แนวทางปรับปรุงบ้านเย็น ด้วยการลดความร้อนที่ผนังบ้านโดยใช้วัสดุต่างๆ รวมถึงการป้องกันแสงแดดและความร้อนส่องผ่านกระจกประตูหน้าต่าง
เมื่อพูดถึงหน้าร้อนประเทศไทย เป็นที่รู้กันว่าความร้อนที่แผดเผาผนังบ้านและแดดที่สาดส่องเข้ามาทางประตูหน้าต่างนั้น ทำให้ผู้อยู่อาศัยร้อนกายทรมานใจ การปรับปรุงผนังหรือเพิ่มตัวช่วยบริเวณประตูหน้าต่าง ไม่ว่าจะเป็น การทาสีบ้านเย็น การใช้วัสดุติดตั้ง/ตกแต่งผนังเพื่อลดความร้อน การติดฟิล์ม ม่าน หลังคากันสาด เพื่อสู้แดดและความร้อนให้บ้านเย็นขึ้นนั้น นับเป็นทางเลือกดีๆ ที่นอกจากจะช่วยป้องกันความร้อนแล้ว ยังเปลี่ยนลุคในเชิงตกแต่ง สร้างบรรยากาศใหม่ๆ และอาจสร้างความเป็นส่วนตัวให้กับพื้นที่ในบ้านได้ด้วย
1) ทาสีผนังด้วยสีบ้านเย็น
สีทาบ้านบางรุ่นมีนวัตกรรมพิเศษช่วยลดความร้อนให้กับผนัง การทาสีประเภทนี้ภายนอกบ้าน จึงช่วยลดความร้อนที่เข้าสู่ตัวบ้าน ทำให้บ้านเย็นขึ้นได้ (แม้จะเลือกใช้เป็นสีเข้มก็ตาม)
ภาพ: การใช้สีทาภายนอกที่มีนวัตกรรมช่วยลดความร้อน เป็นอีกวิธีที่ช่วยให้บ้านเย็นขึ้น
2) ปรับปรุงผนังภายนอกให้เป็นผนังบ้านเย็น
ในปัจจุบัน วัสดุตกแต่งผนังบางรุ่น ก็มีคุณสมบัติที่ช่วยลดความร้อนด้วยเช่นกัน ยกตัวอย่าง ไม้ฝา เอสซีจี รุ่น คูลพลัส ซึ่งมีเทคโนโลยี Ceramic Plus เป็นเกราะป้องกันความร้อน และ Reflection Plus ช่วยสะท้อนความร้อน ตัววัสดุเป็นไม้เทียมไฟเบอร์ซีเมนต์ ทนต่อความชื้น สภาพอากาศภายนอก และไม่เป็นอาหารปลวก เหมาะสำหรับใช้ตกแต่งผนังภายนอกเพื่อบ้านเย็น
ภาพ: ตัวอย่างการทำผนังภายนอกให้เป็นผนังบ้านเย็น ด้วยไม้ฝา เอสซีจี รุ่น คูลพลัส ที่มีเทคโนโลยีป้องกันและสะท้อนความร้อน
สนใจสินค้า ไม้ฝา SCG รุ่นคูลพลัส คลิก
3) ปรับปรุงผนังภายในให้เป็นผนังบ้านเย็น
หากเจ้าของบ้านอยากทำผนังบ้านเย็น แต่ต้องการให้ผนังภายนอกเป็นลุคเดิม สามารถเลือกปรับปรุงผนังภายในแทนได้ โดยติดแผ่นยิปซัม/ไฟเบอร์ซีเมนต์ ซ้อนผนังเดิมพร้อมซ่อนฉนวนกันความร้อนไว้ด้านใน เหมาะกับผนังด้านที่โดนแดดแรงเป็นประจำ เช่น ฝั่งทิศตะวันตก เป็นต้น
ภาพ: ตัวอย่างการปรับปรุงผนังภายในให้เป็นผนังบ้านเย็น โดยทำผนังโครงเบาซ้อนอีกชั้นแล้วซ่อนฉนวนกันความร้อน เอสซีจี รุ่น COOL WALL ไว้ในช่องระหว่างโครงคร่าว
สนใจสินค้า ฉนวนกันความร้อน เอสซีจี รุ่น COOL WALL คลิก
4) ติดฟิล์มกันร้อนที่กระจกประตูหน้าต่าง
ใช้ฟิล์มกันร้อนคุณภาพสูงช่วยลดความร้อน และรังสี UV ที่ส่องผ่านทางกระจกประตู/หน้าต่างได้ดี ซึ่งในท้องตลาดจะมีให้เลือกหลายรุ่นมากมาย อย่างไรก็ตาม การติดฟิล์มเพื่อลดความร้อน แนะนำให้ดูที่ค่าการกันความร้อนเป็นหลัก โดยอาจเลือกคุณสมบัติอื่นที่ตอบโจทย์เพิ่มเติม เช่น ฟิล์มสีเข้มสำหรับบริเวณที่ต้องการความเป็นส่วนตัว ฟิล์มนิรภัยสำหรับบริเวณที่เกิดอุบัติเหตุง่ายหรือต้องการลดความเสี่ยงในการเกิดโจรกรรม เป็นต้น
ภาพ: การติดฟิล์มกันร้อนที่มีคุณภาพ ช่วยป้องกันความร้อนและรังสี UV ที่ส่องผ่านทางกระจกประตูหน้าต่าง
5) ติดผ้าม่าน/มู่ลี่บังแดด ที่ประตูหน้าต่างกระจก
การติดผ้าม่านหรือมู่ลี่ เป็นอีกวิธีที่ช่วยบังแดดและความร้อน รวมถึงสร้างความเป็นส่วนตัวได้ ทั้งยังมีรูปแบบสีสันหลากหลายให้เลือกตามบรรยากาศการตกแต่งที่ต้องการ บางชนิดมีคุณสมบัติกันแสงและความร้อนได้มากกว่าม่านทั่วไป เช่น ม่านดิมเอาท์ ม่านแบล็กเอาท์ เป็นต้น
ภาพ: ตัวอย่างการใช้ผ้าม่านและมู่ลี่ เพื่อป้องกันแดดและความร้อนจากกระจกหน้าต่าง
6) ต่อเติมหลังคากันสาดกันร้อน
การทำหลังคากันสาดเหนือประตูหน้าต่าง นอกจากจะช่วยกรองแแสงแดดและความร้อนที่ส่องผ่านกระจกประตูหน้าต่างให้บ้านเย็นขึ้นแล้ว ยังช่วยกันฝนสาดได้อีกด้วย กันสาดที่ใช้วัสดุมุงแบบทึบจะสร้างร่มเงาช่วยบังแดดและความร้อนได้มาก แลกกับบรรยากาศที่ดูมืดทึมลง ในทางกลับกันหากเจ้าของบ้านอยากเน้นความโปร่ง แนะนำให้ใช้กันสาดมุงแผ่นหลังคาโปร่งแสงที่มีคุณสมบัติช่วยกันความร้อนแทน
ภาพ: ตัวอย่างกันสาดโปร่งแสงแบบกันร้อน จากวัสดุอะคริลิก Shinkolite รุ่น Heat Cut
สนใจ บริการต่อเติมหลังคากันสาด เหมาเบ็ดเสร็จ คลิก
ภาพ: ตัวอย่างกันสาดโปร่งแสง จากแผ่นโปร่งแสง เอสซีจี ลอนกันสาด ซึ่งเป็นวัสดุไฟเบอร์กลาส
สนใจ บริการต่อเติมหลังคากันสาด เหมาเบ็ดเสร็จ คลิก
7) ใช้ไม้ระแนงตกแต่งนอกบ้าน สร้างร่มเงากันแดด
นำไม้ระแนงมาตกแต่งเป็นแนว เพิ่มร่มเงาช่วยกรองแสงแดด/ความร้อนให้ผนัง ช่วยให้บ้านเย็นขึ้นและสร้างความเป็นส่วนตัว เจ้าของบ้านอาจใช้ระแนงไม้จริงเพื่อความเป็นธรรมชาติ หรือระแนงไม้เทียมอย่างไฟเบอร์ซีเมนต์ ที่มีความแข็งแรง ทนสภาพอากาศและไม่เป็นอาหารปลวก ให้ลุคใกล้เคียงไม้จริง สามารถทาสีตกแต่งได้
ภาพ: ตัวอย่างการเพิ่มร่มเงาเพื่อลดความร้อนผนังบ้าน โดยทำแผงระแนงไม้เทียมไฟเบอร์ซีเมนต์ ด้วยวัสดุตกแต่ง เอสซีจี เดคคอร์ รุ่นไลน์
ภาพ: ตัวอย่างการเพิ่มร่มเงาเพื่อลดความร้อนผนังบ้าน โดยทำแผงระแนงไม้เทียมไฟเบอร์ซีเมนต์ ด้วยไม้บังตา/ไม้รั้ว เอสซีจี