อุปกรณ์ที่ช่วยลดความร้อนผ่านการระบายอากาศบริเวณโถงหลังคา อย่างระบบ Active AIRflow™ System และลูกหมุนระบายอากาศนั้น มีข้อแตกต่างที่เจ้าของบ้านควรรู้ก่อนเลือกใช้
การลดความร้อนในบ้าน ไม่ว่าจะเพื่อแก้ปัญหาบ้านร้อน หรือทำบ้านเย็นบ้านประหยัดพลังงานนั้น นอกจากจะหาวิธีป้องกันความร้อนไม่ให้เข้าบ้านแล้ว ยังต้องให้อากาศและความร้อนระบายออกไปได้ด้วย โดยเฉพาะการระบายอากาศที่ผ่านทั้งตัวบ้านและโถงหลังคาซึ่งเป็นส่วนที่ร้อนที่สุด ระบบ Active AIRflow™ System เป็นอีกอุปกรณ์ที่คิดค้นเพื่อตอบโจทย์ดังกล่าว ทั้งนี้เจ้าของบ้านบางท่านอาจสงสัยว่า อย่างลูกหมุนระบายอากาศ หรือที่หลายคนเรียกว่า “พัดลมฟักทอง” ซึ่งใช้ติดกันบนหลังคา ก็น่าจะช่วยระบายอากาศในบ้านและลดความร้อนใต้หลังคาได้ แบบนี้ต่างกับระบบ Active AIRflow™ System หรือไม่ อย่างไร ?
การระบายอากาศและความร้อนของระบบ Active AIRflow™ System
หลักการทำงานของระบบ Active AIRflow™ System จะรับเอาอากาศจากนอกบ้านผ่านช่องอุปกรณ์ “Fresh Intake Air Grille” ส่วนชุดพัดลมระบายอากาศบนฝ้าเพดาน“Ceiling Ventilator” จะทำหน้าที่ดูดทั้งอากาศและความร้อนขึ้นสู่โถงหลังคา และระบายออกนอกบ้านผ่านอุปกรณ์ “Solar Roof Tile Ventilator” ที่มีลักษณะเป็นปล่องอยู่บนหลังคา
ภาพ: อุปกรณ์ที่ช่วยเร่งการระบายอากาศและลดความร้อนในบ้าน ของระบบ Active AIRflow™ System
ระบบ Active AIRflow™ System ทำงานอัตโนมัติภายใต้การควบคุมของ Smart Control Box ซึ่งแสดงผลผ่าน Mobile Application ได้ด้วย โดยระบบจะทำงานต่อเนื่องเพื่อให้การระบายอากาศในบ้านมีประสิทธิภาพสูงสุด แม้ช่วงตกเย็นที่ไม่มีแดดระบบก็อาจยังคงทำงานอยู่ จนกว่าเซนเซอร์จะจับได้ว่าอากาศในบ้านอยู่ในสภาวะเหมาะสม ระบบจึงค่อยหยุดทำงาน ทั้งนี้ ก่อนติดตั้งระบบ Active AIRflow™ System จะต้องมีการสำรวจหน้างานเพื่อคำนวณจำนวนอุปกรณ์พร้อมตำแหน่งติดตั้งให้สัมพันธ์กับลักษณะและขนาดพื้นที่
การระบายอากาศและความร้อนของ “ลูกหมุนระบายอากาศ” หรือ “พัดลมฟักทอง”
ตัวลูกหมุนจะหมุนโดยอาศัย “การเคลื่อนที่ของอากาศ” (ทั้งจากลมและจากอากาศร้อนใต้หลังคาที่ลอยตัวสูงขึ้น) แรงหมุนของลูกหมุนจะดูดอากาศและความร้อนใต้หลังคาระบายออกไป โดยอัตราการดูดอากาศขึ้นอยู่กับความเร็วการหมุนและขนาดของตัวลูกหมุนเอง แต่ถ้าอยากให้การหมุนคงที่ ควรเลือกลูกหมุนระบายอากาศที่ใช้ไฟฟ้าและมอเตอร์ขับเคลื่อน
ข้อสำคัญในการใช้ลูกหมุนระบายอากาศในบ้าน คือ ควรจะมีช่องให้อากาศสามารถไหลเข้ามาภายในอาคารและโถงหลังคาได้ ลูกหมุนระบายอากาศจึงเหมาะกับโรงงาน ซึ่งเป็นพื้นที่เปิดโล่งจากพื้นจรดหลังคาและมักเปิดประตูหน้าต่างเป็นเวลานาน ส่วนบ้านพักอาศัยทั่วไปที่ปิดประตูหน้าต่างเกือบทั้งวัน ทั้งยังมีฝ้าเพดานกั้นระหว่างโถงหลังคากับพื้นที่ภายในบ้าน การติดลูกหมุนระบายอากาศอาจไม่ตอบโจทย์เท่าที่ควร เว้นเสียแต่ว่าจะเตรียมช่องสำหรับให้อากาศไหลเข้าบ้านรวมถึงบริเวณโถงหลังคา ในปริมาณที่เหมาะสมและสัมพันธ์กัน ก็จะสามารถระบายอากาศในบ้านพร้อมกับความร้อนออกไปได้
ภาพ: “ลูกหมุนระบายอากาศ” หรือ “พัดลมฟักทอง” ซึ่งนิยมนิยมติดตั้งกับอาคารหรือโรงงานขนาดใหญ่ (ขอขอบคุณภาพ: www.pixabay.com)
ถ้าจะเทียบกันโดยสรุป บ้านที่ติดระบบ Active AIRflow™ System จะมีอัตราการระบายอากาศในบ้านที่ดีตลอด ด้วยเซ็นเซอร์ซึ่งคอยตรวจจับสภาวะอากาศและสั่งการให้ระบบทำงานอัตโนมัติ หากอากาศในบ้านมีสภาพเหมาะสม ระบบจะหยุดทำงาน จึงไม่ทำให้เกิดการสิ้นเปลืองไฟฟ้าโดยใช่เหตุ (ยิ่งถ้าใช้ร่วมกับแผง Solar Cell ที่เป็นอุปกรณ์เสริม จะยิ่งช่วยประหยัดพลังงานได้มากขึ้น) รวมถึงมีการสำรวจหน้างานเพื่อติดตั้งอุปกรณ์ในจำนวนและตำแหน่งที่เหมาะสม
ภาพ: การติดตั้งแผง Solar System เป็นอีกทางเลือกที่ช่วยประหยัดการใช้ไฟฟ้าสำหรับ ระบบ Active AIRflow™ System
อีกเรื่องที่สำคัญมากคือ บ้านที่ติดระบบ Active AIRflow™ System แม้จะปิดประตูหน้าต่างมิดชิด ก็จะยังคงระบายอากาศและระบายความร้อนในบ้านได้ดี ส่วนบ้านที่ติดลูกหมุนระบายอากาศ หากลักษณะพื้นที่ไม่เหมาะสม รวมถึงไม่มีช่องทางให้อากาศไหลเข้าบ้านในปริมาณที่สัมพันธ์กับอากาศที่จะถูกดึงออกไป ก็อาจไม่ช่วยเรื่องการระบายอากาศและลดความร้อนในบ้านได้เท่าที่ควร