หลายบ้านที่ติดตั้งฉนวนกันความร้อนแล้ว ยังคงรู้สึกถึงความร้อนที่ผ่านเข้ามาภายในบ้านอยู่ มาดูกันว่าทำไมบ้านยังร้อน? ความร้อนที่เกิดขึ้นมาจากส่วนไหนอีกบ้าง? และมีวิธีช่วยลดความร้อนอย่างไร?
ความร้อนส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นภายในบ้าน 70% มักเป็นความร้อนจากแสงอาทิตย์ที่ผ่านเข้ามาทางหลังคาบ้านเป็นหลัก สำหรับเจ้าของบ้านที่ติดตั้งฉนวนใยแก้วกันความร้อนบริเวณหลังคาหรือฝ้าเพดานแล้ว พบว่าภายในบ้านยังคงมีความร้อนอยู่ เหตุผลเนื่องจากยังมีความร้อนจากส่วนอื่นๆ ที่ทำให้เกิดความร้อนขึ้นในบ้านอีกเช่นกัน
ภาพ: ตัวอย่างการติดตั้ง “แผ่นสะท้อนความร้อนเอสซีจี รุ่นอัลตราคูล” ซึ่งเป็นฉนวนกันความร้อนชนิดวางบนแปของหลังคา และ “ฉนวนกันความร้อน เอสซีจี รุ่น STAY COOL” ฉนวนสำหรับติดตั้งเหนือฝ้าเพดาน
เมื่อติดตั้งฉนวนกันความร้อนที่หลังคาหรือผนัง ความร้อนจากหลังคาจะส่งผ่านมาได้ “น้อยลง” นั่นหมายความว่า ความร้อนบางส่วนจากหลังคาจะยังสามารถส่งผ่านเข้ามาในบ้านได้ นอกจากนี้ยังมีอีก 3 สาเหตุหลักๆ ที่ทำให้บ้านร้อนได้มากขึ้นได้แก่ 1) ความร้อนจากส่วนอื่นของบ้าน (ที่ไม่ได้มีการติดตั้งฉนวนหรือไม่สามารถติดตั้งฉนวนได้) 2) แหล่งกำเนิดความร้อนอื่นๆ ในบ้าน และ 3) ขาดการระบายอากาศที่ดี
นอกจากความร้อนจากแสงแดดที่ผ่านเข้ามาทางหลังคาและโถงหลังคา ยังมีความร้อนจากอีกหลายส่วนของบ้าน ไม่ว่าจะเป็น
1.1 ความร้อนจากช่องแสง ประตู-หน้าต่างกระจก ช่องแสงหรือช่องกระจก เป็นส่วนที่มีความใส ทำให้แสงแดดสามารถส่องเข้ามาได้ พร้อมกับความร้อนที่ผ่านเข้ามาด้วย หากบริเวณนั้นแสงแดดส่องเข้ามาตรงๆ โดยเฉพาะทิศใต้และทิศตะวันตกความร้อนจะยิ่งสามารถผ่านเข้ามาได้มากเช่นกัน
ภาพ: ความร้อนที่ผ่านเข้ามาทางช่องแสงประตูหน้าต่างหรือกระจก
แนวทางแก้ปัญหาบ้านร้อนจากประตูหน้าต่าง: สามารถทำได้หลายวิธี เช่น การติดม่าน การติดฟิล์มกรองแสง การเลือกกระจกที่ช่วยลดความร้อน ติดตั้งระแนงช่วยกรองแสง ซึ่งสามารถเลือกวิธีใดวิธีหนึ่งหรือผสมหลายวิธีก็ได้
1.1.1 “การติดม่าน” เป็นวิธีที่ง่ายสำหรับการลดความร้อนในส่วนนี้ เพราะเรามักจะติดผ้าม่านเพื่อ ช่วยเพิ่มความเป็นส่วนตัวอยู่แลว แนะนำให้เลือกใช้ผ้าม่านแบบทึบแสงหรือแบบที่บล็อกแสงได้ 100% หรือผ้าม่านแบบโปร่งเพื่อกรองแสงบางส่วน
ภาพ: ติดตั้งด้วยม่านบล็อกแสง 100% หรือผ้าม่านแบบโปร่งที่ช่วยกรองแสงบางส่วน
1.1.2 “การเลือกติดฟิล์มกรองแสง” เป็นอีกวิธีที่ช่วยแก้ปัญหาบ้านร้อนได้ไม่ยาก ปัจจุบันฟิล์มกรองแสงสามารถเลือกได้ว่า ต้องการกรองแสงกี่เปอร์เซ็นต์ และยังมีหลายสีสันให้เลือก จึงสามารถเลือกให้เหมาะสมกับแต่ละพื้นที่ในบ้านรวมถึงสไตล์ของบ้านได้
ภาพ: ติดตั้งฟิล์มเพื่อช่วยกรองแสงที่จะผ่านเข้ามาภายในบ้าน
1.1.3 “เปลี่ยนเป็นกระจกที่ช่วยลดความร้อน” ในท้องตลาด ยังมีกระจกที่ออกแบบมาเป็นพิเศษให้เป็นฉนวนกันความร้อน ที่ช่วยประหยัดพลังงานได้ เช่น กระจก Low-E, กระจก Heat Stop, กระจกฉนวน หรือ Insulated Glass, กระจกฮีตมิเรอร์
1.1.4 “สร้างร่มเงาให้กับผนังอาคาร” ไม่ว่าจะเป็นการ “ติดตั้งระแนงแผงบังแดด” นอกจากจะช่วยกรองแสงแล้ว หากเลือกรูปแบบที่เข้ากับสไตล์บ้าน ยังช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ให้บ้านสวยขึ้นหรือดูมีลูกเล่นขึ้นได้ หรือ “การต่อเติมกันสาดเหนือช่องเปิด” ทำให้เกิดเงาและช่วยป้องกันไม่ให้ความร้อนจากแสงแดดส่องเข้าบ้านโดยตรง นอกจากจะช่วยลดความร้อนแล้วยังช่วยกันฝนสาดอีกด้วย
ภาพ: ติดตั้งระแนงบังแดด ช่วยกรองแสงที่จะผ่านเข้ามาโดยตรงสู่ภายในบ้าน
สนใจ รั้วระแนง ฟาซาด พร้อมบริการติดตั้ง คลิก
ภาพ: สร้างร่มเงาให้กับช่องเปิดอาคารด้วยการต่อเติมกันสาดวัสดุทึบแสง ช่วยป้องกันทั้งแดดและฝน
สนใจ บริการต่อเติมหลังคาโรงรถ/กันสาด เหมาเบ็ดเสร็จ คลิก
1.2 ความร้อนที่สะสมที่ผนัง จะถูกถ่ายเทเข้ามาในบ้านได้ ซึ่งจะมากน้อยขึ้นอยู่กับวัสดุและระบบผนัง เช่น ผนังอิฐมอญจะสะสมความร้อนช่วงกลางวันและถ่ายเทเข้ามาในบ้านเราช่วงหัวค่ำจนถึงกลางคืน
แนวทางแก้ปัญหาบ้านร้อนจากผนัง: สามารถติดตั้งระบบผนังเบาพร้อมฉนวนกันความร้อนเพิ่มเติม เพื่อลดความร้อนที่จะส่งผ่านทางผนังเข้าสู่ภายในบ้าน
ภาพ: ตัวอย่างการติดตั้ง “ระบบผนังไม้ฝา เอสซีจี รุ่นคูลพลัส” และติดตั้ง “ฉนวนกันความร้อน เอสซีจี รุ่น COOL WALL” สำหรับลดความร้อนที่จะผ่านเข้ามาทางผนังบ้าน
นอกจากความร้อนจากแสงแดดภายนอกแล้ว ยังมีความร้อนที่เกิดขึ้นภายในบ้านเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นความร้อนจากอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน รวมถึงความร้อนจากร่างกายมนุษย์
2.1 ความร้อนจากอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน ไม่ว่าจะเป็น ตู้เย็น เตาอบ ไมโครเวฟ เตาแก๊ส คอมพิวเตอร์ หลอดไฟ รวมถึงความร้อนจากการทำอาหาร
วิธีลดความร้อน: หากอุปกรณ์ไฟฟ้าชิ้นไหนไม่ได้ใช้งานควรปิดการทำงานให้เรียบร้อย ส่วนหลอดไฟ สามารถเปลี่ยนมาใช้หลอด LED ที่ให้ความร้อนน้อย
ภาพ: ความร้อนที่เกิดขึ้นภายในบ้านจากเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ในบ้าน
2.2 ความร้อนจากร่างกายมนุษย์ เพราะร่างกายคนเรามีความร้อนเกิดขึ้น ไม่ว่าจากกระบวนการเผาผลาญอาหาร การรักษาอุณหภูมิเพื่อรักษาการทำงานของร่างกาย การออกกำลังกาย เมื่อมีความร้อนส่วนเกินเกิดขึ้น จึงมีการกระจายถ่ายเทความร้อนออกจากร่างกายเพื่อให้อุณหภูมิภายในร่างกายมีความสมดุลและมีสุขภาพดี
วิธีลดความร้อน: อุณหภูมิหรือความร้อนจากร่างกายคนเราสามารถดลงได้ โดยการดื่มน้ำอุณหภูมิห้องหรือน้ำที่เย็นกว่าปกติเล็กน้อย การอาบน้ำ การเปิดพัดลม หรือให้มีการระบายอากาศภายในบ้านที่ดี ก็สามารถช่วยลดความร้อนลงได้
เพราะฉนวนกันความร้อนเป็นการป้องกันความร้อนจากภายนอก แต่หากมีความร้อนเกิดขึ้นและสะสมในบ้านแล้วไม่มีการระบายอากาศที่ดี หรือการปิดบ้านไว้ทั้งวัน ก็จะกันความร้อนจากข้างในไม่ให้ออกไปด้วย
วิธีช่วยระบายถ่ายเทอากาศในบ้าน สามารถทำได้โดยการเปิดประตูหน้าต่างระหว่างวัน (เหมาะสำหรับบ้านที่ติดตั้งมุ้งลวดเพื่อป้องกันแมลงและสัตว์เล็กๆ เข้ามาในบ้าน) เพิ่มการระบายความร้อนที่โถงหลังคา เช่น การเปลี่ยนไปใช้ฝ้าชายคาแบบที่มีรูระบายอากาศ การติดตั้งกระเบื้องปล่องระบายอากาศ รวมถึงการติดตั้งระบบระบายอากาศ Active AirflowTM System
ภาพ: บ้านที่ติดตั้งมุ้งลวด สามารถเปิดประตูหน้าต่าง เพื่อระบายความร้อนจากภายในบ้านได้
สนใจ มุ้งลวดพร้อมบริการติดตั้ง คลิก
ภาพ: เปลี่ยนมาติดตั้งฝ้าชายคาระบายอากาศ อีกหนึ่งวิธีช่วยให้บ้านมีการระบายอากาศที่ดี
สนใจ ฝ้าภายนอกแบบเรียบและระบายอากาศ พร้อมบริการติดตั้ง คลิก
ภาพ: การระบายอากาศภายในบ้าน เมื่อติดตั้งระบบระบายอากาศ Active AirflowTM System
สนใจ ระบบระบายอากาศ Active AirflowTM System คลิก
เมื่อทราบสาเหตุที่ทำให้บ้านยังร้อนทั้ง ๆ ที่ติดตั้งฉนวนกันความร้อนแล้ว ลองหาทางปรับปรุงแก้ไขตามแนวทางที่แนะนำเท่าที่เป็นไปได้ จะเห็นได้ว่านอกจากการลดความร้อนในส่วนต่าง ๆ แล้ว สิ่งที่สำคัญคือการถ่ายเทอากาศที่ดี เพราะจะเป็นตัวช่วยระบายความร้อนที่ผ่านเข้ามาสะสมอยู่ภายในบ้านให้ออกไปได้ และยังไม่ทำให้บ้านอบอ้าวมากจนเกินไปอีกด้วย