แจกแจงรูปแบบการระบายน้ำฝนของหลังคาส่วนต่อเติม ไม่ว่าจะเป็นหลังคาโรงรถหรือหลังคากันสาดเหนือประตูหน้าต่างรอบบ้าน ทั้งแบบที่มีรางน้ำกันสาดเพื่อรองรับน้ำฝน และแบบที่ไม่มีรางน้ำฝนใดๆ เลย > >ปัจจุบันคงปฏิเสธไม่ได้ว่า สภาพภูมิอากาศที่เราเผชิญอยู่นั้นมีทั้งร้อนและฝนตกหนักพร้อมลมกระโชกแรงมากขึ้นทุกๆ ปี แม้การอยู่อาศัยภายในบ้านจะช่วยปกป้องเราจากแสงแดดและลมฝนแล้ว การช่วยลดความรุนแรงของสภาพอากาศตั้งแต่บริเวณภายนอกบ้านก็จำเป็นเช่นกัน โดยเฉพาะการต่อเติมหลังคากันสาด ทั้งบริเวณที่จอดรถและพื้นที่รอบบ้าน ซึ่งส่วนใหญ่เรามักคำนึงถึงการเลือกใช้วัสดุและดีไซน์ที่เข้ากับตัวบ้านเป็นสำคัญ แต่ในความเป็นจริงเราควรคำนึงถึงระบบการระบายน้ำฝนด้วย เพราะน้ำฝนที่ไหลลงจากหลังคาอาจสร้างความเสียหายบนผิวพื้นหรือระบายออกไปรบกวนเพื่อนบ้านข้างเคียงได้ รางน้ำฝน พร้อมบริการติดตั้ง คลิก\{.button .newtab} {.centered} Single Image หลังคากันสาด ติดตั้งเป็นหลังคาโรงรถ >ภาพ: ต่อเติมหลังคาคลุมที่จอดรถหน้าบ้าน Single Image หลังคากันสาดวัสดุทึบแสงบริเวณประตูบ้าน >ภาพ: (ซ้าย) ต่อเติมหลังคากันสาดแบบทึบเหนือประตูทางเข้าบ้าน, (ขวา) ต่อเติมหลังคาแบบโปร่งคลุมทางเดินรอบบ้าน >มาถึงตรงนี้ เจ้าของบ้านอาจสงสัยว่า “หลังคากันสาด จำเป็นต้องติดรางน้ำฝนด้วยหรือ?” >จริงๆ แล้วเราจะเลือกติดตั้งหรือไม่ก็ได้ ขึ้นอยู่กับลักษณะของพื้นที่โดยรอบ หากน้ำฝนไหลลงสู่พื้นที่เป็นพื้นหิน หรือพื้นคอนกรีตในบริเวณที่ไม่ค่อยใช้งาน ห่างไกลจากเพื่อนบ้าน ก็อาจไม่จำเป็นต้องติดรางน้ำฝน แต่หากเป็นสวน สนามหญ้า บ่อปลา รวมถึงกรณีที่ปลายหลังคากันสาดใกล้หรือชนกับเขตรั้วของเพื่อนบ้าน แนะนำให้ติดตั้งรางน้ำฝน เพราะนอกจากจะช่วยลดแรงน้ำฝนที่ตกกระทบบนพื้นผิวแล้ว รางน้ำฝนยังช่วยนำทางน้ำฝนลงสู่ท่อระบายน้ำได้อย่างเป็นระเบียบ ไม่รบกวนทั้งเพื่อนบ้านและบ้านเราเอง ทั้งยังช่วยปกป้องผนังบ้านจากคราบน้ำ ตะไคร่ หรือเชื้อราได้อีกด้วย รูปแบบของปลายหลังคาโรงรถหรือหลังคากันสาดที่มีรางน้ำและไม่มีรางน้ำสามารถทำได้หลากหลายแนวทาง ดังนี้ >## 1. ติดตั้งรางน้ำหลังคา ในรูปของรางน้ำฝนโดยต่อท่อระบายน้ำลงสู่พื้น >วิธีนี้เป็นวิธีที่นิยมกันโดยทั่วไป น้ำจากหลังคาจะไหลลงรางน้ำและระบายสู่ท่อน้ำฝนที่สามารถทาสีให้กลมกลืนไปกับโครงสร้างหลังคาได้ น้ำฝนจากท่อจะไหลตรงไปสู่พื้น หรือต่อลงทางระบายน้ำรอบบ้านโดยตรงเลยก็ได้ การติดตั้งรางน้ำที่ปลายหลังคาสามารถทำได้ทั้งแบบซ่อนรางน้ำ และโชว์รางน้ำ ขึ้นอยู่กับสไตล์ ความเหมาะสมสวยงาม ความชอบของเจ้าของบ้าน โดยให้สอดคล้องกับวัสดุรางน้ำที่เลือกใช้ด้วย Single Image กันสาดซ่อนรางน้ำ รางน้ำฝนแบบซ่อน >ภาพ: มุมมองด้านบนของหลังคากันสาดที่มีรางน้ำฝนแบบซ่อน Single Image รางน้ำฝนแบบซ่อนในหลังคากันสาดทึบแสง >ภาพ: รูปแบบหลังคากันสาดแบบทึบที่ติดตั้งรางน้ำฝนแบบซ่อนในโครงสร้างหลังคา ทาสีท่อระบายน้ำให้กลมกลืนไปกับเสาโครงสร้าง Single Image รางน้ำฝนแบบซ่อนในหลังคากันสาดโปร่งแสง >ภาพ: รูปแบบหลังคากันสาดแบบโปร่งใสที่ติดตั้งรางน้ำฝนแบบซ่อนในโครงสร้างหลังคา ทาสีท่อระบายน้ำให้กลมกลืนไปกับเสาโครงสร้าง Single Image ต่อท่อระบายน้ำฝนจากรางน้ำกันสาด >ภาพ: การต่อท่อระบายน้ำฝนจากรางน้ำฝนลงสู่พื้น หรือทางระบายน้ำรอบบ้าน (ใต้ดิน) ไม่รบกวนเพื่อนบ้าน ในกรณีที่หลังคากันสาดชนกับรั้วข้างบ้าน (ภาพซ้าย: แบบซ่อนรางน้ำ) (ภาพขวา: แบบโชว์รางน้ำ) Single Image รางน้ำกันสาด โชว์รางน้ำฝน >ภาพ: ต่อเติมหลังคากันสาดข้างบ้านแบบโชว์รางน้ำฝน รางน้ำฝน พร้อมบริการติดตั้ง คลิก\{.button .newtab} {.centered} >## 2. ติดตั้งรางน้ำหลังคา ในรูปของรางน้ำฝนพร้อมโซ่รางน้ำฝน (Rain Chain) >การติดตั้งรางน้ำฝนเหมือนกับรูปแบบแรก แต่จะใช้โซ่รางน้ำฝน เป็นตัวระบายน้ำแทนการต่อท่อระบายน้ำเพื่อช่วยชะลอความแรงของน้ำที่มาจากรางน้ำ ซึ่งควรเตรียมพื้นที่ด้านล่างเป็นพื้นสนามหญ้า โอ่งน้ำ กระถางต้นไม้ พื้นโรยหินหรือกรวด เป็นต้น รูปแบบของโซ่ระบายน้ำฝนมีให้เลือกใช้ได้หลากหลายเพื่อให้เข้ากับสไตล์บ้านได้ Single Image กันสาดซ่อนรางน้ำพร้อมโซ่ระบายน้ำฝนหรือโซ่รางน้ำฝน >ภาพ: โซ่ระบายน้ำฝน (Rain Chain) ที่ต่อจากรางน้ำฝนแบบซ่อนของหลังคากันสาด Single Image โซ่ระบายน้ำฝนหรือโซ่รางน้ำฝนจากหลังคา >ภาพ: โซ่ระบายน้ำฝน (Rain Chain) แบบถ้วย สามารถช่วยชะลอความแรงของการระบายน้ำฝนได้ รางน้ำฝน พร้อมบริการติดตั้ง คลิก\{.button .newtab} {.centered} >## 3. ต่อเติมหลังคากันสาดแบบไม่ติดตั้งรางน้ำหลังคาหรือรางน้ำฝนใดๆ >ในกรณีที่ต่อเติมหลังคากันสาดโดยไม่ติดตั้งรางน้ำหลังคา ก็สามารถออกแบบลักษณะปลายแผ่นหลังคากันสาดได้หลายแบบไม่ว่าจะเป็น การเว้นช่องว่างระหว่างปลายแผ่นกับโครงหลังคา เพื่อช่วยซ่อนปลายหลังคาให้เรามองเห็นเพียงของโครงสร้างโดยรอบ หรือการยื่นปลายแผ่นหลังคาเลยโครงสร้างออกไป ลักษณะการระบายน้ำจะไหลตามแรงโน้มถ่วงสู่ปลายแผ่นหลังคาก่อนตกกระทบลงพื้น Single Image หลังคากันสาดซ่อนปลายหลังคา >ภาพ: กันสาดแบบเหลือช่องว่างระหว่างปลายกับโครงหลังคาเพื่อซ่อนปลายแผ่นหลังคา Single Image วัสดุมุงโปร่งแสงเลยขอบหลังคากันสาด >ภาพ: กันสาดแบบยึดแผ่นกระเบื้องหลังคาเลยขอบโครงสร้าง >สำหรับหลังคากันสาดไม่ว่าจะเลือกติดตั้งรางน้ำหรือไม่ สิ่งที่ต้องคำนึงคือ การระบายน้ำจะต้องไม่ส่งผลกระทบต่อพื้นด้านล่าง หรือส่งผลกระทบเสียหายบริเวณโดยรอบ การดีไซน์รางน้ำก็เช่นกัน ไม่ว่าจะซ่อนหรือไม่ ต้องดูแลทำความสะอาดรางน้ำให้สะอาด ไม่มีสิ่งสกปรก ใบไม้หรือกิ่งไม้มาขวางทางน้ำซึ่งจะลดคุณภาพการระบายน้ำลงได้ >ขอบคุณภาพประกอบบทความจาก คิวช่าง Q-Chang >อ่านเพิ่มเติม: สวนพัง ผนังเปื้อน เพื่อนบ้านบ่น...รางน้ำฝนช่วยได้ รางน้ำฝน พร้อมบริการติดตั้ง คลิก\{.button .newtab} {.centered}
ไอเดียการเลือกวัสดุเพื่อต่อเติมหลังคาโรงรถและหลังคากันสาด ทั้งวัสดุมุงหลังคาโปร่งแสงและแบบทึบแสง ซึ่งตอบโจทย์เรื่องภาพลักษณ์กับการใช้งานที่แตกต่างกันไป >หลังคาโรงรถและหลังคากันสาด เป็นส่วนที่หลายบ้านนิยมติดตั้งหรือต่อเติมเพิ่มพื้นที่ใช้สอย เพิ่มร่มเงา ช่วยบังแดดบังฝน ซึ่งในปัจจุบันมีวัสดุสำหรับหลังคาโรงรถและกันสาดให้เลือกมากมาย ทั้ง “หลังคาโปร่งแสง” หรือที่เรียกกันว่า หลังคาใส ซึ่งให้ความรู้สึกโปร่งโล่งสบาย กับอีกแบบคือ “หลังคาแบบทึบแสง” ที่ช่วยกันแดดได้ดี อีกทั้งเพิ่มลูกเล่นได้หลากหลาย >## ไอเดียตกแต่งหลังคาโรงรถ กันสาด แบบหลังคาโปร่งแสง** >สำหรับหลังคาโปร่งแสงจะมีหลายวัสดุ เช่น ไฟเบอร์กลาส อะคริลิก และโพลีคาร์บอเนต ซึ่งมีหลายสีให้เลือกใช้ที่จะให้อารมณ์และความรู้สึกแตกต่างกันไป หลังคาโปร่งแสงนี้นอกจากจะให้เราได้รับแสงแดดธรรมชาติ ยังทำลูกเล่นระแนงใต้หลังคาได้หลากหลาย เช่น ตีระแนงเป็นจังหวะถี่ขึ้นเพื่อเพิ่มความน่าสนใจของเงาตกกระทบ หรือจะผสมระหว่างระแนงถี่กับระแนงห่างมาจัดวางอยู่ด้วยกันให้เกิดเป็นจังหวะที่น่าสนใจ นอกจากนี้ ยังสามารถเลือกสีหลังคาโปร่งแสงมาผสมกันได้ด้วย สิ่งสำคัญของการเลือกใช้หลังคาโปร่งแสงคือควรหมั่นดูแลทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้หลังคาโรงรถหรือกันสาดของเราดูสวยใสไร้ที่ติตลอดเวลา >อ่านเพิ่มเติม: 4 วิธีทำหลังคาโปร่งแสงฉบับลดบ้านร้อน หลังคาโปร่งแสงอะคริลิก โพลีคาร์บอเนต ไฟเบอร์กลาส หลังคาโรงรถ SCG หลังคากันสาด กันสาดโรงรถ ต่อเติมโรงรถ หลังคาใส หลังคาโปร่งแสง >ภาพ: หลังคาโรงรถแบบหลังคาโปร่งแสง หรือหลังคาใส ที่ให้ความรู้สึกโปร่งโล่งสบายและยังได้รับแสงธรรมชาติ (ซ้ายบน) หลังคาอะคริลิก Shinkolite (ขวาบน) โพลีคาร์บอเนต (ล่าง)ไฟเบอร์กลาส >ขอบคุณภาพ: www.shinkolite.co.th และ บริษัท สยามไฟเบอร์กลาส จํากัด สนใจบริการต่อเติมหลังคาโรงรถและกันสาด คลิก\{.button .newtab} {.centered} ลูกเล่นระแนงหลังคาอะคริลิก ระแนงหลังคา หลังคาโรงรถ SCG หลังคากันสาด กันสาดโรงรถ ต่อเติมโรงรถ หลังคาใส หลังคาโปร่งแสง >ภาพ: ตัวอย่างลูกเล่นระแนงแบบมาตรฐาน กับระแนงแบบถี่ ของหลังคาโปร่งแสงอะคริลิก >ขอบคุณภาพ: www.shinkolite.co.th หลังคาโปร่งแสงโพลีคาร์บอเนต ระแนงหลังคา หลังคาโรงรถ SCG ต่อเติมโรงรถ หลังคาใส หลังคาโปร่งแสง >ภาพ: ตัวอย่างหลังคาโปร่งแสงโพลีคาร์บอเนต ควบคู่กับการติดตั้งระแนงแบบถี่ หลังคาโปร่งแสงอะคริลิก ระแนงหลังคา หลังคาโรงรถ SCG หลังคากันสาด ต่อเติมโรงรถ หลังคาใส หลังคาโปร่งแสง >ภาพ: หลังคาโปร่งแสงอะคริลิกที่ระแนงถี่และห่างอยู่ด้วยกัน >ขอบคุณภาพ: www.shinkolite.co.th สนใจบริการต่อเติมหลังคาโรงรถและกันสาด คลิก\{.button .newtab} {.centered} หลังคาโปร่งแสงอะคริลิก ระแนงหลังคา หลังคาโรงรถ SCG ต่อเติมโรงรถ หลังคาใส หลังคาโปร่งแสง >ภาพ: หลังคาโปร่งแสงอะคริลิก โดยเลือกตีระแนงถี่ห่างสลับกัน >ขอบคุณภาพ: www.shinkolite.co.th เลือกซื้อหลังคาโปร่งแสง ไฟเบอร์กลาส อะคริลิก คลิก\{.button .newtab} {.centered} หลังคาโพลีคาร์บอเนต ระแนงหลังคา หลังคาโรงรถ SCG ต่อเติมโรงรถ หลังคาใส หลังคาโปร่งแสง >ภาพ: การติดตั้งหลังคาโพลีคาร์บอเนต ที่เลือกสีเข้มกับสีอ่อนมาติดตั้งคู่กัน และเล่นลูกเล่นระแนงถี่ห่างให้เกิดความน่าสนใจ หลังคาโปร่งแสงไฟเบอร์กลาส ระแนงหลังคา หลังคาโรงรถ SCG ต่อเติมโรงรถ หลังคาใส หลังคาโปร่งแสง >ภาพ: ตัวอย่างหลังคาโปร่งแสงไฟเบอร์กลาส ตีระแนงทึบสลับโปร่ง หลังคาโปร่งแสงไฟเบอร์กลาส ระแนงหลังคา หลังคาโรงรถ SCG ต่อเติมโรงรถ หลังคาใส หลังคาโปร่งแสง >ภาพ: ตัวอย่างหลังคาโปร่งแสงไฟเบอร์กลาสกับลูกเล่นระแนงแบบไม่ซ้ำใคร เลือกซื้อหลังคาโปร่งแสง อะคริลิก ไฟเบอร์กลาส คลิก\{.button .newtab} {.centered} >. สนใจบริการต่อเติมหลังคาโรงรถและกันสาด คลิก\{.button .newtab} {.centered} >## ไอเดียตกแต่งหลังคาโรงรถ กันสาด แบบหลังคาทึบแสง >สำหรับการเลือกใช้หลังคาทึบแสงที่ช่วยป้องกันได้ทั้งแดดและฝน ดูแลง่ายกว่าหลังคาแบบโปร่งแสง จะมีวัสดุเมทัลชีทและไวนิลให้เลือกใช้ ซึ่งจะเลือกโชว์ท้องวัสดุหรือปิดฝ้าก็ได้ หากใครชอบความดิบเท่ก็สามารถเลือกใช้หลังคาเมทัลชีทแบบโชว์ท้องวัสดุได้ ส่วนวัสดุหลังคาไวนิลจะสามารถโชว์ท้องวัสดุโดยที่ยังดูเรียบร้อยสวยงาม หลังคาเมทัลชีท หลังคาโรงรถ SCG โรงรถหน้าบ้าน ต่อเติมโรงรถ หลังคาทึบ >ภาพ: หลังคาเมทัลชีทแบบเปลือยฝ้าหรือโชว์ท้องวัสดุที่ดูดิบเท่ >ขอบคุณภาพ: www.q-chang.com และ www.syssteel.com หลังคาเมทัลชีท หลังคาโรงรถ SCG โรงรถหน้าบ้าน ต่อเติมโรงรถ หลังคาทึบ >ภาพ: หลังคาเมทัลชีทที่ปิดฝ้าด้วยวัสดุไม้ที่ดูเป็นธรรมชาติและเข้ากับวัสดุเหล็กสีดำได้เป็นอย่างดี >ขอบคุณภาพ: www.q-chang.com เลือกซื้อหลังคาเมทัลชีท คลิก\{.button .newtab} {.centered} หลังคาไวนิล หลังคาโรงรถ SCG โรงรถหน้าบ้าน หลังคากันสาด กันสาดโรงรถ ต่อเติมโรงรถ หลังคาทึบ >ภาพ: หลังคาไวนิลที่โชว์ท้องวัสดุซึ่งดูเรียบร้อยสวยงาม >ขอบคุณภาพ: www.q-chang.com >เมื่อเลือกหลังคาแบบที่ชอบที่ใช่ให้ตอบโจทย์วิถีชีวิตเราแล้ว อย่าลืมเลือกช่างที่ชำนาญมาติดตั้งให้ถูกวิธีตามมาตรฐานผู้ผลิตเพื่อความแข็งแรงและปลอดภัย >อ่านเพิ่มเติม: ต่อเติมโรงจอดรถหน้าบ้านแบบไหน ให้แข็งแรงและสวยงาม สนใจบริการต่อเติมหลังคาโรงรถและกันสาด คลิก\{.button .newtab} {.centered}
เรื่องที่เจ้าของบ้านควรรู้ก่อนจะเลือกติดฉนวนกันความร้อน เอสซีจี รุ่น STAY COOL เพื่อลดความร้อนในบ้าน ให้ตอบโจทย์การทำบ้านเย็นได้อย่างคุ้มค่า >เป็นที่รู้กันว่า อากาศร้อนอบอ้าวในบ้านทุกวันนี้สร้างความเดือดเนื้อร้อนกายแก่ผู้อาศัยมิใช่น้อย หลายคนยอมจ่ายค่าไฟแสนแพงเพื่อเปิดแอร์คลายร้อน ในขณะเดียวกัน การติดฉนวนกันความร้อนบนฝ้าเพดาน อย่างฉนวนกันความร้อน เอสซีจี รุ่น STAY COOL หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า “ฉนวนกันความร้อน STAY COOL” ก็เป็นอีกวิธีง่ายๆ ที่ช่วยลดความร้อนในบ้านแบบไม่ต้องพึ่งอุปกรณ์ไฟฟ้า ทั้งยังไม่เป็นอันตรายด้วยเนื้อฉนวนที่เป็นใยแก้ว ไม่ลามไฟ และไม่ใช่สารก่อมะเร็ง อย่างไรก็ตาม ก่อนจะตัดสินใจสั่งซื้อฉนวนกันความร้อน STAY COOL มีเรื่องที่เจ้าของบ้านควรคำนึงดังต่อไปนี้ >## 1) ระยะเหนือฝ้าสูงพอไหม ? >บ้านที่จะติดตั้งฉนวนกันความร้อน STAY COOL บนฝ้าเพดานนั้น ควรมีระยะเหนือฝ้าไม่ต่ำกว่า 1 เมตร เพื่อให้ช่างสามารถขึ้นไปติดตั้งฉนวนได้ ฉนวนกันความร้อน แผ่นฉนวนกันความร้อน ฉนวนกันความร้อนหลังคา ฉนวนกันความร้อนใต้หลังคา ติดฉนวนกันความร้อน ฉนวนกันความร้อนบนฝ้า ติดตั้งฉนวนกันความร้อน ปูฉนวนกันความร้อนบนฝ้า ภาพ: การทำงานของช่างปูฉนวนบริเวณพื้นที่เหนือฝ้าเพดาน บริการติดตั้งฉนวนกันความร้อน STAYCOOL คลิก\{.button .newtab} {.centered} >## 2) รูปแบบฝ้าเพดานบ้านเราเหมาะจะติดฉนวนหรือไม่ ? >ฉนวนกันความร้อน STAY COOL จะเหมาะกับการปูบนฝ้าฉาบเรียบและฝ้าทีบาร์ โดยติดตั้งตรงๆ ขนานกับพื้น (ถ้าบ้านเก่าแล้วลองเช็คโครงคร่าวฝ้ากันเสียหน่อย ว่าสภาพยังดีพอจะรับน้ำหนักฉนวนได้หรือไม่) ส่วนบ้านที่ตีฝ้าลาดเอียงตามหลังคาจะต้องมาดูกันอีกทีว่าติดตั้งได้หรือไม่ หากฝ้าลาดเอียงชันมาก หรือเป็นบ้านที่สร้างเสร็จอยู่อาศัยไปแล้ว บางทีก็ไม่สามารถติดตั้งได้ แนะนำให้ติดต่อทีมช่างมาสำรวจก่อนเพื่อความแน่ใจ > บ้านเย็น ฉนวนกันความร้อน แผ่นฉนวนกันความร้อน ฉนวนกันความร้อนหลังคา ฉนวนกันความร้อนใต้หลังคา ติดฉนวนกันความร้อน ฉนวนกันความร้อนบนฝ้า ติดตั้งฉนวนกันความร้อน ปูฉนวนกันความร้อนบนฝ้า ภาพ: ฝ้าเพดานฉาบเรียบ ตีแนวตรงขนานกับพื้น เหมาะกับการติดฉนวนกันความร้อน เอสซีจี รุ่น STAY COOL > บ้านเย็น ฉนวนกันความร้อน แผ่นฉนวนกันความร้อน ฉนวนกันความร้อนหลังคา ฉนวนกันความร้อนใต้หลังคา ติดฉนวนกันความร้อน ฉนวนกันความร้อนบนฝ้า ติดตั้งฉนวนกันความร้อน ปูฉนวนกันความร้อนบนฝ้า >ภาพ: เพดานติดตั้งฝ้าทีบาร์ ตีแนวตรงขนานกับพื้น เหมาะกับการติดฉนวนกันความร้อน เอสซีจี รุ่น STAY COOL บ้านร้อน ฉนวนกันความร้อน แผ่นฉนวนกันความร้อน ฉนวนกันความร้อนหลังคา ฉนวนกันความร้อนใต้หลังคา ติดฉนวนกันความร้อน ฉนวนกันความร้อนบนฝ้า ติดตั้งฉนวนกันความร้อน ปูฉนวนกันความร้อนบนฝ้า >ภาพ: เพดานที่มีฝ้าลาดเอียงตามหลังคา ควรให้ช่างตรวจสอบดูว่าสามารถติดตั้งฉนวนกันความร้อน เอสซีจี รุ่น STAY COOL ได้หรือไม่ >อ่านเพิ่มเติม: ฝ้าเอียงตามหลังคา ติดฉนวนกันความร้อน STAY COOL ได้ไหม ? บริการติดตั้งฉนวนกันความร้อน STAYCOOL คลิก\{.button .newtab} {.centered} >## 3) เลือกฉนวนหนาเท่าไหร่ดี ? >หากมั่นใจว่าระยะเหนือฝ้ามากพอ และเป็นฝ้าแบบที่ติดตั้งฉนวนได้ ถัดมาจะเป็นเรื่องของความหนาฉนวนที่ต้องเลือก ระหว่าง 3 นิ้ว กับ 6 นิ้ว โดยคุณสมบัติแล้ว ฉนวนยิ่งหนาจะยิ่งกันความร้อนได้ดี (ดูจากตารางจะเห็นว่าฉนวนกันความร้อน STAY COOL หนา 6 นิ้ว มีค่าต้านทานความร้อนที่สูงกว่า) ตรงนี้อาจเลือกตามที่เจ้าของบ้านคิดว่าคุ้มค่าและเหมาะกับงบประมาณที่เตรียมไว้ (กรณีเลือกฉนวนหนา 6 นิ้ว ควรให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจเช็คโครงคร่าวฝ้าว่าแข็งแรงเหมาะสมหรือไม่ ทั้งเรื่องของสภาพการใช้งาน วัสดุ และมาตรฐานการติดตั้ง) ฉนวนกันความร้อนSTAYCOOL ฉนวนกันความร้อน แผ่นฉนวนกันความร้อน ฉนวนกันความร้อนหลังคา ฉนวนกันความร้อนใต้หลังคา ติดฉนวนกันความร้อน ฉนวนกันความร้อนบนฝ้า ติดตั้งฉนวนกันความร้อน ปูฉนวนกันความร้อนบนฝ้า >ภาพ: ตารางแสดงค่ากันความร้อนและรายละเอียดต่างๆ ของ ฉนวนกันความร้อน เอสซีจี รุ่น STAY COOL >## 4) ต้องใช้ฉนวนทั้งหมดกี่ม้วน ? ฉนวนกันความร้อน เอสซีจี รุ่น STAY COOL จำนวน 1 ม้วนใช้ปูได้ 2.4 ตารางเมตร ถ้าจะหาคำตอบว่าต้องซื้อกี่ม้วน ก็ให้วัดขนาดพื้นที่ฝ้าชั้นบนสุดที่จะปูฉนวน (ไม่รวมชายคา) ว่ามีกี่ตารางเมตร หารด้วย 2.4 โดยปัดเศษขึ้นเป็นจำนวนเต็ม ก็จะได้จำนวนม้วนฉนวนที่ต้องสั่งซื้อ (เช่น จะปูฉนวนเป็นพื้นที่ 100 ตารางเมตร หารด้วย 2.4 จะได้ 41.67 แสดงว่าต้องซื้อฉนวน 42 ม้วน เป็นต้น) พื้นที่ติดฉนวนSTAYCOOL ฉนวนกันความร้อน แผ่นฉนวนกันความร้อน ฉนวนกันความร้อนหลังคา ฉนวนกันความร้อนใต้หลังคา ติดฉนวนกันความร้อน ฉนวนกันความร้อนบนฝ้า ติดตั้งฉนวนกันความร้อน ปูฉนวนกันความร้อนบนฝ้า >ภาพ: สูตรคำนวณคร่าวๆ เพื่อกะจำนวนฉนวนกันความร้อน เอสซีจี STAY COOL ที่ควรสั่งซื้อ >นอกจากนี้ ยังมีอุปกรณ์เพิ่มเติม สำหรับติดตั้งฉนวนที่ควรซื้อเพิ่ม คือ >- เครื่องเย็บลวดขนาดใหญ่ (เบอร์ 35 ขึ้นไป) สำหรับปิดหัวท้ายฉนวนเพื่อความเรียบร้อยแข็งแรง แนะนำเย็บประมาณ 5 ตำแหน่ง ต่อปลายฉนวน 1 ด้าน >- เทปอะลูมิเนียมฟอยล์ ใช้ซ่อมรอยฉีกขาดบนอะลูมิเนียมฟอยล์ (สามารถใช้ปิดหัวท้ายฉนวนได้ด้วย แต่อาจจะสะดวกรวดเร็วไม่เท่าใช้เครื่องเย็บลวด) และใช้เก็บขอบกรณีที่ต้องเจาะฉนวนเพื่อเว้นช่องโคมไฟดาวน์ไลท์ โดยเทป 1 ม้วน ยาว 4.5 เมตร ใช้เก็บขอบช่องโคมไฟดาวน์ไลท์ได้ประมาณ 5 ดวง ฉนวนSTAYCOOLดาวน์ไลท์ ฉนวนกันความร้อน แผ่นฉนวนกันความร้อน ฉนวนกันความร้อนหลังคา ฉนวนกันความร้อนใต้หลังคา ติดฉนวนกันความร้อน ฉนวนกันความร้อนบนฝ้า ติดตั้งฉนวนกันความร้อน ปูฉนวนกันความร้อนบนฝ้า >ภาพ: การเจาะฉนวนเว้นช่องโคมไฟดาวน์ไลท์ เก็บขอบด้วยเทปอะลูมิเนียมฟอยล์ บริการติดตั้งฉนวนกันความร้อน STAYCOOL คลิก\{.button .newtab} {.centered} >## 5) ซื้อฉนวนอย่างเดียว กับซื้อฉนวนพร้อมบริการติดตั้ง แบบไหนดีกว่า ? >การสั่งซื้อฉนวนกันความร้อน STAY COOL ไม่ว่าจะเป็นจากร้านค้าปลีก หรือร้านค้าออนไลน์ สามารถเลือกได้ว่าจะซื้อฉนวนเดี่ยวๆ หรือซื้อฉนวนพ่วงบริการติดตั้งด้วย หากมีช่างที่เชื่อใจได้ หรือเป็นบ้านที่กำลังสร้างอยู่ อาจเลือกซื้อเฉพาะฉนวนไปติดตั้งบนฝ้าเพดานเอง แต่สำหรับบ้านที่อยู่อาศัยไปแล้วและยังไม่รู้ว่าจะหาช่างที่ไหน การเลือกซื้อฉนวนพร้อมบริการติดตั้งก็เป็นทางเลือกที่สะดวก ฉนวนSTAYCOOLพร้อมติดตั้ง ฉนวนกันความร้อน แผ่นฉนวนกันความร้อน ฉนวนกันความร้อนหลังคา ฉนวนกันความร้อนใต้หลังคา ติดฉนวนกันความร้อน ฉนวนกันความร้อนบนฝ้า ติดตั้งฉนวนกันความร้อน ปูฉนวนกันความร้อนบนฝ้า >ภาพ: การทำงานของช่างขณะให้บริการติดตั้ง ฉนวนกันความร้อน เอสซีจี รุ่น STAY COOL >ขอทิ้งท้ายก่อนจบว่า การใช้ฉนวนกันความร้อน เอสซีจี รุ่น STAY COOL ที่ช่วยให้บ้านเย็นขึ้นได้อย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพนั้น ต้องหมั่นหาทางระบายอากาศออกจากบ้านด้วย เนื่องจากภายในบ้านเองก็มีความร้อนเกิดขึ้น หากไม่ปล่อยระบายออกไปจะยิ่งร้อนอบอ้าว ทำนองว่าเมื่อฉนวนทำหน้าที่กั้นความร้อนไม่ให้ผ่านเข้าบ้านได้ อากาศร้อนในบ้านเองก็ถูกกักไม่ให้ออกเช่นกัน ดังนั้น การระบายอากาศที่ดีจึงเป็นเรื่องสำคัญมากสำหรับบ้านที่ติดฉนวนกันความร้อน >อ่านเพิ่มเติม: ฉนวนกันความร้อน STAY COOL ใช้ได้กี่ปี หากหมดอายุการใช้งานต้องทำอย่างไร บริการติดตั้งฉนวนกันความร้อน STAYCOOL คลิก\{.button .newtab} {.centered}
เราสามารถติดฉนวนกันความร้อน STAY COOL บนฝ้าเพดานที่ลาดเอียงไปตามหลังคาได้หรือไม่...ไม่ว่าจะเป็นบ้านสร้างใหม่หรือบ้านที่อยู่อาศัยไปแล้ว มีเรื่องอะไรที่ต้องคำนึงบ้าง >เมื่อพูดถึงปัญหาบ้านร้อน หลายคนใช้วิธีแก้ปัญหาตามแนวคิดบ้านไทยโบราณ โดยใช้วิธีทำหลังคาทรงสูงชันพร้อมชายคายื่นยาวช่วยกันแดดฝนและระบายความร้อน บางบ้านตั้งใจใช้ลูกเล่นตีฝ้าเพดานเอียงตามหลังคาให้ดูสวยงามไปอีกแบบ โดยต้องการติดฉนวนกันความร้อน STAY COOL บนฝ้า ช่วยลดความร้อนจากหลังคาให้บ้านเย็นขึ้นอีกด้วย คำถามคือ ปกติแล้วฉนวนกันความร้อน เอสซีจี รุ่น STAY COOL จะติดตั้งโดยวางราบไปบนฝ้าเพดานเรียบๆ แล้วฝ้าเพดานที่เอียงลาดไปตามหลังคาแบบนี้ล่ะ จะติดตั้งได้ไหม ? >คำตอบคือ ก็ต้องมาดูความเป็นไปได้หน้างานกันก่อน โดยเฉพาะเรื่อง “ระยะเหนือฝ้าเพดาน” ช่องว่างระหว่างฝ้าเพดานกับหลังคา ควรมีระยะไม่ต่ำกว่า 1 เมตร เพื่อให้ช่างสามารถขึ้นไปติดตั้งฉนวนกันความร้อนบนฝ้าเพดานได้ (เช่นเดียวกับกรณีติดตั้ง ฉนวนกันความร้อน เอสซีจี รุ่น STAY COOL บนฝ้าเพดานทั่วไป) อีกเรื่องหนึ่งที่สำคัญก็คือ “ความชัน” สำหรับหลังคาที่มีความชันมาก การติดตั้งฉนวนกันความร้อนรวมถึงการเก็บงานมักทำได้ยาก ฉนวนกันความร้อน แผ่นฉนวนกันความร้อน ฉนวนกันความร้อนหลังคา ฉนวนกันความร้อนใต้หลังคา ติดฉนวนกันความร้อน ฉนวนกันความร้อนบนฝ้า ติดตั้งฉนวนกันความร้อน ปูฉนวนกันความร้อนบนฝ้า >ภาพ: ความชันของฝ้าเพดานเป็นอีกปัจจัยที่ต้องตรวจเช็คก่อนติดตั้งฉนวนกันความร้อน เอสซีจี รุ่น STAY COOL สนใจบริการ ติดตั้งฉนวนกันความร้อน STAY COOL คลิก\{.button .newtab} {.centered} >สำหรับบ้านสร้างใหม่ที่กำลังอยู่ในขั้นตอนก่อสร้าง หากระยะเหนือฝ้าเพดานและความชันหลังคาอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม การติดตั้งฉนวนกันความร้อน เอสซีจี รุ่น STAY COOL บนฝ้าเพดานที่ลาดตามหลังคาก็ทำได้ไม่ยากนัก โดยเมื่อติดตั้งโครงคร่าวสำหรับฝ้าเพดานเรียบร้อยแล้ว ก็สามารถสอดฉนวนกันความร้อนเข้าในช่องระหว่างโครงคร่าวฝ้าเพดาน ขยับให้เข้าที่ และเก็บงานให้เรียบร้อย หลังจากนั้นจึงค่อยติดตั้งฝ้าเพดาน >ส่วนบ้านที่อยู่อาศัยไปแล้วก็อาจทำได้ แต่จะลำบากขึ้น ด้วยฝ้าเพดานที่ปิดอยู่ทำให้ขยับเขยื้อนฉนวนกันความร้อนได้ยากกว่า ส่วนช่องเซอร์วิสบนฝ้าเพดานก็ต้องกว้างใหญ่พอที่จะให้ช่างมุดขึ้นไปติดตั้งฉนวนกันความร้อนได้ นอกจากนี้จะต้องตรวจเช็คสภาพโครงคร่าวฝ้าเพดานที่มีอยู่ ว่าแข็งแรงพอจะรับน้ำหนักฉนวนที่เพิ่มขึ้นมาได้หรือไม่ (โดยเฉพาะบ้านไม้ยิ่งต้องตรวจดูเป็นพิเศษ) ฉนวนกันความร้อน แผ่นฉนวนกันความร้อน ฉนวนกันความร้อนหลังคา ฉนวนกันความร้อนใต้หลังคา ติดฉนวนกันความร้อน ฉนวนกันความร้อนบนฝ้า ติดตั้งฉนวนกันความร้อน ปูฉนวนกันความร้อนบนฝ้า >ภาพ: การเปิดฝ้าเพดาน (ซ้าย) และการสอดฉนวนกันความร้อน เอสซีจี รุ่น STAY COOL ขึ้นผ่านช่องเซอร์วิสบนฝ้าเพดาน (ขวา) สนใจบริการ ติดตั้งฉนวนกันความร้อน STAY COOL คลิก\{.button .newtab} {.centered} >จะเห็นได้ว่าการติดตั้งฉนวนกันความร้อน เอสซีจี รุ่น STAY COOL บนฝ้าเพดานที่ลาดตามหลังคานั้น ถ้าเป็นบ้านสร้างใหม่จะมีโอกาสติดตั้งได้ง่ายกว่าบ้านที่อยู่อาศัยไปแล้ว แต่ทั้งนี้ไม่ว่ากรณีใดก็ตาม ในเบื้องต้นควรให้ช่างทำการสำรวจหน้างานเสียก่อน เพื่อดูความเป็นไปได้ในการติดตั้ง รวมถึงเรื่องอุปกรณ์เสริมสำหรับยึดฉนวนที่อาจจำเป็นต้องใช้เพิ่มเติมในแต่ละกรณี >สำหรับบ้านใหม่ที่กำลังจะก่อสร้างแล้วพบว่า ระยะเหนือฝ้าเพดานหรือความชันหลังคาไม่เหมาะจะติดตั้งฉนวนกันความร้อน เอสซีจี รุ่น STAY COOL อาจหันมาพึ่งอีกทางเลือกที่ช่วยให้บ้านเย็นขึ้น คือ ใช้แผ่นสะท้อนความร้อน เอสซีจี ซึ่งออกแบบมาสำหรับติดตั้งบนแปก่อนจะมุงกระเบื้องหลังคา โดยมีฉนวนใยแก้วกันความร้อนซ่อนอยู่ด้านใน วิธีนี้ก็จะช่วยลดปัญหาบ้านร้อนได้ระดับหนึ่ง ฉนวนกันความร้อน แผ่นฉนวนกันความร้อน ฉนวนกันความร้อนหลังคา ฉนวนกันความร้อนใต้หลังคา ติดฉนวนกันความร้อน ฉนวนกันความร้อนบนฝ้า ติดตั้งฉนวนกันความร้อน ปูฉนวนกันความร้อนบนฝ้า >ภาพ: ภาพตัดแสดงหลังคาที่ติดตั้งแผ่นสะท้อนความร้อน เอสซีจี รุ่น อัลตร้าคูล(ซึ่งมีฉนวนใยแก้วกันความร้อนซ่อนอยู่ด้านใน) >อ่านเพิ่มเติม: จะติดฉนวนกันความร้อน STAY COOL ควรมีระยะเหนือฝ้าเท่าไหร่ ? สนใจบริการ ติดตั้งฉนวนกันความร้อน STAY COOL คลิก\{.button .newtab} {.centered}