ลิฟต์บ้าน และ ลิฟต์บันได ตัวช่วยดีๆ ของผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีปัญหาด้านการเดิน ให้สามารถขึ้นลงชั้นบนชั้นล่างภายในบ้านได้สะดวกปลอดภัยมากขึ้น มาดูข้อเปรียบเทียบลิฟต์ในบ้านทั้งสองแบบ ทั้งแง่การใช้งาน รูปแบบ ระบบความปลอดภัยของอุปกรณ์ และการบำรุงรักษา
เหมาะกับ : ผู้สูงอายุ ผู้ป่วย ผู้พิการ ที่เดินไม่ถนัด แต่ยังสามารถเดินได้ ใช้งานได้ทั้งในและนอกบ้าน
รูปแบบของลิฟต์บ้าน: มีแบบครึ่งตัว และแบบเต็มตัว ติดตั้งกับคาน (โครง 2 เสา) หรือลอยตัว (โครง 4 เสา) พื้นที่ติดตั้งลิฟต์ขั้นต่ำที่แนะนำ คือ 1.4x1.5 ม. หรือ 1.2 x1.7 ม.
ระบบความปลอดภัย: รับน้ำหนักประมาณ 300 กก. หากประตูเปิดลิฟต์จะไม่ทำงาน และจะหยุดเมื่อมีสิ่งกีดขวางใต้ลิฟต์ มีอุปกรณ์เสริมเป็นกลอนนิรภัยชั้นบน และแบตเตอรีสำรองเมื่อไฟดับ
การดูแลรักษาลิฟต์บ้าน: ทาจารบีที่รางเสาด้านในและโซ่ลิฟต์ เดือนละ 1 ครั้ง และตรวจสอบการทำงานทุก 1 ปี
ภาพ: ลิฟต์บ้านแบบครึ่งตัว (ซ้าย) และเต็มตัว (ขวา)
ภาพ: ลิฟต์บ้านเมื่ออยู่ชั้นบน (ซ้าย) กับตัวอย่างระบบความปลอดภัย ได้แก่ เซนเซอร์ป้องกันการเลื่อนทับวัตถุใต้ลิฟต์ (ขวาบน) และกลอนนิรภัย (ขวาล่าง)
เหมาะกับ: ผู้สูงอายุ ผู้ป่วย ผู้พิการ ที่เดินไม่ถนัด แต่ยังสามารถเดินได้ ใช้งานได้ทั้งในและนอกบ้าน
รูปแบบของลิฟต์บันได: มีทั้งแบบรางตรง และรางโค้ง ตามรูปแบบบันได ติดตั้งรางเลื่อนเข้ากับลูกนอนบันได ความกว้างบันไดขั้นต่ำที่แนะนำ คือ 80 ซม.
ระบบความปลอดภัย: รับน้ำหนักได้ประมาณ 135 กก. (ขึ้นอยู่กับรุ่น) มีแบตเตอรีสำรองเมื่อไฟดับ มีเข็มขัดนิรภัย เซนเซอร์จับสิ่งกีดขวาง บางรุ่นมีเซนเซอร์กันเก้าอี้เลื่อนหากเด็กปีน
การดูแลรักษาลิฟต์บันได: ตรวจสอบการทำงานทุก 1 ปี
ภาพ: ลิฟต์บันไดรางตรง (ซ้าย) และรางโค้ง (ขวา)
ภาพ: การใช้งานเข็มขัดนิรภัย ขณะโดยสารลิฟต์บันได
กล่าวโดยสรุปจะเห็นได้ว่า ลิฟต์บ้านเหมาะสำหรับผู้ที่ใช้รถเข็นหรือต้องการพื้นที่กว้างในการเคลื่อนย้าย ในขณะที่ลิฟต์บันไดเหมาะสำหรับผู้ที่ยังสามารถเคลื่อนไหวได้บ้าง ทั้งนี้ เจ้าของบ้านจะเลือกใช้ลิฟต์บ้านหรือลิฟต์บันไดย่อมขึ้นอยู่กับความต้องการ ลักษณะการใช้งาน ขนาดและรายละเอียดของบันไดหรือพื้นที่ที่สอดคล้องกับความเป็นไปได้ในการติดตั้ง
SCG Home Experience
ค่าสำรวจบริการติดตั้งลิฟท์บันได
1,000.00 บาท / งาน
Easy Home Lift
ค่าสำรวจบริการติดตั้งลิฟท์บ้าน
2,000.00 บาท / งาน