แนะนำหลักการวางแผนก่อนปรับปรุงบ้านหรือรีโนเวตบ้าน ตั้งแต่การกำหนดวัตถุประสงค์ เตรียมงบประมาณ การรวบรวมข้อมูล ไปจนถึงการพิจารณารายละเอียดเดิมของบ้าน ทั้งเรื่องโครงสร้าง งานระบบ พื้นที่ และวัสดุ
การปรับปรุงบ้านหรือรีโนเวตบ้านแต่ละครั้ง อาจมีขอบเขตงานที่เล็กหรือใหญ่แตกต่างกันไป แต่สิ่งที่ต้องทำเหมือนกันก็คือการวางแผนที่ดีและรัดกุม โดยอาจเริ่มต้นด้วยการพิจารณาทีละประเด็นดังต่อไปนี้
. เพื่อใช้ในการวางแผนดำเนินงาน และประเมินงบประมาณในการปรับปรุง ยกตัวอย่างเช่น
ภาพ: ตัวอย่างการปรับปรุงบ้านแบบรีโนเวททั้งบ้าน ได้ลุคบ้านภายนอกที่ดูสวยใหม่และทันสมัยมากขึ้น
ภาพ: ตัวอย่างการซ่อมแซมบ้านในส่วนของหลังคาและดาดฟ้า เพื่อแก้ปัญหารั่วซึม
ภาพ: ตัวอย่างการปรับปรุงบ้านด้วยการใช้ปูนฉาบตกแต่งผนังในห้อง เพื่อเปลี่ยนบรรยากาศ
รวมบริการปรึกษาเรื่องบ้าน คลิก
ซึ่งโดยทั่วไปมักพิจารณา 3 รายการ ได้แก่
เช่น สไตล์บ้านที่ชอบ สไตล์การตกแต่งห้องต่างๆ รูปแบบพื้นที่ที่ประทับใจ รวมถึงวัสดุที่ใช้ ซึ่งเราอาจพบเห็นจากสถานที่หรือหนังสือ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุง หรือเพื่อให้สถาปนิก/มัณฑนากร นำข้อมูลไปใช้ในการออกแบบให้ตรงความต้องการของเรา
เพื่อดูว่าการปรับปรุงบ้านหรือรีโนเวตบ้านครั้งนี้ส่งผลกระทบต่อโครงสร้างบ้านเดิมหรือไม่ เช่น การกั้นห้องใหม่โดยการก่ออิฐฉาบปูน ต้องพิจารณาว่ามีแนวคานรองรับอยู่หรือไม่ การยกระดับพื้นภายในบ้านให้สูงขึ้นเพื่อให้พ้นระดับน้ำท่วม ต้องใช้โครงสร้างและวัสดุที่มีน้ำหนักเบา การทุบพื้น/คาน เพื่อเป็นโถงโล่ง กรณีจะเพิ่มอ่างอาบน้ำจะต้องคำนึงว่าโครงสร้างบริเวณนั้นสามารถรับน้ำหนักน้ำในอ่างขณะใช้งานได้หรือไม่ ซึ่งควรปรึกษาวิศวกรโครงสร้างก่อนทำการปรับปรุง
รวมบริการปรึกษาเรื่องบ้าน คลิก
เพื่อดูว่าการปรับปรุงบ้านที่วางแผนไว้จะกระทบต่องานระบบน้ำ และระบบไฟฟ้าหรือไม่ เช่น การปรับปรุงห้องน้ำใหม่ที่มีการย้ายตำแหน่งสุขภัณฑ์ หรือเปลี่ยนสุขภัณฑ์จากท่อน้ำทิ้งลงพื้นเป็นท่อน้ำทิ้งออกผนัง ซึ่งส่งผลต่อตำแหน่งท่อประปา และท่อระบายน้ำ หากเป็นการทำห้องน้ำเพิ่มเติมเนื่องจากมีคนอยู่อาศัยมากขึ้น ควรพิจารณาขนาดถังเก็บน้ำ ปั๊มน้ำ และถังบำบัด รวมถึงการเปลี่ยนจากระบบบ่อเกรอะ-บ่อซึมเป็นถังบัดน้ำเสียสำเร็จรูป ซึ่งอาจส่งผลให้ต้องเดินระบบท่อระบายน้ำและระบบระบายน้ำรอบบ้านด้วย ส่วนการเพิ่มงานระบบไฟฟ้า เช่น เครื่องทำน้ำอุ่น ต้องคำนึงเรื่องการเดินสายไฟ แนวสายไฟ การติดตั้งสายดิน การแบ่งเฟสไฟฟ้า ทั้งหมดนี้เจ้าของบ้านควรปรึกษาวิศวกรงานระบบเพื่อความราบรื่นและปลอดภัยในการใช้งาน
ภาพ: ตัวอย่างการปรับปรุงบ้านด้วยการขยายพื้นที่ห้องน้ำในบ้าน
รวมบริการปรึกษาเรื่องบ้าน คลิก
อ่านเพิ่มเติม: ปรับปรุงห้องน้ำผู้สูงอายุอย่างไรให้เหมาะสม
เพื่อจัดสรรพื้นที่ในการปรับปรุงให้คุ้มค่าและได้ประโยชน์สูงสุด ซึ่งต้องอาศัยการออกแบบของสถาปนิกหรือมัณฑนากร เช่น พื้นที่บริเวณโถงบันได ใต้บันได สามารถต่อเติมหรือปรับให้เป็นห้องเก็บของได้ ผนังที่ว่างเปล่าสามารถทำชั้นวางของ Built-in ติดขอแขวนของ หรือปรับเป็นที่นั่งพักผ่อนติดกระจก Skylight ลูกตั้งบันไดทำให้เป็นลิ้นชักสำหรับใส่ของ หรือใช้สอดเก็บรองเท้าใต้ขั้นบันไดได้ นอกจากนี้ บ้านแบบเดิม ๆ สามารถเปลี่ยนเป็นสไตล์บ้านแบบอื่นเพียงการรื้อถอนบางส่วน เช่น รื้อฝ้าเพดานแล้วพบว่าท้องพื้นชั้นบนเป็นตงไม้กับพื้นไม้ ซึ่งสามารถโชว์ท้องพื้นสวย ๆ เดินสายไฟแบบโชว์ในสไตล์ลอฟต์ได้
ภาพ: ตัวอย่างการทำพื้นที่ใต้บันไดเป็นพื้นที่เก็บของ และการทำผนังให้สามารถเก็บหรือแขวนของได้โดยติดตะขอหรือทำชั้น Built-in
ภาพ: ตัวอย่างการปรับปรุงผนังบ้านเป็นพื้นที่นั่งพักผ่อนติดกระจก Skylight
รวมบริการปรึกษาเรื่องบ้าน คลิก
ทั้งในเรื่องอายุการใช้งานที่ยาวนาน ง่ายต่อการดูแลรักษา รวมไปถึงเป็นวัสดุที่ช่วยประหยัดพลังงานในบ้าน เช่น หลอดไฟ ก๊อกหรือสุขภัณฑ์ประหยัดน้ำ นอกจากนี้ ของบางอย่างสามารถนำไปใช้ใหม่ได้ (Reuse) เช่น บานประตูไม้สามารถดัดแปลงเป็นโต๊ะ บางวัสดุอย่างโครงหลังคาเหล็ก แผ่นไฟเบอร์ซีเมนต์ หากรื้อถอนอย่างระมัดระวังสามารถนำไปใช้ซ้ำได้ หรือแม้แต่ของใช้บางอย่างที่ยังใช้งานได้ดีก็ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนใหม่อย่าง ประตู/หน้าต่าง ก๊อกน้ำ สุขภัณฑ์ หลอดไฟ ฯลฯ
อ่านเพิ่มเติม: รีวิวปรับปรุงบ้านไม้เก่า กับ 5 เรื่องที่ต้องเตรียมความพร้อม
จะเห็นว่าการปรับปรุงบ้านนั้น เราต้องกำหนดวัตถุประสงค์ให้ชัดเจนว่าจะเป็นการรีโนเวตบ้านในพื้นที่หลายส่วน หรือเป็นแค่การซ่อมแซมปรับปรุงเพียงบางส่วนเล็กน้อย โดยให้สอดคล้องกับความต้องการใช้งาน รูปแบบที่ชื่นชอบ และที่สำคัญคือ งบประมาณ โดยหากมีงบประมาณจำกัด เจ้าของบ้านอาจต้องวางแผนแบ่งงานปรับปรุงเป็นส่วนๆ ตามช่วงเวลาที่เหมาะสม นอกจากนี้ยังต้องพิจารณาถึงรายละเอียดต่างๆ ทั้งโครงสร้าง งานระบบ พื้นที่ที่เป็นอยู่ให้ถี่ถ้วน เพื่อวางแผนงานปรับปรุงที่เหมาะสมและคุ้มค่า รวมถึงวัสดุของเดิมที่อาจมีการนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้อีกครั้ง