แนวทางตกแต่งฝ้าเพดานภายนอก หรือที่เรียกว่า “ฝ้าชายคา” รูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นฝ้าทึบหรือฝ้าแบบมีรูระบายอากาศ ทั้งแบบแผ่นเรียบ แบบเซาะร่อง แบบมีลวดลายไม้ รวมไปถึงการใช้ฝ้าไม้ระแนงตีชนชิด หรือตีเว้นร่อง >ฝ้าเพดานภายนอกหรือฝ้าชายคา เป็นส่วนที่ไม่ควรมองข้ามเพราะมีผลต่อหน้าตาของบ้านและประโยชน์ใช้สอยบางอย่าง วัสดุที่ใช้ทำฝ้าเพดานภายนอกควรมีคุณสมบัติทนความชื้น ยกตัวอย่างเช่น ฝ้าไฟเบอร์ซีเมนต์ ฝ้าไวนิล ฝ้ายิปซัมทนชื้น ทั้งนี้ การตกแต่งฝ้าเพดานภายนอก สามารถทำได้หลายวิธี โดยอาจเลือกทำฝ้าแบบทึบ หรือฝ้าระบายอากาศเพื่อลดความร้อนจากบริเวณโถงหลังคา ซึ่งเป็นแหล่งที่มาของความร้อนส่วนใหญ่ในภายบ้าน >. >๐ ฝ้าไฟเบอร์ซีเมนต์ ผลิตจากเส้นใยเซลลูโลสผสมกับปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ มีคุณสมบัติทนความชื้น เหมาะกับการใช้งานภายนอก และปลวกไม่กิน มีราคาถูกกว่าฝ้าไวนิลและฝ้ายิปซัมทนชื้น แต่ก็มีน้ำหนักมากกว่า มีให้เลือกหลายรูปแบบ ทั้งแผ่นเรียบ เซาะร่อง เซาะร่องลายไม้ มีรูระบายอากาศ และไม้ระแนงไฟเบอร์ซีเมนต์ที่สามารถนำมาติดตั้งเว้นร่องเช่นเดียวกับการใช้ไม้จริงได้ด้วย >๐ ฝ้าไวนิล ผลิตจากยูพีวีซีชนิดพิเศษที่ทนต่อแสงแดด รังสี UV ความชื้นจากฝน และ สภาวะอากาศที่เปลี่ยนแปลง ไม่แตกกรอบ บิดงอ และปลวกไม่กิน น้ำหนักเบาใช้เวลาในการติดตั้งรวดเร็ว และไม่ต้องทำสีเพิ่ม มีให้เลือกแบบเซาะร่อง และเซาะร่องพร้อมรูระบายอากาศ >๐ ฝ้ายิปซัมทนชื้น ผลิตจากผงแร่ยิปซัมผสมสารป้องกันการดูดซึมความชื้น ทำให้การดูดซึมน้ำไม่เกิน 5% ประกบด้วยกระดาษเหนียวอัดแน่นชนิดพิเศษสีเขียวเคลือบสารกันน้ำและเชื้อรา จึงถือเป็นรุ่นพิเศษซึ่งมักมีราคาสูงกว่าแผ่นฝ้ายิปซัมทั่วไป มี 2 รุ่น คือ แผ่นยิปซัมทนชื้น (MoistBloc Plus) เหมาะกับโรงรถ และ แผ่นยิปซัมชายคา (WeatherBloc) เหมาะกับใต้ชายคา >แผ่นฝ้าไฟเบอร์ซีเมนต์ ไม้ระแนงไฟเบอร์ซีเมนต์ และฝ้าไวนิล >ภาพ: แผ่นฝ้าไฟเบอร์ซีเมนต์ ไม้ระแนงไฟเบอร์ซีเมนต์ และฝ้าไวนิลแบบต่างๆ >แผ่นยิปซัมทนชื้น (MoistBloc Plus) และ แผ่นยิปซัมชายคา (WeatherBloc) >ภาพ: แผ่นยิปซัมทนชื้น (MoistBloc Plus) และ แผ่นยิปซัมชายคา (WeatherBloc) >. >## ฝ้าเพดานภายนอกหรือฝ้าชายคาแบบทึบ >อาจเป็นได้ทั้งแบบแผ่นเรียบตีเว้นร่องธรรมดา หรือหากต้องการอารมณ์ใกล้เคียงไม้ อาจใช้วัสดุไฟเบอร์ซีเมนต์ ซึ่งมีทั้งในรูปของแผ่นฝ้าแบบเซาะร่อง หรือไม้เทียมทำเป็นฝ้าไม้ระแนงตีชนชิด ทั้งนี้ รูปแบบต่างๆ ที่เล่าไปสามารถนำมาผสมผสานเพื่อให้เกิดแพทเทิร์นที่น่าสนใจได้ >ฝ้าชายคาแบบแผ่นทึบติดตั้งเว้นร่อง ล้อกับผนัง >ภาพ: ฝ้าเพดานภายนอกหรือฝ้าชายคาแบบแผ่นทึบ ติดตั้งเว้นร่อง ล้อกับผนัง >ฝ้าชายคาแผ่นทึบแบบเซาะร่อง >ฝ้าเพดานภายนอกหรือฝ้าชายคาแผ่นทึบแบบเซาะร่อง ทาสีน้ำตาลให้อารมณ์คล้ายระแนงไม้ >ฝ้าชายคาแผ่นทึบแบบเซาะร่องทาสีครีม >ภาพ: ฝ้าเพดานภายนอกหรือฝ้าชายคาแผ่นทึบแบบเซาะร่องทาสีครีม >ฝ้าชายคาแบบแผ่นเรียบกับแบบเซาะร่องติดตั้งเป็นแพทเทิร์น >ภาพ: ฝ้าเพดานภายนอกหรือฝ้าชายคาแบบแผ่นเรียบกับแบบเซาะร่องติดตั้งเป็นแพทเทิร์นผสมกัน >ฝ้าชายคาแบบแผ่นทึบติดตั้งร่วมกับฝ้าหลุม >ภาพ: ฝ้าเพดานภายนอกหรือฝ้าชายคาแบบแผ่นทึบติดตั้งร่วมกับฝ้าหลุมแผ่นเรียบ >ฝ้าไม้ระแนงตีชนชิด >ภาพ: ฝ้าเพดานภายนอกหรือฝ้าชายคาใช้ไม้ระแนงตีชนชิด >. >## ฝ้าเพดานภายนอกแบบมีรูระบายอากาศหรือฝ้าชายคาระบายอากาศ >อาจอยู่ในรูปของฝ้าแผ่นเรียบพร้อมรูระบายอากาศแบบเต็มแผ่นหรือครึ่งแผ่น ฝ้าเซาะร่องที่ดูคล้ายระแนงไม้ (ทั้งแบบธรรมดาและแบบที่มีลวดลายไม้บนพื้นผิว) หรือจะใช้เทียมทำเป็นฝ้าไม้ระแนงตีเว้นร่องระบายอากาศก็ได้เช่นกัน โดยทั้งหมดนี้สามารถนำมาออกแบบสร้างลูกเล่นได้มากมาย >ฝ้าเพดานภายนอกแบบแผ่นเรียบพร้อมรูระบายอากาศ >ภาพ: ฝ้าเพดานภายนอกแบบแผ่นเรียบพร้อมรูระบายอากาศ >ฝ้าเพดานภายนอกแบบแผ่นเรียบพร้อมรูระบายอากาศ >ภาพ: ฝ้าเพดานภายนอกแบบแผ่นเรียบพร้อมรูระบายอากาศ >ฝ้าชายคาแบบเซาะร่องพร้อมรูระบายอากาศ >ภาพ: ฝ้าเพดานภายนอกหรือฝ้าชายคาแบบเซาะร่องพร้อมรูระบายอากาศ >ฝ้าไวนิลพร้อมรูระบายอากาศ >ภาพ: ฝ้าเพดานภายนอกหรือฝ้าชายคาเป็นฝ้าไวนิลพร้อมรูระบายอากาศ >ฝ้าชายคาแบบเซาะร่องระบายอากาศครึ่งแผ่น >ภาพ: ฝ้าเพดานภายนอกหรือฝ้าชายคาแบบเซาะร่องระบายอากาศครึ่งแผ่น >ฝ้าชายคาแบบเซาะร่องระบายอากาศครึ่งแผ่นทาสีน้ำตาลเข้ม >ภาพ: ฝ้าเพดานภายนอกหรือฝ้าชายคาแบบเซาะร่องระบายอากาศครึ่งแผ่น โดยทาสีน้ำตาลเข้มในร่องเกิดเป็นแนวเส้นต่อเนื่อง >ฝ้าชายคาแบบผสมผสาน >ภาพ: ฝ้าเพดานภายนอกหรือฝ้าชายคาแบบผสมผสาน ทั้งฝ้าแผ่นทึบ ฝ้าระบายอากาศ และระแนงไม้ตีเว้นร่องระบายอากาศ >ฝ้าชายคาแบบผสมผสาน >ภาพ: ฝ้าเพดานภายนอกหรือฝ้าชายคาแบบเซาะร่อง ติดตั้งผสมผสาน ทั้งฝ้าแผ่นทึบและฝ้าระบายอากาศ >ฝ้าไม้ระแนงตีเว้นร่องระบายอากาศ >ภาพ: ฝ้าเพดานภายนอกหรือฝ้าชายคาใช้ไม้ระแนงตีเว้นร่องระบายอากาศ >. >สนใจ ฝ้าภายนอกแบบเรียบ และระบายอากาศ พร้อมบริการติดตั้ง คลิก\{.button .newtab} {.centered} >. >อ่านเพิ่มเติม: หลากวัสดุทดแทนไม้ทำฝ้าชายคาระบายอากาศ
แจกแจงรูปแบบการระบายน้ำฝนของหลังคาส่วนต่อเติม ไม่ว่าจะเป็นหลังคาโรงรถหรือหลังคากันสาดเหนือประตูหน้าต่างรอบบ้าน ทั้งแบบที่มีรางน้ำกันสาดเพื่อรองรับน้ำฝน และแบบที่ไม่มีรางน้ำฝนใดๆ เลย > >ปัจจุบันคงปฏิเสธไม่ได้ว่า สภาพภูมิอากาศที่เราเผชิญอยู่นั้นมีทั้งร้อนและฝนตกหนักพร้อมลมกระโชกแรงมากขึ้นทุกๆ ปี แม้การอยู่อาศัยภายในบ้านจะช่วยปกป้องเราจากแสงแดดและลมฝนแล้ว การช่วยลดความรุนแรงของสภาพอากาศตั้งแต่บริเวณภายนอกบ้านก็จำเป็นเช่นกัน โดยเฉพาะการต่อเติมหลังคากันสาด ทั้งบริเวณที่จอดรถและพื้นที่รอบบ้าน ซึ่งส่วนใหญ่เรามักคำนึงถึงการเลือกใช้วัสดุและดีไซน์ที่เข้ากับตัวบ้านเป็นสำคัญ แต่ในความเป็นจริงเราควรคำนึงถึงระบบการระบายน้ำฝนด้วย เพราะน้ำฝนที่ไหลลงจากหลังคาอาจสร้างความเสียหายบนผิวพื้นหรือระบายออกไปรบกวนเพื่อนบ้านข้างเคียงได้ รางน้ำฝน พร้อมบริการติดตั้ง คลิก\{.button .newtab} {.centered} Single Image หลังคากันสาด ติดตั้งเป็นหลังคาโรงรถ >ภาพ: ต่อเติมหลังคาคลุมที่จอดรถหน้าบ้าน Single Image หลังคากันสาดวัสดุทึบแสงบริเวณประตูบ้าน >ภาพ: (ซ้าย) ต่อเติมหลังคากันสาดแบบทึบเหนือประตูทางเข้าบ้าน, (ขวา) ต่อเติมหลังคาแบบโปร่งคลุมทางเดินรอบบ้าน >มาถึงตรงนี้ เจ้าของบ้านอาจสงสัยว่า “หลังคากันสาด จำเป็นต้องติดรางน้ำฝนด้วยหรือ?” >จริงๆ แล้วเราจะเลือกติดตั้งหรือไม่ก็ได้ ขึ้นอยู่กับลักษณะของพื้นที่โดยรอบ หากน้ำฝนไหลลงสู่พื้นที่เป็นพื้นหิน หรือพื้นคอนกรีตในบริเวณที่ไม่ค่อยใช้งาน ห่างไกลจากเพื่อนบ้าน ก็อาจไม่จำเป็นต้องติดรางน้ำฝน แต่หากเป็นสวน สนามหญ้า บ่อปลา รวมถึงกรณีที่ปลายหลังคากันสาดใกล้หรือชนกับเขตรั้วของเพื่อนบ้าน แนะนำให้ติดตั้งรางน้ำฝน เพราะนอกจากจะช่วยลดแรงน้ำฝนที่ตกกระทบบนพื้นผิวแล้ว รางน้ำฝนยังช่วยนำทางน้ำฝนลงสู่ท่อระบายน้ำได้อย่างเป็นระเบียบ ไม่รบกวนทั้งเพื่อนบ้านและบ้านเราเอง ทั้งยังช่วยปกป้องผนังบ้านจากคราบน้ำ ตะไคร่ หรือเชื้อราได้อีกด้วย รูปแบบของปลายหลังคาโรงรถหรือหลังคากันสาดที่มีรางน้ำและไม่มีรางน้ำสามารถทำได้หลากหลายแนวทาง ดังนี้ >## 1. ติดตั้งรางน้ำหลังคา ในรูปของรางน้ำฝนโดยต่อท่อระบายน้ำลงสู่พื้น >วิธีนี้เป็นวิธีที่นิยมกันโดยทั่วไป น้ำจากหลังคาจะไหลลงรางน้ำและระบายสู่ท่อน้ำฝนที่สามารถทาสีให้กลมกลืนไปกับโครงสร้างหลังคาได้ น้ำฝนจากท่อจะไหลตรงไปสู่พื้น หรือต่อลงทางระบายน้ำรอบบ้านโดยตรงเลยก็ได้ การติดตั้งรางน้ำที่ปลายหลังคาสามารถทำได้ทั้งแบบซ่อนรางน้ำ และโชว์รางน้ำ ขึ้นอยู่กับสไตล์ ความเหมาะสมสวยงาม ความชอบของเจ้าของบ้าน โดยให้สอดคล้องกับวัสดุรางน้ำที่เลือกใช้ด้วย Single Image กันสาดซ่อนรางน้ำ รางน้ำฝนแบบซ่อน >ภาพ: มุมมองด้านบนของหลังคากันสาดที่มีรางน้ำฝนแบบซ่อน Single Image รางน้ำฝนแบบซ่อนในหลังคากันสาดทึบแสง >ภาพ: รูปแบบหลังคากันสาดแบบทึบที่ติดตั้งรางน้ำฝนแบบซ่อนในโครงสร้างหลังคา ทาสีท่อระบายน้ำให้กลมกลืนไปกับเสาโครงสร้าง Single Image รางน้ำฝนแบบซ่อนในหลังคากันสาดโปร่งแสง >ภาพ: รูปแบบหลังคากันสาดแบบโปร่งใสที่ติดตั้งรางน้ำฝนแบบซ่อนในโครงสร้างหลังคา ทาสีท่อระบายน้ำให้กลมกลืนไปกับเสาโครงสร้าง Single Image ต่อท่อระบายน้ำฝนจากรางน้ำกันสาด >ภาพ: การต่อท่อระบายน้ำฝนจากรางน้ำฝนลงสู่พื้น หรือทางระบายน้ำรอบบ้าน (ใต้ดิน) ไม่รบกวนเพื่อนบ้าน ในกรณีที่หลังคากันสาดชนกับรั้วข้างบ้าน (ภาพซ้าย: แบบซ่อนรางน้ำ) (ภาพขวา: แบบโชว์รางน้ำ) Single Image รางน้ำกันสาด โชว์รางน้ำฝน >ภาพ: ต่อเติมหลังคากันสาดข้างบ้านแบบโชว์รางน้ำฝน รางน้ำฝน พร้อมบริการติดตั้ง คลิก\{.button .newtab} {.centered} >## 2. ติดตั้งรางน้ำหลังคา ในรูปของรางน้ำฝนพร้อมโซ่รางน้ำฝน (Rain Chain) >การติดตั้งรางน้ำฝนเหมือนกับรูปแบบแรก แต่จะใช้โซ่รางน้ำฝน เป็นตัวระบายน้ำแทนการต่อท่อระบายน้ำเพื่อช่วยชะลอความแรงของน้ำที่มาจากรางน้ำ ซึ่งควรเตรียมพื้นที่ด้านล่างเป็นพื้นสนามหญ้า โอ่งน้ำ กระถางต้นไม้ พื้นโรยหินหรือกรวด เป็นต้น รูปแบบของโซ่ระบายน้ำฝนมีให้เลือกใช้ได้หลากหลายเพื่อให้เข้ากับสไตล์บ้านได้ Single Image กันสาดซ่อนรางน้ำพร้อมโซ่ระบายน้ำฝนหรือโซ่รางน้ำฝน >ภาพ: โซ่ระบายน้ำฝน (Rain Chain) ที่ต่อจากรางน้ำฝนแบบซ่อนของหลังคากันสาด Single Image โซ่ระบายน้ำฝนหรือโซ่รางน้ำฝนจากหลังคา >ภาพ: โซ่ระบายน้ำฝน (Rain Chain) แบบถ้วย สามารถช่วยชะลอความแรงของการระบายน้ำฝนได้ รางน้ำฝน พร้อมบริการติดตั้ง คลิก\{.button .newtab} {.centered} >## 3. ต่อเติมหลังคากันสาดแบบไม่ติดตั้งรางน้ำหลังคาหรือรางน้ำฝนใดๆ >ในกรณีที่ต่อเติมหลังคากันสาดโดยไม่ติดตั้งรางน้ำหลังคา ก็สามารถออกแบบลักษณะปลายแผ่นหลังคากันสาดได้หลายแบบไม่ว่าจะเป็น การเว้นช่องว่างระหว่างปลายแผ่นกับโครงหลังคา เพื่อช่วยซ่อนปลายหลังคาให้เรามองเห็นเพียงของโครงสร้างโดยรอบ หรือการยื่นปลายแผ่นหลังคาเลยโครงสร้างออกไป ลักษณะการระบายน้ำจะไหลตามแรงโน้มถ่วงสู่ปลายแผ่นหลังคาก่อนตกกระทบลงพื้น Single Image หลังคากันสาดซ่อนปลายหลังคา >ภาพ: กันสาดแบบเหลือช่องว่างระหว่างปลายกับโครงหลังคาเพื่อซ่อนปลายแผ่นหลังคา Single Image วัสดุมุงโปร่งแสงเลยขอบหลังคากันสาด >ภาพ: กันสาดแบบยึดแผ่นกระเบื้องหลังคาเลยขอบโครงสร้าง >สำหรับหลังคากันสาดไม่ว่าจะเลือกติดตั้งรางน้ำหรือไม่ สิ่งที่ต้องคำนึงคือ การระบายน้ำจะต้องไม่ส่งผลกระทบต่อพื้นด้านล่าง หรือส่งผลกระทบเสียหายบริเวณโดยรอบ การดีไซน์รางน้ำก็เช่นกัน ไม่ว่าจะซ่อนหรือไม่ ต้องดูแลทำความสะอาดรางน้ำให้สะอาด ไม่มีสิ่งสกปรก ใบไม้หรือกิ่งไม้มาขวางทางน้ำซึ่งจะลดคุณภาพการระบายน้ำลงได้ >ขอบคุณภาพประกอบบทความจาก คิวช่าง Q-Chang >อ่านเพิ่มเติม: สวนพัง ผนังเปื้อน เพื่อนบ้านบ่น...รางน้ำฝนช่วยได้ รางน้ำฝน พร้อมบริการติดตั้ง คลิก\{.button .newtab} {.centered}
เปลี่ยนหลังคาบ้านที่เก่าโทรมและมีปัญหารั่วกวนใจ ให้กลับมาสวยใหม่พร้อมแก้ปัญหาหลังคารั่วซึม ด้วยบริการเปลี่ยนกระเบื้องหลังคาจาก SCG ที่เปลี่ยนง่าย รวดร็ว และไม่รบกวนการอยู่อาศัยในบ้านขณะปรับปรุง >“บ้าน” ยิ่งอยู่อาศัยมานาน ความทรงจำก็ยิ่งมีมากขึ้นก่อเกิดเป็นความรักความผูกพันของคนในครอบครัว แต่ในทางกลับกันยิ่งเวลาผ่านไปนานเท่าไหร่ บ้านก็ยิ่งจะเสื่อมโทรมลงไปตามกาลเวลา การรีโนเวทหรือปรับปรุงบ้านจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ เพื่อรักษาบ้านอันเป็นที่รักให้ยังคงเป็นที่อยู่อาศัยอันอบอุ่นของทุกคนในครอบครัว text >ภาพ: บ้านคุณสิทธิชัย สมบูรณ์เวชชการ ที่ใช้บริการเปลี่ยนกระเบื้องหลังคา (Re-Roof) จาก SCG >เช่นเดียวกับบ้านหลังนี้ของคุณสิทธิชัย สมบูรณ์เวชชการ ที่อยู่อาศัยมานานเกือบยี่สิบปี จากบ้านที่เคยสวยงามโดดเด่นกลับเก่าโทรม ในส่วนหลังคาก็เริ่มเก่าสีซีดจาง อีกทั้งยังมีปัญหาการรั่วซึมบริเวณหลังคาคอนกรีตเสริมเหล็กที่ล้อมรอบหลังคามุงกระเบื้องคอนกรีต ช่างทั่วไปมาแก้ไขให้ด้วยการต่อเติมหลังคาชิงเกิ้ลรูฟ แต่ก็ยังไม่สามารถแก้ไขอาการรั่วซึมได้ คุณสิทธิชัย จึงได้เข้ามาติดต่อที่ SCG Experience และตัดสินใจเลือกใช้ “บริการเปลี่ยนกระเบื้องหลังคา” เพราะอยากแก้ครั้งเดียวจบให้อยู่ได้ในระยะยาว และเลือกใช้ กระเบื้องหลังคาเซรามิก เอสซีจี รุ่นเอ็กซ์เซลล่า โมเดิร์น สีโคโค่ บราวน์ ซึ่งมีผิวด้าน เนื่องจากบ้านอยู่ใกล้กับโรงเรียน จึงไม่อยากให้ความเงาของกระเบื้องหลังคาสะท้อนไปรบกวนอาคารเรียน text >ภาพ: ปัญหาการรั่วซึมบริเวณหลังคาคอนกรีตเสริมเหล็ก (Slab) ซึ่งให้ช่างทั่วไปมาแก้ไขแล้ว แต่ก็ยังไม่สามารถแก้ไขอาการรั่วซึมได้ >หลังจากที่เจ้าหน้าที่เข้าไปสำรวจหน้างานแล้ว จึงได้แนะนำให้ทำหลังคาใหม่ครอบทั้งส่วนหลังคาที่มุงกระเบื้องคอนกรีตและหลังคาคอนกรีตเสริมเหล็กโดยรอบ โดยยกหลังคาขึ้นให้ได้ตามมาตรฐานหลังคาของเอสซีจี เพื่อแก้ปัญหาการรั่วซึม โดยการออกแบบและทำโครงหลังคาใหม่นั้น ดำเนินการโดยวิศวกรที่ออกแบบบ้านหลังนี้และผู้รับเหมาที่เจ้าของบ้านจัดหา ซึ่งเจ้าหน้าที่ของเอสซีจีได้เข้าไปดูแลและให้คำแนะนำเป็นระยะๆ หลังจากที่แก้ไขโครงหลังคาแล้วเสร็จก็เข้าสู่ขั้นตอนการมุงหลังคา text >ภาพ: แนวทางแก้ไขปัญหาที่ SCG แนะนำ โดยการทำหลังคาใหม่ครอบทั้งส่วนหลังคาที่มุงกระเบื้องคอนกรีตและหลังคาคอนกรีตเสริมเหล็กโดยรอบ >ระหว่างดำเนินการมุงหลังคานั้นเป็นช่วงฤดูฝน จึงดำเนินการรื้อหลังคาเป็นส่วนๆ โดยจะมุงให้เสร็จภายในวัน และระหว่างจบงานแต่ละวันจะใช้ผ้าใบคลุมหลังคาเพื่อป้องกันน้ำซึมเข้าบ้านอีกชั้นหนึ่ง เจ้าของบ้านจึงยังคงสามารถอาศัยอยู่ในบ้าน ใช้ชีวิตได้อย่างปกติโดยไม่ต้องย้ายออก >นอกจากนี้ยังมีหลังคาส่วนที่พาดผ่านช่องแสงหรือช่องหน้าต่าง เจ้าหน้าที่จึงแนะนำให้ลดขนาดของหน้าต่างหรือช่องแสงลง โดยก่อผนังปิดช่องแสงในบางส่วน รวมถึงช่องแสงที่เป็นกลาสบล็อก ก็ได้แนะนำให้เสริมผนังเบาเสริมขึ้นมา เพื่อให้สามารถติดตั้งครอบผนังได้เช่นกัน text text >ภาพ: ก่อนและหลังการลดขนาดหน้าต่างหรือช่องแสงลง เพื่อให้สามารถติดตั้งครอบผนังได้ text >ภาพ: เสริมผนังเบาในส่วนช่องแสงที่เป็นกลาสบล็อก เพื่อให้ติดตั้งครอบผนังได้ >หลังจากการปรับปรุงหลังคาเสร็จสิ้น คุณสิทธิชัยก็ได้เล่าถึงความประทับใจ ในบริการเปลี่ยนกระเบื้องหลังคาจาก SCG ว่า “ประทับใจที่สุดคือการทำงาน เพราะระหว่างทำการติดตั้งหลังคาจะมี Site Consultant มาคุมงานตลอด นัดหมายทำงานตรงเวลามาก มีทีมช่างพร้อม เครื่องมือพร้อม การรื้อกระเบื้องหลังคาเก่าออกมา ส่งกระเบื้องใหม่ขึ้นไปใช้เครื่องลำเลียงขึ้นลงดูแล้วเป็นทีมงานที่มีประสบการณ์สูง มุงหลังคาใหม่เสร็จแล้วมีความสวยงาม พอใจมาก ใครผ่านมาเห็นก็ชมว่าหลังคาสวย” text text >ภาพ: บ้านคุณสิทธิชัย สมบูรณ์เวชชการ text >ภาพ: ขอขอบคุณ คุณสิทธิชัย สมบูรณ์เวชชการ (CEO บริษัท อ้วยอันโอสถ จำกัด) ที่แชร์ประสบการณ์การใช้บริการเปลี่ยนกระเบื้องหลังคาจาก SCG สนใจ บริการเปลี่ยนกระเบื้องหลังคาจาก SCG คลิก\{.button .newtab} {.centered}
ปัญหาหลังคารั่วกับจุดเสี่ยง 5 ข้อจากการติดตั้งหลังคาที่ไม่ได้มาตรฐาน ซึ่งเจ้าของบ้านควรทำความเข้าใจเพื่อเป็นประโยชน์ในป้องกันแก้ไขหลังคารั่วซึมระยะยาว... > >รู้หรือไม่ว่า บ้านสร้างใหม่ที่ดูแข็งแรงสวยงาม ก็อาจมีจุดเสี่ยงรั่วซ่อนอยู่ ที่เมื่ออยู่อาศัยไปได้สักพัก ก็มีปัญหาหลังคารั่วซึม ซึ่งแท้จริงแล้วเป็นปัญหาที่ป้องกันได้ตั้งแต่เริ่มสร้างบ้านใหม่ โดยการติดตั้งหลังคาอย่างมีมาตรฐาน โดยเฉพาะ 5 จุดเสี่ยงรั่วที่ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญงานติดตั้งหลังคาเป็นพิเศษเพื่อป้องกันไว้ตั้งแต่แรกและช่วยลดโอกาสเกิดปัญหาหลังคารั่วซึม ซึ่ง 5 จุดเสี่ยงรั่วหากติดตั้งหลังคาไม่ได้มาตรฐาน มีดังนี้ Singleimage หลังคาที่มีปัญหารั่วซึม >## 1. โครงหลังคาบ้านไม่ได้มาตรฐาน ทำให้หลังคารั่วซึมได้ >โครงสร้างหลังคามีหน้าที่รับน้ำหนักแผ่นกระเบื้องหลังคาทั้งหมด พร้อมกับทำหน้าที่ยึดผืนหลังคาเข้ากับตัวบ้าน เพื่อป้องกันไม่ให้แผ่นวัสดุหลังคาหลุดปลิวตามแรงลม อีกทั้งสามารถปกป้องผืนหลังคาไม่ให้เกิดปัญหารั่วซึมได้ ไม่ว่าจะเลือกใช้วัสดุชนิดใดทำโครงหลังคา (บ้านปัจจุบันมักเลือกใช้โครงสร้างเหล็กเพราะติดตั้งง่าย แข็งแรง ทนทาน) ก็ต้องอาศัยการคำนวณทางวิศวกรรมอย่างละเอียดรอบคอบ เลือกใช้ช่างที่มีประสบการณ์และความชำนาญงานประกอบติดตั้งโครงหลังคา โดยติดตั้งอย่างมีมาตรฐาน ในระยะต่างๆ ตรงตามผู้ผลิตกำหนด และเหมาะสมกับวัสดุมุงแต่ละประเภท Singleimage รอยช้ำน้ำบนฝ้าจากปัญหาหลังคารั่วซึม >ภาพ: น้ำรั่วจากหลังคา ซึมลงมาถึงฝ้าเพดาน ที่อาจส่งผลให้เกิดความเสียหายต่างๆ ภายในบ้านได้ >ตัวอย่างปัญหาของการสร้างโครงหลังคาไม่ได้มาตรฐานที่มักพบได้บ่อย เช่น ประกอบจันทันไม่ได้ระดับ ส่งผลให้มุงกระเบื้องได้ระดับไม่เท่ากัน กระเบื้องจึงกระเดิดทำให้น้ำสามารถไหลซึมเข้ามาได้ หรือคุณภาพการเชื่อมเหล็กที่ไม่สนิท การทาสีกันสนิมที่โครงเหล็กด้วยมือ ก็อาจทำให้เกิดสนิมและผุพังก่อนเวลา รวมถึงข้อผิดพลาดที่เป็นจุดเล็กๆ ก็อาจเกิดเป็นปัญหาใหญ่ตามมาในภายหลังได้ เจ้าของบ้านจึงควรตรวจสอบว่าขนาดเหล็กที่ใช้ในแต่ละจุดตรงสเป็กหรือไม่ ความหนาเท่าไหร่ ต้องมีมาตรฐานรับรองเพื่อยืนยันคุณภาพที่เชื่อถือได้ อีกทั้งต้องมีการเชื่อมประกอบและทาสีกันสนิมที่มีคุณภาพ Singleimage สาเหตุหลังคารั่วจากการประกอบจันทันที่ไม่ได้ระดับ >ภาพ: ตัวอย่างการประกอบจันทันที่ไม่ได้ระดับ อาจทำให้เกิดปัญหาใหญ่ตามมาในภายหลังได้ > บริการติดตั้งหลังคาสำหรับบ้านใหม่ โดยทีมช่าง SCG คลิก\{.button .newtab} {.centered} > หลากบริการซ่อมแซม ปรับปรุงหลังคา โดยผู้เชี่ยวชาญ คลิก\{.button .newtab} {.centered} > >## 2. องศาของหลังคาไม่เหมาะสม ทำให้หลังคารั่วซึม >เมืองไทยอยู่ในเขตร้อนชื้น ไม่ว่าภาคไหนก็จะต้องเจอกับฝน ดังนั้นการติดตั้งหลังคาจึงต้องคำนึงถึงองศาความลาดเอียงที่พอเหมาะ เพื่อให้น้ำฝนไหลระบายลงมาได้ง่าย ซึ่งองศาหลังคาที่น้อยเกินไป นอกจากจะทำให้น้ำและความชื้นสะสมอยู่บนหลังคานานขึ้นที่ทำให้เกิดเชื้อราได้ง่ายแล้ว ยังมีโอกาสทำให้น้ำฝนไหลย้อนกลับเข้าไปใต้ชายคาอีกด้วย >หลักการออกแบบหลังคาที่ป้องกันการรั่วซึมได้ดีจะใช้หลังคาทรงสูงที่มีความชันตั้งแต่ 30 องศาขึ้นไป ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับประเภทวัสดุที่ใช้มุงหลังคาและข้อกำหนดของหลังคาแต่ละชนิดด้วย หากเจ้าของบ้านต้องการหลังคาบ้านที่มีความลาดชันน้อย เพื่อให้รูปทรงหรือหน้าตาบ้านดูโมเดิร์นทันสมัย การปรับองศาความชันหลังคาที่ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่วัสดุหลังคานั้นๆ จะรองรับได้ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปรึกษาสถาปนิก วิศวกร หรือผู้เชี่ยวชาญ เพื่อคำนวณระยะซ้อนทับของแผ่นหลังคา ก่อนจะก่อสร้างจริง เพื่อป้องกันปัญหาหลังคารั่วซึม Singleimage หลังคาบ้านที่ความชันหลังคาน้อยเกินทำให้รั่วซึมได้ >ภาพ: ตัวอย่างหลังคาบ้านที่มีความลาดชันน้อยเกินไปทำให้เกิดปัญหาหลังคารั่วซึม >## 3. ระยะแปห่างเกินไป หลังคาแอ่นตัวจนกระเบื้องเผยอรั่วซึม >หลายคนอาจสงสัยว่า การติดตั้งโครงหลังคาที่วางระยะแปห่างเกินไปหรือมุงกระเบื้องไม่ได้แนวตรง จะทำให้เกิดปัญหาหลังคารั่วซึมได้อย่างไร? อันดับแรกต้องทำความเข้าใจก่อนว่า “แป” เป็นชิ้นส่วนสำคัญของโครงสร้างหลังคา ที่ทำหน้าที่รับน้ำหนักกระเบื้องหลังคาทั้งผืน และหากติดตั้ง “จันทัน” ที่มีระยะห่างมากเกินไป จะทำให้แปต้องแบกรับน้ำหนักมากขึ้นไปด้วย ทำให้แปแอ่นตัวหรือเกิดการยุบตัวลงของหลังคาได้ ซึ่งจะไปดันกระเบื้องที่เคยเรียงตัวกันสนิทสูงโก่งขึ้นมาจนเกิดช่องว่าง ส่งผลให้เมื่อมีฝนตกลมแรงน้ำฝนจะสามารถไหลย้อนเข้ามาที่ส่วนใต้หลังคาได้ >การป้องกันปัญหาตั้งแต่เริ่มแรก คือ ต้องให้วิศวกรคำนวณน้ำหนักของหลังคา ความยาวของวัสดุมุง ให้สัมพันธ์กับขนาดของแปอย่างเหมาะสม ไม่ให้แปต้องรองรับน้ำหนักที่มากเกินไป ซึ่งต้องเป็นไปตามคำแนะนำในการใช้งานของวัสดุมุงหลังคาแต่ละรุ่น เช่น กระเบื้องคอนกรีต จะกำหนดให้ระยะแปตัวสุดท้ายล่างสุดห่างจากไม้เชิงชายประมาณ 34 – 34.5 ซม. ระยะช่วงแปที่เหลือต้องเฉลี่ยให้เท่าๆ กันประมาณ 31-33 ซม. หรือวัสดุเมทัลชีท แผ่นหนา 0.33-0.35 มม. ถ้าวางแปห่าง 1.50 เมตร จะกว้างไป ควรจะวางในระยะ 1.00-1.20 ม. เป็นต้น Singleimage หลังคาแอ่นตัวหรือหลังคาเบี้ยวจากระยะแปที่ห่างเกินไป เป็นสาเหตุของการรั่วซึม >ภาพ: ตัวอย่างหลังคาแอ่นตัวหรือหลังคาเบี้ยวจากระยะแปที่ห่างเกินไป > บริการติดตั้งหลังคาสำหรับบ้านใหม่ โดยทีมช่าง SCG คลิก\{.button .newtab} {.centered} > หลากบริการซ่อมแซม ปรับปรุงหลังคา โดยผู้เชี่ยวชาญ คลิก\{.button .newtab} {.centered} > >## 4. ติดตั้งสันหลังคา ตะเข้สัน ไม่ได้มาตรฐาน >ส่วนของหลังคาที่พบว่าเกิดการรั่วซึมบ่อยๆ คือ บริเวณรอยต่อระหว่างผืนหลังคาแต่ละด้าน โดยเฉพาะบริเวณสันหลังคาและตะเข้สัน จึงต้องมีวัสดุครอบเป็นตัวปิดรอยต่อเอาไว้ ซึ่งช่างติดตั้งหลังคาส่วนใหญ่จะเลือกใช้วิธียึดครอบสันหลังคาแบบเปียกคือใช้ “ปูนซีเมนต์ผสมทรายและน้ำ” เป็นตัวยึดครอบ Singleimage รอยแตกร้าวบริเวณหลังคา สาเหตุของการรั่วซึม >ภาพ: หลังคามักมีรอยแตกร้าว รั่วซึมบริเวณสันหลังคา และตามจุดรอยต่อ >ด้วยคุณสมบัติของปูนซีเมนต์ จะช่วยจะยึดติดกับผิวแผ่นหลังคาและครอบติดกันได้และป้องกันการรั่วได้หากช่างฝีมือดี แต่ถ้าติดตั้งไม่ได้มาตรฐาน เช่น โบกปูนล้นเข้าไปในตะเข้สัน หรือติดตั้งปูนใต้ครอบบางเกินไปและล้นที่หัวกระเบื้อง การติดตั้งครอบหลังคาที่ไม่แน่นหนา ยึดครอบไม่สนิท ติดตั้งครอบสันหลังคาไม่ได้ระดับ หรือตัดกระเบื้องร่องรางและตะเข้สันไม่ได้แนวตรง จะทำให้เกิดช่องว่างที่จะเป็นช่องทางให้น้ำซึมและรั่วเข้าสู่ตัวบ้านได้ Singleimage ติดตั้งปูนใต้ครอบบางเกินไปและล้นที่หัวกระเบื้องหลังคาจนรั่วซึม >ภาพ: ตัวอย่างการติดตั้งปูนใต้ครอบบางเกินไปและล้นที่หัวกระเบื้อง >อีกกรณีที่พบได้บ่อยคือ ปูนเกิดการเสื่อมสภาพจากการหดตัวของวัสดุ ซึ่งเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ จึงเกิดรอยแตกร้าวขึ้น เมื่อมีฝนตกลมกระโชกแรง จะพัดน้ำฝนให้ย้อนขึ้นมาได้ ส่งผลให้น้ำซึมเข้าตามรอยแตกของปูนที่อุดครอบสันหลังคา Singleimage สาเหตุหลังคารั่วตัดกระเบื้องร่องราง ตะเข้สันที่ไม่ได้แนวตรง >ภาพ: ตัวอย่างการตัดกระเบื้องร่องราง และตะเข้สันที่ไม่ได้แนวตรง > บริการติดตั้งหลังคาสำหรับบ้านใหม่ โดยทีมช่าง SCG คลิก\{.button .newtab} {.centered} > หลากบริการซ่อมแซม ปรับปรุงหลังคา โดยผู้เชี่ยวชาญ คลิก\{.button .newtab} {.centered} > >## 5. หลังคารั่วซึมจากร่่องรอยบริเวณอุปกรณ์ยึด >การเจาะยึดกระเบื้องนั้นมีโอกาสเกิดช่องหรือรูโหว่ได้ โดยเฉพาะในวัสดุมุงประเภทที่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ยึดอย่าง สกรู ตะปูเกลียว สำหรับแผ่นกระเบื้องที่เจาะรูสกรูผิดพลาดไม่ตรงแปแล้วไม่ได้อุดเก็บงานให้เรียบร้อย ก็เป็นหนึ่งในสาเหตุของการรั่วซึม ซึ่งในขั้นตอนนี้ควรตรวจเช็คตั้งแต่ยังไม่ติดตั้งฝ้าเพดาน มิเช่นนั้นแล้วจะตรวจสอบได้ยาก อย่างไรก็ตามวัสดุที่ใช้งานไปนานๆ ก็ย่อมเสื่อมสภาพลงตามกาลเวลา นอกจากนี้ ตัววัสดุที่มีหน้าที่ป้องกันน้ำเข้าตามรอยยึดก็เช่นกัน หากเป็นสนิม หลุด ก็ทำให้มีรูรั่วขึ้นได้ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเลือกวัสดุยึดที่มีคุณภาพสูง เพื่อความแข็งแรงและป้องกันสนิมได้ Singleimage การเจาะยึดกระเบื้องหลังคาที่ถูกวิธี ลดความเสี่ยงรั่วซึม >ภาพ: การเจาะยึดกระเบื้อง ควรเลือกใช้วัสดุยึดที่มีคุณภาพ มีการเจาะยึดที่ได้มาตรฐาน และอุดเก็บงานให้เรียบร้อย >จะเห็นว่า การจะสร้างบ้านใหม่สักหลังนั้นมีรายละเอียดมากมายที่ต้องใส่ใจ หากพลาดเพียงจุดเดียว ก็อาจเกิดปัญหาหลังคารั่วบานปลายตามมาได้ หากต้องการบ้านที่ไม่มีปัญหา หลังคาสวยงามและใช้งานได้ยาวนาน นอกเหนือจากจะมีสถาปนิกที่ออกแบบบ้านได้ตามต้องการ เลือกใช้วัสดุที่มีคุณภาพ สวยงาม คงทนแล้ว สิ่งที่เจ้าของบ้านมือใหม่ไม่ควรมองข้ามคือ การเลือกทีมช่าง ผู้รับเหมาที่มีคุณภาพ เหมาะสมกับงาน โดยเฉพาะงานหลังคาซึ่งเป็นงานที่ต้องใช้ความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง ไม่ใช่ช่างคนไหนๆ ก็สามารถทำได้ ดังนั้นต้องเลือกทีมช่างติดตั้งหลังคาที่มีความชำนาญมากประสบการณ์ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าได้งานหลังคาคุณภาพ ยืดอายุหลังคาให้สวยงามยาวนาน Singleimage ทีมช่างติดตั้งหลังคามืออาชีพจากเอสซีจี SCG >ภาพ: ทีมช่างติดตั้งหลังคามืออาชีพจากเอสซีจี สร้างบ้านใหม่ เลือกใช้บริการมุงหลังคาครบวงจรจากเอสซีจี หลังคารั่ว ซ่อมหลังคา ซ่อมหลังคารั่ว ซ่อมแซมหลังคารั่ว ช่างซ่อมหลังคา >## หมดกังวลหลังคารั่วซึมเมื่อสร้างบ้านใหม่ เลือกใช้บริการมุงหลังคาครบวงจร จากเอสซีจี >- ติดตั้งโดยทีมช่างมืออาชีพ ที่เชี่ยวชาญด้านหลังคาโดยเฉพาะ พร้อมเทคโนโลยีการติดตั้ง เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการทำงาน ติดตั้งได้รวดเร็ว และลดความเสียหายของกระเบื้องหลังคา >- ควบคุมมาตรฐานการติดตั้งทุกขั้นตอน ดูแลทุกรายละเอียดตั้งแต่ต้นจนจบอย่างใกล้ชิด เริ่มที่ขั้นตอนการออกแบบ เลือกสินค้าคุณภาพ วางแผนติดตั้ง และรายงานความคืบหน้าให้เจ้าของบ้านทราบทุกระยะ >- มั่นใจด้วยการรับประกันการติดตั้ง สบายใจได้ทั้งในเรื่องความสวยงามและความคงทนของหลังคาหลังส่งมอบงาน >อ่านเพิ่มเติม: รู้ทันปัญหาหลังคารั่วซึม ตอนที่ 1 : จุดเสี่ยงหลังคารั่วตามรอยต่อ >อ่านเพิ่มเติม: รู้ทันปัญหาหลังคารั่วซึม ตอนที่ 2 : จุดเสี่ยงหลังคารั่วบนผืนหลังคา > บริการติดตั้งหลังคาสำหรับบ้านใหม่ โดยทีมช่าง SCG คลิก\{.button .newtab} {.centered} > หลากบริการซ่อมแซม ปรับปรุงหลังคา โดยผู้เชี่ยวชาญ คลิก\{.button .newtab} {.centered} >
เรื่องที่เจ้าของบ้านควรรู้ก่อนจะเลือกติดฉนวนกันความร้อน เอสซีจี รุ่น STAY COOL เพื่อลดความร้อนในบ้าน ให้ตอบโจทย์การทำบ้านเย็นได้อย่างคุ้มค่า >เป็นที่รู้กันว่า อากาศร้อนอบอ้าวในบ้านทุกวันนี้สร้างความเดือดเนื้อร้อนกายแก่ผู้อาศัยมิใช่น้อย หลายคนยอมจ่ายค่าไฟแสนแพงเพื่อเปิดแอร์คลายร้อน ในขณะเดียวกัน การติดฉนวนกันความร้อนบนฝ้าเพดาน อย่างฉนวนกันความร้อน เอสซีจี รุ่น STAY COOL หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า “ฉนวนกันความร้อน STAY COOL” ก็เป็นอีกวิธีง่ายๆ ที่ช่วยลดความร้อนในบ้านแบบไม่ต้องพึ่งอุปกรณ์ไฟฟ้า ทั้งยังไม่เป็นอันตรายด้วยเนื้อฉนวนที่เป็นใยแก้ว ไม่ลามไฟ และไม่ใช่สารก่อมะเร็ง อย่างไรก็ตาม ก่อนจะตัดสินใจสั่งซื้อฉนวนกันความร้อน STAY COOL มีเรื่องที่เจ้าของบ้านควรคำนึงดังต่อไปนี้ >## 1) ระยะเหนือฝ้าสูงพอไหม ? >บ้านที่จะติดตั้งฉนวนกันความร้อน STAY COOL บนฝ้าเพดานนั้น ควรมีระยะเหนือฝ้าไม่ต่ำกว่า 1 เมตร เพื่อให้ช่างสามารถขึ้นไปติดตั้งฉนวนได้ ฉนวนกันความร้อน แผ่นฉนวนกันความร้อน ฉนวนกันความร้อนหลังคา ฉนวนกันความร้อนใต้หลังคา ติดฉนวนกันความร้อน ฉนวนกันความร้อนบนฝ้า ติดตั้งฉนวนกันความร้อน ปูฉนวนกันความร้อนบนฝ้า ภาพ: การทำงานของช่างปูฉนวนบริเวณพื้นที่เหนือฝ้าเพดาน บริการติดตั้งฉนวนกันความร้อน STAYCOOL คลิก\{.button .newtab} {.centered} >## 2) รูปแบบฝ้าเพดานบ้านเราเหมาะจะติดฉนวนหรือไม่ ? >ฉนวนกันความร้อน STAY COOL จะเหมาะกับการปูบนฝ้าฉาบเรียบและฝ้าทีบาร์ โดยติดตั้งตรงๆ ขนานกับพื้น (ถ้าบ้านเก่าแล้วลองเช็คโครงคร่าวฝ้ากันเสียหน่อย ว่าสภาพยังดีพอจะรับน้ำหนักฉนวนได้หรือไม่) ส่วนบ้านที่ตีฝ้าลาดเอียงตามหลังคาจะต้องมาดูกันอีกทีว่าติดตั้งได้หรือไม่ หากฝ้าลาดเอียงชันมาก หรือเป็นบ้านที่สร้างเสร็จอยู่อาศัยไปแล้ว บางทีก็ไม่สามารถติดตั้งได้ แนะนำให้ติดต่อทีมช่างมาสำรวจก่อนเพื่อความแน่ใจ > บ้านเย็น ฉนวนกันความร้อน แผ่นฉนวนกันความร้อน ฉนวนกันความร้อนหลังคา ฉนวนกันความร้อนใต้หลังคา ติดฉนวนกันความร้อน ฉนวนกันความร้อนบนฝ้า ติดตั้งฉนวนกันความร้อน ปูฉนวนกันความร้อนบนฝ้า ภาพ: ฝ้าเพดานฉาบเรียบ ตีแนวตรงขนานกับพื้น เหมาะกับการติดฉนวนกันความร้อน เอสซีจี รุ่น STAY COOL > บ้านเย็น ฉนวนกันความร้อน แผ่นฉนวนกันความร้อน ฉนวนกันความร้อนหลังคา ฉนวนกันความร้อนใต้หลังคา ติดฉนวนกันความร้อน ฉนวนกันความร้อนบนฝ้า ติดตั้งฉนวนกันความร้อน ปูฉนวนกันความร้อนบนฝ้า >ภาพ: เพดานติดตั้งฝ้าทีบาร์ ตีแนวตรงขนานกับพื้น เหมาะกับการติดฉนวนกันความร้อน เอสซีจี รุ่น STAY COOL บ้านร้อน ฉนวนกันความร้อน แผ่นฉนวนกันความร้อน ฉนวนกันความร้อนหลังคา ฉนวนกันความร้อนใต้หลังคา ติดฉนวนกันความร้อน ฉนวนกันความร้อนบนฝ้า ติดตั้งฉนวนกันความร้อน ปูฉนวนกันความร้อนบนฝ้า >ภาพ: เพดานที่มีฝ้าลาดเอียงตามหลังคา ควรให้ช่างตรวจสอบดูว่าสามารถติดตั้งฉนวนกันความร้อน เอสซีจี รุ่น STAY COOL ได้หรือไม่ >อ่านเพิ่มเติม: ฝ้าเอียงตามหลังคา ติดฉนวนกันความร้อน STAY COOL ได้ไหม ? บริการติดตั้งฉนวนกันความร้อน STAYCOOL คลิก\{.button .newtab} {.centered} >## 3) เลือกฉนวนหนาเท่าไหร่ดี ? >หากมั่นใจว่าระยะเหนือฝ้ามากพอ และเป็นฝ้าแบบที่ติดตั้งฉนวนได้ ถัดมาจะเป็นเรื่องของความหนาฉนวนที่ต้องเลือก ระหว่าง 3 นิ้ว กับ 6 นิ้ว โดยคุณสมบัติแล้ว ฉนวนยิ่งหนาจะยิ่งกันความร้อนได้ดี (ดูจากตารางจะเห็นว่าฉนวนกันความร้อน STAY COOL หนา 6 นิ้ว มีค่าต้านทานความร้อนที่สูงกว่า) ตรงนี้อาจเลือกตามที่เจ้าของบ้านคิดว่าคุ้มค่าและเหมาะกับงบประมาณที่เตรียมไว้ (กรณีเลือกฉนวนหนา 6 นิ้ว ควรให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจเช็คโครงคร่าวฝ้าว่าแข็งแรงเหมาะสมหรือไม่ ทั้งเรื่องของสภาพการใช้งาน วัสดุ และมาตรฐานการติดตั้ง) ฉนวนกันความร้อนSTAYCOOL ฉนวนกันความร้อน แผ่นฉนวนกันความร้อน ฉนวนกันความร้อนหลังคา ฉนวนกันความร้อนใต้หลังคา ติดฉนวนกันความร้อน ฉนวนกันความร้อนบนฝ้า ติดตั้งฉนวนกันความร้อน ปูฉนวนกันความร้อนบนฝ้า >ภาพ: ตารางแสดงค่ากันความร้อนและรายละเอียดต่างๆ ของ ฉนวนกันความร้อน เอสซีจี รุ่น STAY COOL >## 4) ต้องใช้ฉนวนทั้งหมดกี่ม้วน ? ฉนวนกันความร้อน เอสซีจี รุ่น STAY COOL จำนวน 1 ม้วนใช้ปูได้ 2.4 ตารางเมตร ถ้าจะหาคำตอบว่าต้องซื้อกี่ม้วน ก็ให้วัดขนาดพื้นที่ฝ้าชั้นบนสุดที่จะปูฉนวน (ไม่รวมชายคา) ว่ามีกี่ตารางเมตร หารด้วย 2.4 โดยปัดเศษขึ้นเป็นจำนวนเต็ม ก็จะได้จำนวนม้วนฉนวนที่ต้องสั่งซื้อ (เช่น จะปูฉนวนเป็นพื้นที่ 100 ตารางเมตร หารด้วย 2.4 จะได้ 41.67 แสดงว่าต้องซื้อฉนวน 42 ม้วน เป็นต้น) พื้นที่ติดฉนวนSTAYCOOL ฉนวนกันความร้อน แผ่นฉนวนกันความร้อน ฉนวนกันความร้อนหลังคา ฉนวนกันความร้อนใต้หลังคา ติดฉนวนกันความร้อน ฉนวนกันความร้อนบนฝ้า ติดตั้งฉนวนกันความร้อน ปูฉนวนกันความร้อนบนฝ้า >ภาพ: สูตรคำนวณคร่าวๆ เพื่อกะจำนวนฉนวนกันความร้อน เอสซีจี STAY COOL ที่ควรสั่งซื้อ >นอกจากนี้ ยังมีอุปกรณ์เพิ่มเติม สำหรับติดตั้งฉนวนที่ควรซื้อเพิ่ม คือ >- เครื่องเย็บลวดขนาดใหญ่ (เบอร์ 35 ขึ้นไป) สำหรับปิดหัวท้ายฉนวนเพื่อความเรียบร้อยแข็งแรง แนะนำเย็บประมาณ 5 ตำแหน่ง ต่อปลายฉนวน 1 ด้าน >- เทปอะลูมิเนียมฟอยล์ ใช้ซ่อมรอยฉีกขาดบนอะลูมิเนียมฟอยล์ (สามารถใช้ปิดหัวท้ายฉนวนได้ด้วย แต่อาจจะสะดวกรวดเร็วไม่เท่าใช้เครื่องเย็บลวด) และใช้เก็บขอบกรณีที่ต้องเจาะฉนวนเพื่อเว้นช่องโคมไฟดาวน์ไลท์ โดยเทป 1 ม้วน ยาว 4.5 เมตร ใช้เก็บขอบช่องโคมไฟดาวน์ไลท์ได้ประมาณ 5 ดวง ฉนวนSTAYCOOLดาวน์ไลท์ ฉนวนกันความร้อน แผ่นฉนวนกันความร้อน ฉนวนกันความร้อนหลังคา ฉนวนกันความร้อนใต้หลังคา ติดฉนวนกันความร้อน ฉนวนกันความร้อนบนฝ้า ติดตั้งฉนวนกันความร้อน ปูฉนวนกันความร้อนบนฝ้า >ภาพ: การเจาะฉนวนเว้นช่องโคมไฟดาวน์ไลท์ เก็บขอบด้วยเทปอะลูมิเนียมฟอยล์ บริการติดตั้งฉนวนกันความร้อน STAYCOOL คลิก\{.button .newtab} {.centered} >## 5) ซื้อฉนวนอย่างเดียว กับซื้อฉนวนพร้อมบริการติดตั้ง แบบไหนดีกว่า ? >การสั่งซื้อฉนวนกันความร้อน STAY COOL ไม่ว่าจะเป็นจากร้านค้าปลีก หรือร้านค้าออนไลน์ สามารถเลือกได้ว่าจะซื้อฉนวนเดี่ยวๆ หรือซื้อฉนวนพ่วงบริการติดตั้งด้วย หากมีช่างที่เชื่อใจได้ หรือเป็นบ้านที่กำลังสร้างอยู่ อาจเลือกซื้อเฉพาะฉนวนไปติดตั้งบนฝ้าเพดานเอง แต่สำหรับบ้านที่อยู่อาศัยไปแล้วและยังไม่รู้ว่าจะหาช่างที่ไหน การเลือกซื้อฉนวนพร้อมบริการติดตั้งก็เป็นทางเลือกที่สะดวก ฉนวนSTAYCOOLพร้อมติดตั้ง ฉนวนกันความร้อน แผ่นฉนวนกันความร้อน ฉนวนกันความร้อนหลังคา ฉนวนกันความร้อนใต้หลังคา ติดฉนวนกันความร้อน ฉนวนกันความร้อนบนฝ้า ติดตั้งฉนวนกันความร้อน ปูฉนวนกันความร้อนบนฝ้า >ภาพ: การทำงานของช่างขณะให้บริการติดตั้ง ฉนวนกันความร้อน เอสซีจี รุ่น STAY COOL >ขอทิ้งท้ายก่อนจบว่า การใช้ฉนวนกันความร้อน เอสซีจี รุ่น STAY COOL ที่ช่วยให้บ้านเย็นขึ้นได้อย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพนั้น ต้องหมั่นหาทางระบายอากาศออกจากบ้านด้วย เนื่องจากภายในบ้านเองก็มีความร้อนเกิดขึ้น หากไม่ปล่อยระบายออกไปจะยิ่งร้อนอบอ้าว ทำนองว่าเมื่อฉนวนทำหน้าที่กั้นความร้อนไม่ให้ผ่านเข้าบ้านได้ อากาศร้อนในบ้านเองก็ถูกกักไม่ให้ออกเช่นกัน ดังนั้น การระบายอากาศที่ดีจึงเป็นเรื่องสำคัญมากสำหรับบ้านที่ติดฉนวนกันความร้อน >อ่านเพิ่มเติม: ฉนวนกันความร้อน STAY COOL ใช้ได้กี่ปี หากหมดอายุการใช้งานต้องทำอย่างไร บริการติดตั้งฉนวนกันความร้อน STAYCOOL คลิก\{.button .newtab} {.centered}
รีวิวแบ่งปันประสบการณ์แก้ปัญหาบ้านร้อน จากผู้ใช้บริการติดตั้งฉนวนกันความร้อน SCG รุ่น STAY COOL เปลี่ยนพื้นที่ชั้นบนซึ่งร้อนจัดในช่วงกลางวัน กลายเป็นพื้นที่ในบ้านเย็น สามารถนั่งผ่อนคลายได้ตลอดเวลา >แดดอันร้อนแรงทำให้ชั้นบนสุดของบ้านร้อนระอุในเวลากลางวัน ตัวช่วยอย่างเครื่องปรับอากาศ บางครั้งก็ช่วยได้ไม่มากทั้งยังสิ้นเปลืองค่าไฟอีกด้วย นับเป็นเหตุการณ์ที่ใครหลายๆ คนต้องเจอ เช่นเดียวกันกับประสบการณ์ในอดีตของคุณชินฤทธิ์ วัชรเศรษฐกุล หรือ คุณทอม ผู้ซึ่งตัดสินใจแก้ปัญหาบ้านร้อน โดยติดตั้งฉนวนกันความร้อน SCG รุ่น STAY COOL ฉนวนกันความร้อนSCG >ภาพ: ฉนวนกันความร้อน SCG รุ่น STAY COOL เป็นฉนวนใยแก้วซึ่งมีคุณสมบัติป้องกันความร้อน ปลอดภัย ไม่เป็นสารก่อมะเร็ง และไม่ลามไฟ หุ้มด้วยวัสดุดุอะลูมิเนียมฟอยล์ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยสะท้อนรังสีความร้อนได้ด้วย >คุณทอมเล่าว่า บ้านเดี่ยวย่านรามอินทราขนาด 55 ตารางวา หลังนี้ อาศัยกันมา 30-40 ปี เคยรีโนเวทครั้งนึงเมื่อนานมาแล้ว แต่ก็ไม่ได้มีการแก้ปัญหาบ้านร้อนอย่างจริงจัง อย่างช่วงหน้าร้อนเดือน มี.ค.-พ.ค. พื้นที่ชั้น 2 ซึ่งรับความร้อนจากหลังคาบ้านโดยตรง ตอนกลางวันขึ้นไปอยู่ไม่ได้เลย เปิดแอร์ก็ไม่เย็น เคยลองเพิ่มขนาด BTU แล้วยังเอาไม่อยู่ กลายเป็นว่าในตอนกลางวัน ทุกคนในบ้านจะต้องหลบร้อนหนีลงมาชั้นล่างกันหมด พอช่วงค่ำขึ้นไปเปิดแอร์ในห้องนอน ถึงจะไม่ร้อนจัดแต่ก็รู้สึกได้ว่าความร้อนอบอ้าวยังคงหลงเหลืออยู่ ต้องเปิดแอร์สักพักกว่าจะเย็น >เคยเห็นฉนวนกันความร้อน SCG รุ่น STAY COOL จากในอินเตอร์เน็ตบ้าง แต่ที่หันมาสนใจอยากลองใช้เป็นตัวเลือกเพื่อแก้ปัญหาบ้านร้อนครั้งนี้ เพราะเพื่อนเล่าให้ฟังว่าใช้บริการติดตั้งฉนวนกันความร้อนของ SCG ไปเมื่อ 2-3 เดือนที่แล้ว ปรากฏว่าบ้านเย็นขึ้นมาก พอเห็นผลตอบรับดีเลยเริ่มหาข้อมูลจาก Facebook อย่างจริงจัง แล้วเพื่อนก็แนะนำให้ติดต่อ SCG Experience เพราะมีทั้งบริการสำรวจและติดตั้งเสร็จสรรพ ดูแล้วน่าจะสะดวก จึงติดต่อขอนัดวันสำรวจทันที >ในวันสำรวจ มีการเปิดช่อง Service บนฝ้าขึ้นไปสำรวจโครงคร่าวฝ้าเพดานและวัดขนาดพื้นที่ เสร็จสิ้นในครึ่งชั่วโมง หลังจากนั้นก็ได้รับรายงานสรุปผลออกมาว่า โครงคร่าวฝ้าเพดานยังแข็งแรงดี รองรับฉนวนได้ทั้งความหนา 3 นิ้ว และ 6 นิ้ว สุดท้ายก็ตัดสินใจเลือกฉนวนกันความร้อน SCG รุ่น STAY COOL ขนาดความหนา 3 นิ้ว ตามที่ตั้งใจไว้แต่แรก เพราะเห็นว่าโครงสร้างบ้านก็มีอายุพอสมควรแล้ว เลยอยากได้ฉนวนที่น้ำหนักน้อยกว่าเพื่อความสบายใจ ฉนวนกันความร้อนSCG >ภาพ: ฉนวนกันความร้อน SCG รุ่น STAY COOL ขนาด 6 นิ้ว (ซ้าย) และ 3 นิ้ว (ขวา) >พอทราบผลตรวจสอบ และราคาฉนวนพร้อมบริการติดตั้งเรียบร้อยแล้ว ก็นัดวันติดตั้งเลย ได้คิวเป็นช่วงต้นเดือนเมษายน ทันใช้งานในหน้าร้อนนี้พอดี ในวันติดตั้งทาง SCG จะจัดส่งฉนวนมาวางเตรียมไว้ให้ก่อน จากนั้นอีก 1 ชั่วโมงถัดมา ทีมช่างประมาณ 7 คน ก็เข้ามาดำเนินการติดตั้ง กระบวนการทั้งหมดนี้ใช้เวลาประมาณครึ่งวันก็เสร็จ ฉนวนกันความร้อนSCG ฉนวนกันความร้อนSCG >ภาพ: ฉนวนกันความร้อน SCG รุ่น STAY COOL ที่ติดตั้งบนฝ้าเพดานเรียบร้อยแล้ว ฉนวนกันความร้อนSCG >ภาพ: บริเวณที่เป็นส่วนต่อเติม เป็นส่วนของบริการเสริมซึ่งมีการรื้อกระเบื้องหลังคาเพื่อจัดวางฉนวนบนฝ้าเพดาน >ถึงแม้จะอยู่ในช่วงเวลาที่มีสถานการณ์โรคระบาดซึ่งต้องควบคุมเป็นพิเศษ แต่ก็สบายใจที่จะให้ช่างเข้ามาทำงานในบ้าน เพราะไม่ว่าจะเป็นวันสำรวจหรือติดตั้ง ทีมงานของเอสซีจีมีการสวมหน้ากากป้องกัน สวมถุงมือ ถุงเท้ามิดชิด และรักษาระยะห่างตามความเหมาะสม การทำงานก็เรียบร้อยดี มีการคลุมพื้นบันไดป้องกันไม่ให้พื้นเป็นรอย ระหว่างทำงาน หัวหน้าช่างจะคอยถ่ายรูปงานติดตั้งบนฝ้าให้ดู และที่ประทับใจอีกอย่างคือ พองานติดตั้งบนฝ้าเสร็จเรียบร้อย ช่างทุกคนที่ลงมาจากฝ้าเพดานจะใช้ถุงพลาสติกคลุมเท้าเพื่อป้องกันไม่ให้ฝุ่นบนฝ้าที่ติดมากับถุงเท้า ร่วงหล่นเปรอะเปื้อนพื้นในบ้าน นับว่าใส่ใจทุกรายละเอียดเป็นอย่างดี ฉนวนกันความร้อนSCG >ภาพ: การแต่งกายของทีมงานจาก เอสซีจี ในวันติดตั้ง >หลังจากติดฉนวนกันความร้อน SCG รุ่น STAY COOL ไปแล้วรู้สึกถึงความแตกต่างอย่างมาก ชั้นบนของบ้านที่เคยอยู่กลางวันไม่ได้ ตอนนี้อยู่ได้สบาย แม้จะเป็นเดือนเมษาสัก 11 โมง หรือเที่ยง เปิดแอร์แค่10 นาทีก็เย็นแล้ว (ถ้าไม่มีฉนวนต่อให้เปิดแอร์นานเป็นชั่วโมงก็ไม่ได้ผล) วันไหนฝนตกใช้แค่พัดลมก็เย็นสบายไม่ต้องเปิดแอร์ด้วยซ้ำ ลองหันมาดูเทอร์โมมิเตอร์บนผนัง ก่อนติดฉนวนอุณหภูมิเคยอยู่ที่ 38 องศา ในเวลากลางวัน พอติดฉนวนแล้วเหลือแค่ 33-34 องศา ลดไปประมาณ 4 องศาเลยทีเดียว* (*อุณหภูมิแต่ละสถานที่อาจเปลี่ยนแปลงไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับปัจจัยแวดล้อม) ฉนวนกันความร้อนSCG >ภาพ: เทอร์โมมิเตอร์แสดงอุณหภูมิภายในห้อง (ช่วงเวลาประมาณ 11:00 น.) หลังจากใช้บริการติดตั้งฉนวน >รู้สึกว่าบริการติดตั้งฉนวนกันความร้อน SCG รุ่น STAY COOL ครั้งนี้ เทียบกับเงินที่จ่ายนับว่าไม่แพง ตัวฉนวนใช้งานได้ยาวนานเป็นสิบปี บริการดีมีมาตรฐาน ติดต่อประสานงานง่ายทั้งทาง Line และอีเมลล์ และพอดีว่าช่วงที่รับบริการมีโปรโมชั่นผ่อน 0% จากบัตรเครดิตซึ่งตรงกับเงื่อนไข ทำให้สะดวกในการชำระเงินอีกด้วย สำหรับเจ้าของบ้านที่กำลังหาทางแก้ปัญหาบ้านร้อน อยากให้ลองพิจารณาบริการติดตั้งฉนวนกันความร้อน SCG รุ่น STAY COOL เพราะจากประสบการณ์ เห็นว่าคุ้มค่ากับการลงทุน พอบ้านเย็นลงก็ประหยัดทั้งค่าไฟ ทั้งยังได้สุขภาพจิตและคุณภาพชีวิตที่ดี เลยอยากแนะนำเป็นทางเลือกครับ สนใจฉนวนกันความร้อน STAY COOL พร้อมบริการติดตั้ง คลิก\{.button .newtab} {.centered}
ไอเดียการเลือกวัสดุเพื่อต่อเติมหลังคาโรงรถและหลังคากันสาด ทั้งวัสดุมุงหลังคาโปร่งแสงและแบบทึบแสง ซึ่งตอบโจทย์เรื่องภาพลักษณ์กับการใช้งานที่แตกต่างกันไป >หลังคาโรงรถและหลังคากันสาด เป็นส่วนที่หลายบ้านนิยมติดตั้งหรือต่อเติมเพิ่มพื้นที่ใช้สอย เพิ่มร่มเงา ช่วยบังแดดบังฝน ซึ่งในปัจจุบันมีวัสดุสำหรับหลังคาโรงรถและกันสาดให้เลือกมากมาย ทั้ง “หลังคาโปร่งแสง” หรือที่เรียกกันว่า หลังคาใส ซึ่งให้ความรู้สึกโปร่งโล่งสบาย กับอีกแบบคือ “หลังคาแบบทึบแสง” ที่ช่วยกันแดดได้ดี อีกทั้งเพิ่มลูกเล่นได้หลากหลาย >## ไอเดียตกแต่งหลังคาโรงรถ กันสาด แบบหลังคาโปร่งแสง** >สำหรับหลังคาโปร่งแสงจะมีหลายวัสดุ เช่น ไฟเบอร์กลาส อะคริลิก และโพลีคาร์บอเนต ซึ่งมีหลายสีให้เลือกใช้ที่จะให้อารมณ์และความรู้สึกแตกต่างกันไป หลังคาโปร่งแสงนี้นอกจากจะให้เราได้รับแสงแดดธรรมชาติ ยังทำลูกเล่นระแนงใต้หลังคาได้หลากหลาย เช่น ตีระแนงเป็นจังหวะถี่ขึ้นเพื่อเพิ่มความน่าสนใจของเงาตกกระทบ หรือจะผสมระหว่างระแนงถี่กับระแนงห่างมาจัดวางอยู่ด้วยกันให้เกิดเป็นจังหวะที่น่าสนใจ นอกจากนี้ ยังสามารถเลือกสีหลังคาโปร่งแสงมาผสมกันได้ด้วย สิ่งสำคัญของการเลือกใช้หลังคาโปร่งแสงคือควรหมั่นดูแลทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้หลังคาโรงรถหรือกันสาดของเราดูสวยใสไร้ที่ติตลอดเวลา >อ่านเพิ่มเติม: 4 วิธีทำหลังคาโปร่งแสงฉบับลดบ้านร้อน หลังคาโปร่งแสงอะคริลิก โพลีคาร์บอเนต ไฟเบอร์กลาส หลังคาโรงรถ SCG หลังคากันสาด กันสาดโรงรถ ต่อเติมโรงรถ หลังคาใส หลังคาโปร่งแสง >ภาพ: หลังคาโรงรถแบบหลังคาโปร่งแสง หรือหลังคาใส ที่ให้ความรู้สึกโปร่งโล่งสบายและยังได้รับแสงธรรมชาติ (ซ้ายบน) หลังคาอะคริลิก Shinkolite (ขวาบน) โพลีคาร์บอเนต (ล่าง)ไฟเบอร์กลาส >ขอบคุณภาพ: www.shinkolite.co.th และ บริษัท สยามไฟเบอร์กลาส จํากัด สนใจบริการต่อเติมหลังคาโรงรถและกันสาด คลิก\{.button .newtab} {.centered} ลูกเล่นระแนงหลังคาอะคริลิก ระแนงหลังคา หลังคาโรงรถ SCG หลังคากันสาด กันสาดโรงรถ ต่อเติมโรงรถ หลังคาใส หลังคาโปร่งแสง >ภาพ: ตัวอย่างลูกเล่นระแนงแบบมาตรฐาน กับระแนงแบบถี่ ของหลังคาโปร่งแสงอะคริลิก >ขอบคุณภาพ: www.shinkolite.co.th หลังคาโปร่งแสงโพลีคาร์บอเนต ระแนงหลังคา หลังคาโรงรถ SCG ต่อเติมโรงรถ หลังคาใส หลังคาโปร่งแสง >ภาพ: ตัวอย่างหลังคาโปร่งแสงโพลีคาร์บอเนต ควบคู่กับการติดตั้งระแนงแบบถี่ หลังคาโปร่งแสงอะคริลิก ระแนงหลังคา หลังคาโรงรถ SCG หลังคากันสาด ต่อเติมโรงรถ หลังคาใส หลังคาโปร่งแสง >ภาพ: หลังคาโปร่งแสงอะคริลิกที่ระแนงถี่และห่างอยู่ด้วยกัน >ขอบคุณภาพ: www.shinkolite.co.th สนใจบริการต่อเติมหลังคาโรงรถและกันสาด คลิก\{.button .newtab} {.centered} หลังคาโปร่งแสงอะคริลิก ระแนงหลังคา หลังคาโรงรถ SCG ต่อเติมโรงรถ หลังคาใส หลังคาโปร่งแสง >ภาพ: หลังคาโปร่งแสงอะคริลิก โดยเลือกตีระแนงถี่ห่างสลับกัน >ขอบคุณภาพ: www.shinkolite.co.th เลือกซื้อหลังคาโปร่งแสง ไฟเบอร์กลาส อะคริลิก คลิก\{.button .newtab} {.centered} หลังคาโพลีคาร์บอเนต ระแนงหลังคา หลังคาโรงรถ SCG ต่อเติมโรงรถ หลังคาใส หลังคาโปร่งแสง >ภาพ: การติดตั้งหลังคาโพลีคาร์บอเนต ที่เลือกสีเข้มกับสีอ่อนมาติดตั้งคู่กัน และเล่นลูกเล่นระแนงถี่ห่างให้เกิดความน่าสนใจ หลังคาโปร่งแสงไฟเบอร์กลาส ระแนงหลังคา หลังคาโรงรถ SCG ต่อเติมโรงรถ หลังคาใส หลังคาโปร่งแสง >ภาพ: ตัวอย่างหลังคาโปร่งแสงไฟเบอร์กลาส ตีระแนงทึบสลับโปร่ง หลังคาโปร่งแสงไฟเบอร์กลาส ระแนงหลังคา หลังคาโรงรถ SCG ต่อเติมโรงรถ หลังคาใส หลังคาโปร่งแสง >ภาพ: ตัวอย่างหลังคาโปร่งแสงไฟเบอร์กลาสกับลูกเล่นระแนงแบบไม่ซ้ำใคร เลือกซื้อหลังคาโปร่งแสง อะคริลิก ไฟเบอร์กลาส คลิก\{.button .newtab} {.centered} >. สนใจบริการต่อเติมหลังคาโรงรถและกันสาด คลิก\{.button .newtab} {.centered} >## ไอเดียตกแต่งหลังคาโรงรถ กันสาด แบบหลังคาทึบแสง >สำหรับการเลือกใช้หลังคาทึบแสงที่ช่วยป้องกันได้ทั้งแดดและฝน ดูแลง่ายกว่าหลังคาแบบโปร่งแสง จะมีวัสดุเมทัลชีทและไวนิลให้เลือกใช้ ซึ่งจะเลือกโชว์ท้องวัสดุหรือปิดฝ้าก็ได้ หากใครชอบความดิบเท่ก็สามารถเลือกใช้หลังคาเมทัลชีทแบบโชว์ท้องวัสดุได้ ส่วนวัสดุหลังคาไวนิลจะสามารถโชว์ท้องวัสดุโดยที่ยังดูเรียบร้อยสวยงาม หลังคาเมทัลชีท หลังคาโรงรถ SCG โรงรถหน้าบ้าน ต่อเติมโรงรถ หลังคาทึบ >ภาพ: หลังคาเมทัลชีทแบบเปลือยฝ้าหรือโชว์ท้องวัสดุที่ดูดิบเท่ >ขอบคุณภาพ: www.q-chang.com และ www.syssteel.com หลังคาเมทัลชีท หลังคาโรงรถ SCG โรงรถหน้าบ้าน ต่อเติมโรงรถ หลังคาทึบ >ภาพ: หลังคาเมทัลชีทที่ปิดฝ้าด้วยวัสดุไม้ที่ดูเป็นธรรมชาติและเข้ากับวัสดุเหล็กสีดำได้เป็นอย่างดี >ขอบคุณภาพ: www.q-chang.com เลือกซื้อหลังคาเมทัลชีท คลิก\{.button .newtab} {.centered} หลังคาไวนิล หลังคาโรงรถ SCG โรงรถหน้าบ้าน หลังคากันสาด กันสาดโรงรถ ต่อเติมโรงรถ หลังคาทึบ >ภาพ: หลังคาไวนิลที่โชว์ท้องวัสดุซึ่งดูเรียบร้อยสวยงาม >ขอบคุณภาพ: www.q-chang.com >เมื่อเลือกหลังคาแบบที่ชอบที่ใช่ให้ตอบโจทย์วิถีชีวิตเราแล้ว อย่าลืมเลือกช่างที่ชำนาญมาติดตั้งให้ถูกวิธีตามมาตรฐานผู้ผลิตเพื่อความแข็งแรงและปลอดภัย >อ่านเพิ่มเติม: ต่อเติมโรงจอดรถหน้าบ้านแบบไหน ให้แข็งแรงและสวยงาม สนใจบริการต่อเติมหลังคาโรงรถและกันสาด คลิก\{.button .newtab} {.centered}
รู้หรือไม่ว่า มีประเภทผ้าม่านที่คำนึงถึงสุขภาพของคนที่แพ้ง่ายหรือมีปัญหาภูมิแพ้ด้วย ตั้งแต่ผ้าม่านฟอกอากาศ ผ้าม่านไม่อมฝุ่น รวมถึงผ้าม่านที่ช่วยยับยั้งการเติบโตของเชื้อรา แบคทีเรีย และช่วยลดกลิ่นอับชื้นอีกด้วย >สำหรับคนที่แพ้ง่าย หรือมีปัญหาภูมิแพ้นั้น ผ้าม่านนับเป็นส่วนประกอบหนึ่งในบ้านที่อาจกักเก็บฝุ่นและสะสมเชื้อโรคได้ นานๆ ทีเราถึงมีโอกาสได้ทำความสะอาด ซึ่งผ้าม่านบางชนิดก็ทำความสะอาดยากอีกด้วย จะดีแค่ไหนนะ หากผ้าม่านที่เราเลือกใช้ไม่อมฝุ่น อมฝุ่นน้อย กันไรฝุ่น หรือช่วยฟอกอากาศได้ ให้เราอยู่ในบ้านได้อย่างไม่ต้องกังวลว่าจะแพ้ ด้วยนวัตกรรมผ้าม่านเพื่อสุขภาพสำหรับคนแพ้ง่าย ที่มีให้เลือก 3 ประเภทดังนี้ >## 1.ผ้าม่านโปร่งฟอกอากาศ PURE AIR SHEER: >กรองแสงให้นุ่มละมุนตา พร้อมถ่ายเทอากาศให้ปลอดโปร่งโล่งสบาย สามารถซักทำความสะอาดได้ไม่จำกัดจำนวนครั้งโดยประสิทธิภาพการฟอกอากาศจะคงอยู่ถาวร >“ผ้าม่านฟอกอากาศ” เทคโนโลยีผ้าม่านนำเข้าจากเยอรมัน โดยใช้สารไททาเนียมไดออกไซด์เคลือบอยู่บนผ้าที่ทำหน้าที่ไปจับตัวกับมลพิษ แบคทีเรีย สารอินทรีย์ สิ่งสกปรกต่างๆ และสารก่อภูมิแพ้ในอากาศ แล้วเกิดการย่อยสลายกลายเป็นคาร์บอนไดออกไซด์และน้ำ ซึ่งไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม >เหมาะสำหรับ: บ้านพักอาศัยในเมืองใหญ่ (รวมถึงบ้านใหม่หรือบ้านเพิ่งรีโนเวทเสร็จ) ที่เต็มไปด้วยมลพิษทางอากาศ ไอระเหยจากสารเคมี หรือสารพิษต่างๆ เช่น สารฟอร์มาลดีไฮด์จากเฟอร์นิเจอร์ สี ควันบุหรี่ รวมไปถึงจุลินทรีย์ที่สะสมอยู่ในห้องน้ำ ห้องครัว ที่ทำให้เกิดกลิ่นไม่พึงประสงค์ (มลพิษทางอากาศเป็นสาเหตุให้เกิด “โรคตึกเป็นพิษ (Sick Building Syndrome)” ทำให้เรามีอาการอ่อนเพลีย ปวดหัว นอนไม่หลับ ไปจนถึงมีอาการระบบทางเดินหายใจที่ผิดปกติ) หลักการทำงานของผ้าม่านฟอกอากาศ >ภาพ: หลักการทำงานของผ้าม่านฟอกอากาศ >*ผ้าม่านโปร่งฟอกอากาศ PURE AIR SHEER มีหลักการทำงานที่ได้แรงบันดาลใจมาจากกระบวนการสังเคราะห์แสงของพืช โดยการใช้รังสีอัลตราไวโอเลต (UV) จากพลังงานแสงอาทิตย์ หรือจากหลอดไฟฟลูออเรสเซนต์ หรือหลอด LED เร่งให้เกิดปฏิกิริยาทางเคมีกับสารไททาเนียมไดออกไซด์ (Titanium Dioxide) ที่เคลือบอยู่บนผ้า (สารไททาเนียมไดออกไซด์ทำปฏิกิริยากับรังสี UV ได้เร็ว ทนทานต่อการกัดกร่อน มีความเสถียรสูง มีความสามารถในการละลายต่ำ และปลอดภัย) ทำให้เกิดอนุมูลอิสระของไฮดรอกซิล (Hydroxyl Radical) ซึ่งจะไปรวมตัวกับมลพิษ แบคทีเรีย สารอินทรีย์ สิ่งสกปรกต่างๆ และสารก่อภูมิแพ้ในอากาศ แล้วเกิดการย่อยสลายกลายเป็นคาร์บอนไดออกไซด์ และน้ำ ซึ่งไม่เป็นอันตรายกับสิ่งแวดล้อม (ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์และน้ำที่เกิดขึ้น จะขึ้นอยู่กับปริมาณแสงที่ตกกระทบกับผ้าม่านและอากาศนั้น ซึ่งเกิดในปริมาณที่น้อยมากๆ ไม่ส่งผลกระทบใดๆ ต่อเครื่องใช้ไฟฟ้าและร่างกายมนุษย์) ลักษณะการฟอกอากาศของผ้าม่านฟอกอากาศ >ภาพ: ลักษณะการฟอกอากาศของผ้าม่านฟอกอากาศ การทดลองเพื่อเปรียบเทียบผ้าม่าน-PURE-AIR-กับผ้าม่านปกติ >ภาพ: การทดลองเพื่อเปรียบเทียบผ้าม่าน PURE AIR กับผ้าม่านปกติ ด้วยการใช้หลอด UV-A ขนาด 7W เป็นตัวเร่งให้เกิดปฏิกิริยาการฟอกอากาศ ผ้าม่าน PURE AIR สามารถสลายสารฟอร์มาลดีไฮด์ในห้องได้จาก 100% จนเหลือ 0% ใน 30 ชั่วโมง ผ้าม่านฟอกอากาศ-Pure-Air >ภาพ: ผ้าม่านฟอกอากาศ Pure Air รหัส PUR296-298 สนใจสินค้าพร้อมบริการติดตั้ง และบริการเรื่องบ้าน คลิก\{.button .newtab} {.centered} >## 2.ผ้าม่านไม่อมฝุ่น ANTI-DUST: เมื่อ “ผ้า” อมฝุ่นน้อย “ภูมิแพ้” ก็ไม่เกิด >“ผ้าม่านไม่อมฝุ่น” ผ้าม่านนวัตกรรม Anti-Allergy ช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดภูมิแพ้ทางระบบหายใจ ด้วยนวัตกรรมผ้าเคลือบชั้นฟิล์มใส ช่วยเคลือบเส้นใยผ้าให้เรียบเนียนขึ้น ช่วยลดการเกาะติดของฝุ่นตามร่องบนเนื้อผ้าได้สูงถึง 83.3% เมื่อเทียบกับผ้าที่ไม่ได้เคลือบ รวมถึงปลอดภัยต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม แบ่งออกเป็น >2.1ANTI-DUST BLACKOUT ผ้าม่านบล็อกแสง 100% ไม่อมฝุ่น: เป็นผ้าม่านประเภท BLACKOUT แบบไม่อมฝุ่น ที่มีการเคลือบชั้นฟิล์มใส ซึ่งประสิทธิภาพของสารเคลือบ Anti-Allergy ยังคงอยู่ แม้ผ่านการซักถึง 3 ครั้ง (ถ้าซักเกิน 3 ครั้ง ประสิทธิภาพจะลดลงทุกครั้งที่ซัก) >*ผ้า BLACKOUT คือผ้าที่บล็อกแสงได้สูงสุดถึง 100% ช่วยให้ห้องมืดสนิทได้ แม้ในเวลากลางวัน ลดเสียงรบกวนจากภายนอกห้องได้ ลดร้อนให้บ้านเย็น ช่วยประหยัดพลังงาน >เหมาะสำหรับ: ห้องนอน ห้องโฮมเธียเตอร์ หรือห้องอื่นๆ ที่ต้องการบล็อกแสงธรรมชาติ ผ้าม่าน-ANTI-DUST-BLACKOUT >ภาพ: ห้องที่เลือกใช้ผ้าม่าน ANTI-DUST BLACKOUT ผ้าม่านไม่อมฝุ่นเคลือบโฟม 3 ชั้น รหัส AGB261 >2.2ANTI-DUST DIMOUT ผ้าม่านดิมเอาท์ไม่อมฝุ่น: ผ้าม่านประเภท DIMOUT ที่มีการเคลือบชั้นฟิล์มใส ในระดับ Micro Particle (ขนาดเคลือบเฉลี่ย 20 นาโนเมตร หรือ 0.02 ไมครอน ซึ่งประสิทธิภาพของสารเคลือบ Anti-Allergy ยังคงอยู่ แม้ผ่านการซักถึง 5 ครั้ง (ถ้าซักเกิน 5 ครั้ง ประสิทธิภาพจะลดลงทุกครั้งที่ซัก) >*ผ้า DIMOUT เป็นผ้าม่านที่มีการเย็บผ้าซ้อนกันถึง 3 ชั้น โดยผ้าตรงกลางจะเป็นผ้าสีดำ เพื่อป้องกันแสงและรังสียูวีจากภายนอกเข้าสู่ภายในห้องได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยลดร้อน สะท้อนยูวี ทำให้บ้านเย็นขึ้น >เหมาะสำหรับ: ห้องนั่งเล่น หรือห้องที่โดนแดดแรงๆ ในเวลากลางวัน ผ้าม่าน-ANTI-DUST-DIMOUT >ภาพ: ห้องที่เลือกใช้ผ้าม่าน ANTI-DUST DIMOUT รหัส AGC305 >2.3ANTI-DUST GENERAL ผ้าม่านไม่อมฝุ่น: ผ้าม่านทอลายทั่วไปที่ไม่อมฝุ่น ด้วยนวัตกรรม Anti-Allergy ผ้าเคลือบชั้นฟิล์มใส ช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดโรคภูมิแพ้ทางระบบหายใจ >เหมาะสำหรับ: ห้องทั่วไปในบ้าน ผ้าม่าน-ANTI-DUST-GENERAL >ภาพ: ห้องที่เลือกใช้ผ้าม่าน ANTI-DUST GENERAL ผ้าม่านทอลายไม่อมฝุ่น รหัส ATD306 >การทำความสะอาดผ้าม่านไม่อมฝุ่น ANTI-DUST ทั้ง 3 รุ่นนี้ แนะนำให้ใช้การดูดฝุ่นแทนการซักเพื่อยืดอายุการใช้งาน หรือหากต้องการซักควรส่งร้านที่มีความเชี่ยวชาญด้านการทำความสะอาดผ้าม่านโดยเฉพาะ หลักการทำงานของสารเคลือบ-Anti-Allergy >ภาพ: หลักการทำงานของสารเคลือบ Anti-Allergy เปรียบเทียบผ้าที่ไม่ได้เคลือบและผ้าที่เคลือบสาร-Anti-Allergy >ภาพ: เปรียบเทียบผ้าที่ไม่ได้เคลือบและผ้าที่เคลือบสาร Anti-Allergy ช่วยลดการเกาะติดของฝุ่นตามร่องบนเนื้อผ้าได้สูงถึง 83.3% ระดับการกันแสงของผ้าม่าน-ANTI-DUST-DIMOUT >ภาพ: ระดับการกันแสงของผ้าม่าน ANTI-DUST DIMOUT ซึ่งมีผ้าม่านให้เลือกทั้ง 3 ระดับ ขึ้นอยู่กับการทอ สี และเนื้อผ้า สนใจสินค้าพร้อมบริการติดตั้ง และบริการเรื่องบ้าน คลิก\{.button .newtab} {.centered} >## 3.ผ้าม่าน SANITIZED ACTIFRESH: ผ้าม่านกันไรฝุ่น แบคทีเรีย เชื้อรา ลดกลิ่นอับชื้น >นวัตกรรมการย้อมผ้าด้วยสารเคลือบที่ช่วยลดการเกาะของฝุ่น ไรฝุ่น ยับยั้งการเติบโตของเชื้อราและแบคทีเรีย อีกทั้งช่วยลดกลิ่นอับชื้น มีประสิทธิภาพยาวนาน แม้ผ่านการซักหลายครั้ง >เหมาะสำหรับ: ทุกห้อง >*พัฒนานวัตกรรมนี้โดย Swiss antimicrobial Expertise ผู้นำนวัตกรรมวัสดุศาสตร์ที่ปลอดเชื้อและด้านการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ ตั้งแต่ปี 1935 นวัตกรรมการย้อมผ้าของผ้าม่าน-SANITIZED-ACTIFRESH >ภาพ: นวัตกรรมการย้อมผ้า ของผ้าม่าน SANITIZED ACTIFRESH ด้วยสารเคลือบที่ช่วยลดการเกาะฝุ่น แบคทีเรีย เชื้อรา และลดกลิ่นอับชื้น ผ้าม่าน-SANITIZED-ACTIFRESH >ภาพ: ห้องที่เลือกใช้ผ้าม่าน SANITIZED ACTIFRESH แบบทึบ รหัส ACP883-884 (ซ้าย) และแบบโปร่ง รหัส OUS136 (ขวา) >ผ้าม่านทั้ง 3 ประเภทนี้ นับเป็นอีกทางเลือกสำหรับคนที่แพ้ง่ายหรือเป็นภูมิแพ้ได้ดีไม่น้อย ช่วยให้สมาชิกในบ้านหายใจได้เต็มปอดมากขึ้น อีกทั้งไร้กังวลกับสิ่งที่อาจปนเปื้อนมากับผ้า เพราะเป็นผ้าม่านปลอดสารพิษ ที่ทุกกระบวนการผลิตเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ไร้สารเคมีตกค้างบนผ้า เหมาะสำหรับที่อยู่อาศัยและวิถีชีวิตในเมืองได้เป็นอย่างดี >ขอขอบคุณข้อมูลและภาพ: VC Fabric สนใจสินค้าพร้อมบริการติดตั้ง และบริการเรื่องบ้าน คลิก\{.button .newtab} {.centered}
คลายข้อสงสัยเรื่องการต่อเติมโรงรถ ทั้งส่วนของพื้นโรงรถและเสาเข็ม รูปแบบหลังคาโรงรถและเสารับหลังคา รวมถึงวัสดุมุงหลังคาโรงรถ >พื้นที่ด้านหน้าของบ้านจัดสรร ทาวน์เฮาส์ ทาวน์โฮมทั่วไป มักมีขนาดหน้ากว้างไม่เกิน 6 เมตร หลายบ้านจึงมักใช้พื้นที่ส่วนนี้ในการต่อเติมโรงรถ (สำหรับจอดรถได้ประมาณ 2 คัน) ในการต่อเติมโรงรถอย่างน้อยต้องมีพื้นกับหลังคาเป็นส่วนประกอบหลัก โดยจะได้โรงรถที่แข็งแรง และสวยงามถูกใจหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับการเลือกโครงสร้างและวัสดุที่เหมาะสม จึงเกิดเป็นคำถามยอดฮิตอย่าง ทำพื้นโรงรถต้องลงเข็มไหม? ทำหลังคาโรงรถต้องมีเสารับหรือไม่? ใช้วัสดุอะไรมุงหลังคาโรงรถดี? และวันนี้ SCG HOME จะมาไขข้อสงสัยเหล่านี้กัน >## 1) ต่อเติมโรงรถ ทำพื้นโรงรถแบบไหนดี ต้องมีเสาเข็มหรือไม่ >สำหรับบ้านจัดสรร ทาวน์เฮาส์ ทาวน์โฮมทั่วไป ดังที่กล่าวไว้ข้างต้นนั้น พื้นหน้าบ้านมักจะเป็นพื้นหล่อคอนกรีตเสริมเหล็กแบบ Slab on Ground (ซึ่งแยกตัวกันกับโครงสร้างบ้าน) อยู่แล้ว การต่อเติมโรงรถที่ว่านี้จึงเป็นการต่อหลังคาเพิ่มเติมเพื่อช่วยกันแดดฝนให้รถ ดังนั้น ปัจจัยที่จะพิจารณาว่าการทำหลังคาโรงรถเพิ่มนี้ต้องลงเสาเข็มหรือไม่ จึงขึ้นอยู่กับรูปแบบหลังคา และสภาพพื้นคอนกรีตของเดิม ดังนี้ >• สภาพพื้นคอนกรีตเดิม ถ้าพื้นคอนกรีตยังคงแข็งแรงดี วิธีที่ง่ายที่สุดคือ เลือกใช้วัสดุมุงหลังคาแบบเบา แต่หากเลือกใช้วัสดุมุงหลังคาที่มีน้ำหนักมาก จำเป็นต้องลงเสาเข็มรองรับ อาจพิจารณาลงเสาเข็มบนพื้นดินที่ว่างโดยรอบ หรือสกัดพื้นคอนกรีตเดิมเพื่อลงเสาเข็ม (ใช้เวลาและมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม) ขึ้นอยู่กับขนาดของโรงรถที่ต่อเติมและสภาพหน้างาน ในทางกลับกัน หากพื้นคอนกรีตมีสภาพทรุดตัว แตกร้าว แนะนำให้พิจารณารื้อออกทำพื้นใหม่ โดยจะทำพื้นแบบ Slab on Ground หรือจะลงเสาเข็มด้วยนั้น ขึ้นอยู่กับสภาพดินและรูปแบบหลังคาที่จะต่อเติม ซึ่งควรขอคำแนะนำจากวิศวกรก่อนตัดสินใจ ต่อเติมพื้นโรงรถหน้าบ้าน ต่อเติมโรงรถ พื้นโรงรถ โรงรถหน้าบ้าน >ภาพ: พื้นคอนกรีตเสริมเหล็ก แบบ Slab on Ground (บน) และแบบมีเสาเข็ม (ล่าง) บริการเทหล่อพื้นคอนกรีตผสมเสร็จ เท ปาด ขัด คลิก\{.button .newtab} {.centered} >## 2) ต่อเติมโรงรถ ต้องมีเสารับหลังคาโรงรถไหม >ในเรื่องของเสารับหลังคา กรณีต่อเติมหลังคาโรงรถที่ยื่นจากตัวบ้านไม่เกิน 2 เมตร หากวิศวกรคำนวณแล้วพบว่าสามารถยึดกับโครงสร้างบ้านอย่างคานหรือเสาได้ ก็ไม่จำเป็นต้องมีเสารับเพิ่ม เพียงแค่ทำหลังคากันสาดด้วยวัสดุมุงน้ำหนักเบา โดยอาจทำค้ำยันใต้หลังคา หรือแท่งเหล็กเหล็กรับแรงดึงยึดจากด้านบน (Tension Rod) เป็นตัวช่วยรับน้ำหนักแทน ต่อเติมโรงรถหน้าบ้าน ต่อเติมโรงรถ หลังคาโรงรถ SCG โรงรถหน้าบ้าน หลังคากันสาด กันสาดโรงรถ >ภาพ: ตัวอย่างการต่อเติมหลังคาโรงรถในรูปของหลังคากันสาดแบบไม่มีเสา (ขอบคุณภาพจาก สยามไฟเบอร์กลาส, www.shinkolite.co.th และ www.q-chang.com) >ส่วนหลังคาโรงรถที่ต่อเติมยื่นยาวเกิน 2 เมตร หรือใช้วัสดุมุงหลังคาที่มีน้ำหนักมาก ควรทำเสารองรับอีกชุดอย่างน้อย 4 ต้น เพื่อแยกโครงสร้างออกมากต่างหากจากตัวบ้าน โดยหลีกเลี่ยงการฝากน้ำหนักการแบกรับส่วนต่อเติมไว้กับตัวบ้านเดิม เพราะการทรุดตัวที่ไม่เท่ากันจะทำให้โครงสร้างบ้านเสียหาย แต่หากจำเป็นต้องฝากโครงสร้างไว้กับตัวบ้าน แนะนำให้ทำจุดเชื่อมต่อแบบขยับได้เพื่อรองรับการทรุดตัวของโรงรถที่จะต่อเติม ต่อเติมโรงรถหน้าบ้าน ต่อเติมโรงรถ หลังคาโรงรถ SCG โรงรถหน้าบ้าน >ภาพ: ตัวอย่างการต่อเติมหลังคาโรงรถแบบมีเสารองรับหลังคา (ขอบคุณภาพจาก www.q-chang.com) ต่อเติมโรงรถหน้าบ้าน ต่อเติมโรงรถ หลังคาโรงรถ SCG โรงรถหน้าบ้าน >ภาพ: การทำจุดเชื่อมต่อให้สามารถขยับได้ สำหรับหลังคาโรงรถที่ฝากโครงสร้างไว้กับตัวบ้าน บริการต่อเติมหลังคาโรงรถ หลังคากันสาด คลิก\{.button .newtab} {.centered} >## 3) ต่อเติมโรงรถ ใช้วัสดุอะไรมุงหลังคาโรงรถดี >ส่วนเรื่องของการเลือกวัสดุมุง{.newtab} กรณีต่อเติมหลังคาโรงรถให้ดูคล้ายกับตัวบ้าน โดยทั่วไปจะเลือกวัสดุมุงตามหลังคาบ้านเป็นหลัก แต่หากมุงด้วยวัสดุน้ำหนักเบา จะมีวัสดุทั้งแบบทึบและแบบโปร่งแสงให้เลือกหลากหลาย >• วัสดุต่อเติมหลังคาโรงรถแบบโปร่งแสง จะมีทั้งวัสดุแผ่นเรียบอย่าง อะคริลิก (มีรุ่นคุณภาพสูงเพิ่มความแข็งแกร่งและรุ่นกันความร้อนให้เลือก) โพลีคาร์บอเนต (แบบแผ่นตัน แบบแผ่นลูกฟูก แบบผิวส้ม) วัสดุแผ่นลอนอย่าง UPVC แบบสีขาวขุ่น (แสงส่องผ่านเพียง 40 %) รวมถึงไฟเบอร์กลาสซึ่งมีให้เลือกทั้งแผ่นเรียบและแผ่น ต่อเติมโรงรถหน้าบ้าน หลังคาโรงรถ SCG หลังคาใส หลังคาโปร่งแสง อะคริลิก หลังคากันสาด กันสาดโรงรถ >ภาพ: หลังคาโปร่งแสงอะคริลิก Shinkolite สี โมเดิร์นเกรย์ (ขอบคุณภาพจาก www.shinkolite.co.th) ต่อเติมโรงรถหน้าบ้าน หลังคาโรงรถ SCG หลังคาใส หลังคาโปร่งแสง โพลีคาร์บอเนต >ภาพ: หลังคาโปร่งแสง โพลีคาร์บอเนต ต่อเติมโรงรถหน้าบ้าน หลังคาโรงรถ หลังคาใส หลังคาโปร่งแสง SCG >ภาพ: หลังคาโปร่งแสง วัสดุไฟเบอร์กลาสสีต่างๆ (แผ่นโปร่งแสง เอสซีจี ลูกฟูกลอนเล็ก) (ขอบคุณภาพจาก www.q-chang.com และ สยามไฟเบอร์กลาส) >• วัสดุสำหรับต่อเติมหลังคาโรงรถแบบทึบแสง ที่นิยมกันมากจะมี เมทัลชีท เป็นแผ่นหลังคาเหล็กรีดลอน (บางรุ่นมีติดตั้งฉนวนในตัว) กับอีกชนิดซึ่งมีรูปลอนใกล้เคียงกัน คือ UPVC อีกวัสดุที่น่าสนใจคือ ไวนิล มีลักษณะเป็นชิ้นยาว หน้ากว้าง 12.5 ซม. ยาว 4-6 เมตร ตัวแผ่นถูกออกแบบให้ล็อกต่อกันได้เลย ต่อเติมโรงรถหน้าบ้าน หลังคาโรงรถ SCG ต่อเติมโรงรถ โรงรถหน้าบ้าน หลังคากันสาด กันสาดโรงรถ เมทัลชีท >*ภาพ: (ซ้าย) ตัวอย่างการต่อเติมหลังคาโรงจอดรถด้วยเมทัลชีท ซึ่งสามารถเลือกตีไม้ระแนงปิดทับใต้หลังคาเพื่อความสวยงามได้ (บนขวา) และการต่อเติมหลังคาโรงรถด้วยวัสดุไวนิล (ล่างขวา) (ขอบคุณภาพจาก www.q-chang.com)* บริการต่อเติมหลังคาโรงรถ หลังคากันสาด คลิก\{.button .newtab} {.centered}
เราสามารถติดฉนวนกันความร้อน STAY COOL บนฝ้าเพดานที่ลาดเอียงไปตามหลังคาได้หรือไม่...ไม่ว่าจะเป็นบ้านสร้างใหม่หรือบ้านที่อยู่อาศัยไปแล้ว มีเรื่องอะไรที่ต้องคำนึงบ้าง >เมื่อพูดถึงปัญหาบ้านร้อน หลายคนใช้วิธีแก้ปัญหาตามแนวคิดบ้านไทยโบราณ โดยใช้วิธีทำหลังคาทรงสูงชันพร้อมชายคายื่นยาวช่วยกันแดดฝนและระบายความร้อน บางบ้านตั้งใจใช้ลูกเล่นตีฝ้าเพดานเอียงตามหลังคาให้ดูสวยงามไปอีกแบบ โดยต้องการติดฉนวนกันความร้อน STAY COOL บนฝ้า ช่วยลดความร้อนจากหลังคาให้บ้านเย็นขึ้นอีกด้วย คำถามคือ ปกติแล้วฉนวนกันความร้อน เอสซีจี รุ่น STAY COOL จะติดตั้งโดยวางราบไปบนฝ้าเพดานเรียบๆ แล้วฝ้าเพดานที่เอียงลาดไปตามหลังคาแบบนี้ล่ะ จะติดตั้งได้ไหม ? >คำตอบคือ ก็ต้องมาดูความเป็นไปได้หน้างานกันก่อน โดยเฉพาะเรื่อง “ระยะเหนือฝ้าเพดาน” ช่องว่างระหว่างฝ้าเพดานกับหลังคา ควรมีระยะไม่ต่ำกว่า 1 เมตร เพื่อให้ช่างสามารถขึ้นไปติดตั้งฉนวนกันความร้อนบนฝ้าเพดานได้ (เช่นเดียวกับกรณีติดตั้ง ฉนวนกันความร้อน เอสซีจี รุ่น STAY COOL บนฝ้าเพดานทั่วไป) อีกเรื่องหนึ่งที่สำคัญก็คือ “ความชัน” สำหรับหลังคาที่มีความชันมาก การติดตั้งฉนวนกันความร้อนรวมถึงการเก็บงานมักทำได้ยาก ฉนวนกันความร้อน แผ่นฉนวนกันความร้อน ฉนวนกันความร้อนหลังคา ฉนวนกันความร้อนใต้หลังคา ติดฉนวนกันความร้อน ฉนวนกันความร้อนบนฝ้า ติดตั้งฉนวนกันความร้อน ปูฉนวนกันความร้อนบนฝ้า >ภาพ: ความชันของฝ้าเพดานเป็นอีกปัจจัยที่ต้องตรวจเช็คก่อนติดตั้งฉนวนกันความร้อน เอสซีจี รุ่น STAY COOL สนใจบริการ ติดตั้งฉนวนกันความร้อน STAY COOL คลิก\{.button .newtab} {.centered} >สำหรับบ้านสร้างใหม่ที่กำลังอยู่ในขั้นตอนก่อสร้าง หากระยะเหนือฝ้าเพดานและความชันหลังคาอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม การติดตั้งฉนวนกันความร้อน เอสซีจี รุ่น STAY COOL บนฝ้าเพดานที่ลาดตามหลังคาก็ทำได้ไม่ยากนัก โดยเมื่อติดตั้งโครงคร่าวสำหรับฝ้าเพดานเรียบร้อยแล้ว ก็สามารถสอดฉนวนกันความร้อนเข้าในช่องระหว่างโครงคร่าวฝ้าเพดาน ขยับให้เข้าที่ และเก็บงานให้เรียบร้อย หลังจากนั้นจึงค่อยติดตั้งฝ้าเพดาน >ส่วนบ้านที่อยู่อาศัยไปแล้วก็อาจทำได้ แต่จะลำบากขึ้น ด้วยฝ้าเพดานที่ปิดอยู่ทำให้ขยับเขยื้อนฉนวนกันความร้อนได้ยากกว่า ส่วนช่องเซอร์วิสบนฝ้าเพดานก็ต้องกว้างใหญ่พอที่จะให้ช่างมุดขึ้นไปติดตั้งฉนวนกันความร้อนได้ นอกจากนี้จะต้องตรวจเช็คสภาพโครงคร่าวฝ้าเพดานที่มีอยู่ ว่าแข็งแรงพอจะรับน้ำหนักฉนวนที่เพิ่มขึ้นมาได้หรือไม่ (โดยเฉพาะบ้านไม้ยิ่งต้องตรวจดูเป็นพิเศษ) ฉนวนกันความร้อน แผ่นฉนวนกันความร้อน ฉนวนกันความร้อนหลังคา ฉนวนกันความร้อนใต้หลังคา ติดฉนวนกันความร้อน ฉนวนกันความร้อนบนฝ้า ติดตั้งฉนวนกันความร้อน ปูฉนวนกันความร้อนบนฝ้า >ภาพ: การเปิดฝ้าเพดาน (ซ้าย) และการสอดฉนวนกันความร้อน เอสซีจี รุ่น STAY COOL ขึ้นผ่านช่องเซอร์วิสบนฝ้าเพดาน (ขวา) สนใจบริการ ติดตั้งฉนวนกันความร้อน STAY COOL คลิก\{.button .newtab} {.centered} >จะเห็นได้ว่าการติดตั้งฉนวนกันความร้อน เอสซีจี รุ่น STAY COOL บนฝ้าเพดานที่ลาดตามหลังคานั้น ถ้าเป็นบ้านสร้างใหม่จะมีโอกาสติดตั้งได้ง่ายกว่าบ้านที่อยู่อาศัยไปแล้ว แต่ทั้งนี้ไม่ว่ากรณีใดก็ตาม ในเบื้องต้นควรให้ช่างทำการสำรวจหน้างานเสียก่อน เพื่อดูความเป็นไปได้ในการติดตั้ง รวมถึงเรื่องอุปกรณ์เสริมสำหรับยึดฉนวนที่อาจจำเป็นต้องใช้เพิ่มเติมในแต่ละกรณี >สำหรับบ้านใหม่ที่กำลังจะก่อสร้างแล้วพบว่า ระยะเหนือฝ้าเพดานหรือความชันหลังคาไม่เหมาะจะติดตั้งฉนวนกันความร้อน เอสซีจี รุ่น STAY COOL อาจหันมาพึ่งอีกทางเลือกที่ช่วยให้บ้านเย็นขึ้น คือ ใช้แผ่นสะท้อนความร้อน เอสซีจี ซึ่งออกแบบมาสำหรับติดตั้งบนแปก่อนจะมุงกระเบื้องหลังคา โดยมีฉนวนใยแก้วกันความร้อนซ่อนอยู่ด้านใน วิธีนี้ก็จะช่วยลดปัญหาบ้านร้อนได้ระดับหนึ่ง ฉนวนกันความร้อน แผ่นฉนวนกันความร้อน ฉนวนกันความร้อนหลังคา ฉนวนกันความร้อนใต้หลังคา ติดฉนวนกันความร้อน ฉนวนกันความร้อนบนฝ้า ติดตั้งฉนวนกันความร้อน ปูฉนวนกันความร้อนบนฝ้า >ภาพ: ภาพตัดแสดงหลังคาที่ติดตั้งแผ่นสะท้อนความร้อน เอสซีจี รุ่น อัลตร้าคูล(ซึ่งมีฉนวนใยแก้วกันความร้อนซ่อนอยู่ด้านใน) >อ่านเพิ่มเติม: จะติดฉนวนกันความร้อน STAY COOL ควรมีระยะเหนือฝ้าเท่าไหร่ ? สนใจบริการ ติดตั้งฉนวนกันความร้อน STAY COOL คลิก\{.button .newtab} {.centered}