เมื่อพูดถึงปัญหาบ้านชั้นเดียวร้อน สาเหตุหลักๆ ก็คือ “หลังคาบ้านร้อน” เนื่องจากหลังคาจะต้องรับความร้อนจากแสงแดดตลอดวัน และโดยธรรมชาติแล้วความร้อนจะลอยขึ้นด้านบน ดังนั้นความร้อนที่เข้ามาก็จะรวมตัวอยู่ในหลังคามากที่สุด ทำให้กลายเป็นส่วนที่ร้อนที่สุดของบ้านไปโดยปริยาย
เมื่อหลังคาบ้านร้อน พื้นที่ใช้สอยที่ใต้หลังคาก็จะร้อน ยิ่งในประเทศไทยเราที่แสงแดดและความร้อนจัดเต็ม ใครที่อยู่บ้านเวลากลางวัน ถ้าไม่เปิดแอร์สู้ค่าไฟก็มักต้องหนีหลบร้อนจากชั้นบนมาอยู่ชั้นล่าง เพราะทนความร้อนที่ส่งผ่านมาทางหลังคาไม่ได้ หรืออย่างบ้านไทยโบราณเองแม้จะมีพื้นที่ใช้สอยเพียงชั้นเดียวแต่ก็มีใต้ถุนที่สามารถหนีลงมาหลบร้อนในยามกลางวันได้ คำถามคือ แล้วถ้าเป็นบ้านชั้นเดียวธรรมดาที่ไม่ได้มีใต้ถุนล่ะ จะไปหลบร้อนที่ไหนกับเขาได้
ในเมื่อบ้านชั้นเดียวไม่มีที่ให้หลบเลี่ยงหนีร้อนจากหลังคา ดังนั้น การแก้ปัญหาบ้านชั้นเดียวร้อนที่ดีที่สุดก็คือต้องหาวิธี “ลดความร้อนจากหลังคา” ซึ่งสามารถอาศัยหลักการดังต่อไปนี้
หรือพูดง่ายๆ ก็คือ ทำอย่างไรก็ได้ให้ความร้อนจากหลังคาส่งต่อมาถึงตัวบ้านให้น้อยที่สุด วิธีการก็ที่ช่วยได้มากคือ “การติดฉนวนกันความร้อนบนฝ้าเพดาน” เพื่อช่วยป้องกันไม่ให้ความร้อนจากโถงหลังคาส่งผ่านมาถึงภายในตัวบ้าน อย่างไรก็ตาม วิธีนี้จะต้องตรวจสอบก่อนว่าโครงคร่าวฝ้าเพดานของบ้านเราแข็งแรงพอที่จะรับน้ำหนักฉนวนได้หรือไม่ หากไม่สามารถทำได้ อาจหันมาใช้ “ฝ้าเพดานที่มีคุณสมบัติสะท้อนความร้อน” แทน
ภาพ: ตัวอย่างการลดความร้อนจากหลังคา เพื่อแก้ปัญหาบ้านชั้นเดียวร้อน
บริการติดตั้งฉนวนกันความร้อนบนฝ้าเพดาน คลิก
อ่านเพิ่มเติม: ลดร้อนให้บ้านชั้นเดียวเย็นขึ้น 10 กว่าองศา ด้วยฉนวนกันความร้อน Stay Cool
นอกจากนี้หากเป็นบ้านสร้างใหม่ หรือมีแผนจะเปลี่ยนกระเบื้องหลังคา ก็อาจหันมาเลือกใช้วัสดุมุงหลังคาที่ช่วยลดความร้อนได้ เช่น เลือกกระเบื้องหลังคาเซรามิกซึ่งเป็นวัสดุอมความร้อนน้อยกว่ากระเบื้องหลังคาคอนกรีต การเลือกใช้วัสดุมุงหลังคาที่มีนวัตกรรมลดความร้อนโดยเฉพาะ ไปจนถึงการเลือกวัสดุมุงหลังคาสีสว่างซึ่งซึมซับความร้อนน้อยกว่าวัสดุมุงหลังคาสีมืด
ภาพ: ตัวอย่างวัสดุมุงหลังคาที่ช่วยลดความร้อน ได้แก่ (ซ้าย) กระเบื้องหลังคาเซรามิก ซึ่งอมความร้อนน้อยกว่าวัสดุคอนกรีต และ (ขวา) กระเบื้องหลังคารุ่นที่มีนวัตกรรมช่วยสะท้อนความร้อนได้
นอกจากการป้องกันความร้อนจากหลังคาเข้าสู่ตัวบ้านแล้ว การคำนึงถึงช่องทางระบายความร้อนออกจากหลังคา ก็เป็นอีกส่วนสำคัญที่ช่วยลดความร้อน ไม่ว่าจะเป็นการใช้กระเบื้องปล่องระบายอากาศ (ซึ่งผลิตมาสำหรับใช้กับกระเบื้องหลังคาบางรุ่นโดยเฉพาะ) การติดตั้งฝ้าชายคาระบายอากาศวัสดุไฟเบอร์ซีเมนต์หรือไวนิล หรือจะเลือกทำเป็นระแนงระบายอากาศก็ได้
ภาพ: ตัวอย่างการใช้งานฝ้าชายคาและวัสดุฝ้าชายคาที่มีรูระบายความร้อน
ภาพ: ตัวอย่างกระเบื้องปล่องระบายอากาศ และหลักการทำงานเพื่อระบายความร้อนจากหลังคา
ฝ้าชายคาไวนิลพร้อมติดตั้ง คลิก
ชุดกระเบื้องปล่องระบายอากาศพร้อมบริการติดตั้ง คลิก
แม้ว่าการแก้ปัญหาบ้านชั้นเดียวร้อนควรเน้นการลดบ้านร้อนที่หลังคาเป็นอันดับแรก แต่หากเราสามารถลดความร้อนจากผนังและประตูหน้าต่างได้ด้วยย่อมเป็นสิ่งที่ดี โดยสามารถอาศัยวิธีการดังนี้
• การลดร้อนจากผนัง โดยทำระแนงบังแดด หรืออาจเลือกทำผนังเพิ่มอีกชั้นเพื่อซ่อนฉนวนกันความร้อนด้านใน ไปจนถึงการทาสีผนังด้วยสีกันร้อน ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยสะท้อนความร้อนได้ หรือเลือกใช้ไม้ฝารุ่นที่มีคุณสมบัติสะท้อนความร้อน ภาพ: ตัวอย่างวิธีการลดความร้อนที่ผนังบ้าน
บริการทาสีผนังกันร้อน คลิก
• การลดความร้อนจากประตูหน้าต่าง ด้วยการติดฟิล์มกันร้อน หรือติดตั้งกันสาดช่วยบังแดด ทั้งนี้หากเจ้าของบ้านไม่ชอบให้กันสาดยื่นออกมาอยู่ตลอดเพราะดูเสียทัศนียภาพ ก็สามารถเลือกใช้กันสาดแบบพับได้ หรือม่านม้วนแนวดิ่ง ซึ่งสามารถเลือกเปิดปิดเพื่อบังแดดได้ตามเวลาที่ต้องการ
ภาพ: ตัวอย่างวิธีการลดความร้อนที่ประตูหน้าต่าง ทั้งการติดฟิล์มกันร้อน (ซ้าย) การติดตั้งกันสาดพับได้หรือม่านม้วนแนวดิ่ง (ขวา)
บริการติดฟิล์มกันร้อนบ้าน อาคาร คลิก
กันสาดพับได้ ม่านม้วนแนวดิ่ง พร้อมติดตั้ง คลิก
พื้นคอนกรีตรอบบ้านเป็นวัสดุที่อมความร้อนและสามารถคายความร้อนเข้าไปในบ้านได้ การจัดแต่งสวนรอบบ้าน ปลูกต้นไม้ให้ร่มเงา ทำบ่อน้ำตกแต่งในทิศทางที่ลมพัดเข้าบ้าน จึงเป็นอีกวิธีที่ช่วยลดบ้านร้อนได้ด้วย ทั้งนี้หากเจ้าของบ้านไม่สะดวกจะดูแล อาจเลือกใช้วัสดุอื่นที่อมความร้อนน้อยกว่าพื้นคอนกรีต เช่น ปูหญ้าเทียม หรือใช้บล็อกปูพื้นรุ่นที่มีคุณสมบัติลดความร้อนที่ผิวหน้าได้
ภาพ: ตัวอย่างวัสดุปูพื้นที่ช่วยลดปัญหาพื้นรอบบ้านร้อน ได้แก่ หญ้าเทียม (ซ้าย) และบล็อกปูพื้นที่มีคุณสมบัติเก็กกับน้ำที่ผิว เพื่อช่วยลดความร้อนที่ผิวหน้า (ขวา)
จะเห็นว่าการแก้ปัญหาบ้านชั้นเดียวร้อนนั้นทำได้หลายทาง ข้อสำคัญคือ เจ้าของบ้านควรเน้นการแก้ปัญหาเรื่องความร้อนจากหลังคาก่อนเพราะเป็นส่วนที่ร้อนที่สุดของบ้าน จากนั้นค่อยพิจารณาลดบ้านร้อนด้วยการปรับปรุงส่วนอื่นๆ เป็นลำดับถัดไป ซึ่งวิธีทั้งหมดสามารถประยุกต์ใช้กับบ้าน 2 ชั้นขึ้นไปได้ด้วย ทั้งนี้การลดบ้านร้อนนอกจากจะทำให้เรารู้สึกสบายเนื้อตัวมากขึ้นแล้ว เวลาเปิดแอร์ก็จะกินไฟน้อยลง ช่วยลดภาระค่าไฟได้ด้วย สำหรับบ้านที่อยากหาวิธีลดค่าไฟ อาจลองปรับปรุงบ้านตามวิธีที่แนะนำน่าจะช่วยลดบ้านร้อนได้พอสมควร เว้นแต่ว่ามีความจำเป็นต้องใช้ไฟมากในเวลากลางวัน ต้องเปิดแอร์เป็นเวลานานจนค่าไฟยังลดได้ไม่เพียงพอ อาจลองพิจารณาติดตั้งหลังคาโซลาร์เซลล์เพิ่มเติมในภายหลังเป็นทางเลือกถัดไป
อ่านเพิ่มเติม: รีวิว: ติดตั้งหลังคาโซลาร์เซลล์ SCG Solar Roof เปิดแอร์กลางวัน ไม่หวั่นค่าไฟ