หลายคนน่าจะเคยพบเจออากาศร้อนนอกบ้าน แล้วหวังว่ากลับเข้ามาในบ้านจะได้พักผ่อนเต็มที่กับอากาศในบ้านที่ควรจะเย็นขึ้น แต่กลับเจออากาศที่ร้อนอบอ้าวหนักกว่าเดิม เหตุการณ์ลักษณะนี้อาจไม่ต่างอะไรกับหลายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน ยกตัวอย่างเช่น ตอนที่เราเดินกลางแจ้งเพื่อเข้าไปนั่งใต้หลังคาสังกะสีของร้านอาหารแต่กลับรู้สึกร้อนหนักกว่าเดิม หรือเข้าไปในรถที่จอดตากแดดและปิดกระจกไว้มิดชิดก็จะรู้สึกทั้งร้อนและอบอ้าวยิ่งขึ้น จนต้องลดกระจกเพื่อระบายความร้อนและกว่าแอร์ที่เปิดจะเย็นฉ่ำมักจะใช้เวลาพอสมควร ทีนี้เรากลับมาดูที่บ้านเรากันว่าอะไรคือสาเหตุที่ทำให้ในบ้านที่น่าจะร่มเย็นกลับร้อนกว่าภายนอกบ้านที่มีแดดแรงกล้า
หลังคาบ้านเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้บ้านร้อน นั่นเป็นเพราะว่า หลังคาบ้านเป็นส่วนแรกที่ได้รับแสงแดดโดยตรง และได้รับแสงแดดเป็นระยะเวลานานกว่าส่วนอื่น ๆ ของบ้าน (ประมาณ 70% ของความร้อนทั้งหมดที่ได้รับ) หากไม่ได้ลดความร้อนที่หลังคาไม่ว่าจะเป็นการเลือกวัสดุหลังคาที่อมความร้อนน้อย (กว่าวัสดุอื่น) การติดตั้ง ฉนวนกันความร้อน ตลอดจนการระบายความร้อนใต้หลังคาออกไปเพื่อลดความร้อนที่จะแผ่ลงมา ก็จะทำให้ภายในบ้านร้อนมากนั่นเอง
ความร้อนที่ผ่านเข้ามาในบ้านรองลงมาคือทางช่องแสงต่าง ๆ ซึ่งความร้อนสามารถผ่านเข้ามาในบ้านได้โดยตรง โดยเฉพาะช่วงบ่ายในทิศตะวันตกหรือทิศใต้ หากไม่ได้มีหลังคากันสาด หรือระแนงช่วยกรองแสงภายนอก หรือติดตั้งผ้าม่าน / มูลี่ หรือติดฟิล์มกรองแสงไว้ภายในบ้านเพื่อลดความร้อน ความร้อนก็จะผ่านเข้ามาสะสมในตัวบ้านได้เต็มที่ไม่น้อย
ภาพ: ตัวอย่างบ้านที่ได้รับแสงแดดตลอดทั้งวัน
ผนังบ้านจะรับแสงแดดในช่วงเวลากลางวัน จะเก็บสะสมความร้อนไว้ในตัว พอตกเย็นแดดหมด ความร้อนในผนังที่เก็บสะสมไว้ตั้งแต่กลางวัน จะค่อย ๆ คายออกมา ทำให้ภายในบ้านร้อนอบอ้าวเหมือนเตาอบ เป็นสาเหตุที่ทำให้บ้านร้อนในตอนหัวค่ำจนถึงกลางคืน
หลายบ้านที่มักปิดประตูหน้าต่างมิดชิดในช่วงกลางวันเพราะไม่มีคนอยู่บ้าน หรือเพราะปัญหาฝุ่นภายนอกบ้านที่ส่งผลต่อสุขภาพร่างกาย ทำให้ความร้อนที่ผ่านเข้ามาจากหลายช่องทางที่กล่าวมาสะสมอยู่ในบ้าน ตลอดจนความร้อนจากอุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ ที่ปล่อยออกมาไม่มีช่องทางระบายออก ภายในบ้านจึงร้อนอบอ้าวมากขึ้นเรื่อย ๆ ยิ่งไปกว่านั้น บ้านที่การระบายถ่ายเทอากาศไม่ดีพอ จะเป็นสะสมความชื้นและเชื้อโรคต่าง ๆ อีกด้วย
สนใจ ระบบระบายอากาศ Active Airflow System คลิก
ภาพ: ตัวอย่างการจัดวางเฟอร์นิเจอร์ที่ทำให้อากาศถ่ายเท
หลายคนมักจะจัดวางเฟอร์นิเจอร์ตามหลักการของฮวงจุ้ยหรือความสวยงาม แต่หากวางเฟอร์นิเจอร์ผิดที่บังทิศทางลมผ่านเข้า-ออก หรือทำเฟอร์นิเจอร์บิวด์-อินปิดช่องหน้าต่าง จะเป็นอีกเหตุผลที่ทำให้การถ่ายเทอากาศในบ้านเราไม่ดีพอ ส่งผลให้บ้านร้อนและรู้สึกอึดอัดได้
ภาพ: ตัวอย่างการเพิ่มพื้นที่สีเขียวภายนอกบ้านช่วยลดบ้านร้อน
บ้านเดี่ยว บ้านแฝด หรือทาวน์เฮาส์หลังริมที่มีบริเวณโดยรอบแสงแดดส่องถึง ที่เจ้าของบ้านอาจไม่มีเวลาดูแล จึงไม่ได้ปลูกหญ้า ปลูกต้นไม้ หรือจัดสวนให้ร่มรื่น และยังเลือกปูพื้นด้วยวัสดุที่อมความร้อนเพื่อให้ดูแลรักษาง่าย เช่น พื้นคอนกรีต ซึ่งมีคุณสมบัติอมความร้อนในช่วงกลางวันได้ดี และคายความร้อนในช่วงเย็นค่ำเข้าสู่บ้าน นับเป็นปัจจัยเสริมที่ทำให้ภายในบ้านร้อนมากขึ้นเช่นกัน
ภาพ: ตัวอย่างบ้านที่แม้จะมีแสงเข้าตลอดทั้งวันแต่ก็ยังมีม่านบัง
จากที่เล่ามาสรุปได้ว่าสาเหตุจากบ้านร้อน เมื่อมีความร้อนจากภายนอกผ่านเข้ามาในบ้านจากช่องทางต่าง ๆ ได้ง่าย ๆ รวมถึงความร้อนภายในบ้านที่เกิดจากอุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ ถูกสะสมไว้และไม่มีทางระบายออก จึงทำให้เรารู้สึกร้อนอบอ้าวมากขึ้นกว่าตอนที่อยู่นอกบ้านทั้ง ๆ ที่อากาศภายนอกบ้านนั้นสูงและมีแสงแดดแรงอย่างในฤดูร้อน ซึ่งแนวทางการแก้ปัญหามี 2 หลักการใหญ่ ๆ คือ การลดความร้อนและการระบายความร้อน โดยแนะนำให้เริ่มแก้ปัญหาที่หลังคาก่อน ทั้งการติดตั้งฉนวนกันความร้อนและเพิ่มช่องทางระบายความร้อนในโถงหลังคา จากนั้นจึงลดความร้อนและเพิ่มช่องทางระบายถ่ายเทอากาศในบ้านในส่วนอื่น ๆ ตามความเหมาะสม ทั้งนี้ ในบางกรณีอาจต้องพึ่งอุปกรณ์หรือเทคโนโลยีที่ช่วยลดความร้อนและระบายอากาศในบ้าน ซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยในการพิจารณาของเจ้าของบ้านต่อไป
SCG Home Experience
ค่าสำรวจบริการติดตั้งฉนวนกันความร้อน STAY COOL (กทม.และปริมณฑล)
1,000.00 บาท / งาน
SCG Home Experience
ค่าสำรวจบริการติดตั้งหลังคาโรงรถและกันสาด โดย SCG Home Experience
1,000.00 บาท / งาน
เนื่องในเทศกาลปีใหม่ การติดต่อนัดหมาย และการนำส่งใบเสนอราคา อาจจะล่าช้ากว่าปกติ