร์ >18) ปัญหาน้ำยาแอร์รั่วเกิดจากสาเหตุใด สามารถแก้ไขได้อย่างไร ? >A: ปัญหาน้ำยาแอร์รั่วเกิดได้ 2 สาเหตุ คือ >18.1) เกิดจากการติดตั้ง โดยมักจะพบการรั่วบริเวณจุดเชื่อมต่อท่อน้ำยาระหว่างคอยล์เย็น และคอยล์ร้อน หรือที่เรียกว่า แฟร์ อาจเกิดได้จากการบานท่อน้ำยาไม่ดี ขันแฟร์ไม่แน่น หรือขันแน่นจนเกินไปส่งผลให้แฟร์แตกและเกิดการรั่วซึม >18.2) เกิดจากสภาพแวดล้อม โดยมักพบปัญหาคอยล์รั่วกับบ้านที่อยู่ใกล้แหล่งน้ำ ในการซ่อม ต้องเช็คหารอยรั่วและแก้ไขให้เรียบร้อยจึงค่อยเติมน้ำยาแอร์ เพราะถ้าเติมน้ำยาโดยที่ไม่ซ่อมจุดรั่ว น้ำยาแอร์ก็จะพร่องอีก >19) เจ้าของบ้านทั่วไป จะรู้ได้อย่างไรว่าเกิดปัญหาน้ำยาแอร์รั่ว ? >A: อาการที่แสดงออกมาคือ แอร์ไม่เย็น และมีน้ำหยด บางเคสอาจมีน้ำแข็งกระเด็นออกมาทางช่องส่งลม >20) ปัญหาแอร์ไม่เย็นและมีน้ำหยด นอกจากน้ำยาแอร์รั่วแล้ว มีสาเหตุอื่นร่วมด้วยหรือไม่ ? >A: บางครั้งอาการนี้อาจเกิดจากแอร์สกปรกไม่ได้ล้างเป็นเวลานาน หรือมีสิ่งสกปรกไปอุดตันที่บริเวณท่อน้ำทิ้ง ทำให้ระบายได้ไม่ดีเท่าที่ควร หรืออาจเกิดจากห้องที่มีความชื้นมาก เช่น ร้านเสริมสวย ที่มักจะพบปัญหาน้ำหยดหรือบางครั้งแอร์จะพ่นหมอกหรือไอน้ำออกมา > >21) แอร์มีอุปกรณ์ที่ใช้ป้องกันฝุ่น PM 2.5 หรือไม่ ? >A: ถ้าเป็นแอร์ของMitsubishi Heavy Duty ก็จะมีแผ่นกรอง Nano Carbon Air Filter ซึ่งเป็นแผ่นกรองที่ใช้กรองฝุ่น PM 2.5 เจ้าของบ้านสามารถติดตั้งได้ด้วยตัวเอง และไม่ต้องกังวลว่า ติดแล้วจะไปขัดขวางแรงลมทำให้เพิ่มภาระการทำงานของแอร์ เพราะจากการทดสอบที่ทุกระดับความเร็วลม พบว่ามีผลเพียงเล็กน้อย ไม่ถึง 5% ซึ่งถือว่าไม่มีผลต่อการใช้งาน แผ่นกรองแอร์pm2.5 >ภาพ: แผ่นกรอง Nano Carbon Air Filter ซึ่งเป็นแผ่นกรองที่ใช้กรองฝุ่น PM2.5 ซึ่งเจ้าของบ้านสามารถนำไปติดตั้งกับแอร์บ้านได้ด้วยตัวเอง >22) เจ้าของบ้านควรดูแลรักษาแอร์อย่างไรบ้าง ? >A: แนะนำให้ใช้บริการช่างล้างแอร์ทุกๆ 6 เดือน เพื่อให้แอร์ทำงานได้เต็มประสิทธิภาพและไม่กินไฟจนเกินไป โดยระหว่างนั้นทุกๆ 1 เดือน แนะนำให้เจ้าของบ้านถอดเฉพาะแผ่นตะแกรงออกมาล้าง เพื่อช่วยลดภาระการทำงานของแอร์ ล้างแอร์บ้าน ภาพ: แผ่นตะแกรงที่เจ้าของบ้านสามารถถอดออกจากแอร์ นำมาล้างได้ด้วยตัวเอง >ขอบคุณที่มาข้อมูล >ทีมวิศวกรแผนกเทคนิค จาก Mitsubishi Heavy Duty