เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับองค์ประกอบสำคัญ 5 อย่างในการทำเคาน์เตอร์ครัวไทยในรูปของเคาน์เตอร์ครัวปูน เพื่อตอบโจทย์การทำอาหารของเหล่าพ่อครัวแม่ครัวประจำบ้าน
เคาน์เตอร์ครัวไทย ใครๆ ก็รู้ว่าต้องมีความแข็งแรง ทนทาน รองรับการใช้งานหนักๆ อีกทั้งทำความสะอาดง่าย จึงนิยมทำเคาน์เตอร์ด้วยโดยใช้วัสดุประเภท อิฐ คอนกรีต ปูน หรือที่หลายคนเรียกติดปากกันว่า “เคาน์เตอร์ครัวปูน” โดยบทความนี้ได้รวบรวม 5 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับองค์ประกอบต่าง ๆ ของเคาน์เตอร์ครัวปูนที่ควรรู้จักและเลือกใช้ให้เหมาะสม เพื่อให้ได้เคาน์เตอร์ครัวไทยที่ถูกใจคนทำครัวและลงตัวกับพื้นที่ห้องครัวได้ ดังนี้
1.วัสดุเคาน์เตอร์ครัว
2.วัสดุกรุท็อปเคาน์เตอร์
3.วัสดุปิดผิวโดยรอบ
4.หน้าบ้านตู้หรือลิ้นชัก
5.อุปกรณ์ประกอบต่างๆ
สนใจ บริการต่อเติมห้องครัว จาก HomeSmile คลิก
1. วัสดุเคาน์เตอร์ครัวไทย เคาน์เตอร์ครัวปูน ต้องรับน้ำหนักได้ดี
เคาน์เตอร์ครัวประกอบด้วย ผนังเคาน์เตอร์ ท็อปเคาน์เตอร์ และพื้นเคาน์เตอร์
1.1 ผนังเคาน์เตอร์ครัวไทย ส่วนใหญ่นิยมการก่ออิฐฉาบปูน อิฐที่เลือกใช้ได้แก่ อิฐมอญ อิฐบล็อก อิฐมวลเบา
อิฐมอญ มีน้ำหนักต่อตารางเมตรมากที่สุด มีขนาดเล็ก จึงใช้เวลาในการก่อมากกว่าอิฐบล็อกและอิฐมวลเบา ส่งผลต่อค่าแรงที่เพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ตาม สามารถเลือกก่ออิฐมอญโชว์แนวตามสไตล์การตกแต่งที่ต้องการได้
อิฐบล็อก ช่วยประหยัดงบประมาณมากสุด ใช้ระยะเวลาในการก่อเร็วพอๆ กับอิฐมวลเบา แต่เนื่องจากมีรูกลวงตรงกลางจึงไม่แข็งแรงเท่าอิฐมอญและอิฐมวลเบา และไม่เหมาะสำหรับการเจาะยึดแขวนชั้นวางของ มักพบในกรณีทำเคาน์เตอร์โปร่งไม่มีหน้าบานตู้หรือลิ้นชัก
อิฐมวลเบา ควรเลือกใช้อิฐมวลเบา ที่ได้มาตรฐาน เพื่อให้ได้ความแข็งแรงเทียบเท่าอิฐมอญ โดยที่สามารถก่อได้เร็วและเนี้ยบง่ายกว่าการก่ออิฐมอญ
1.2 ท็อปเคาน์เตอร์ครัวปูนด้านบน มักจะเป็นการหล่อชิ้นส่วนคอนกรีตเสริมเหล็กตามแบบที่ต้องการ โดยเว้นช่องสำหรับติดตั้งเตาและอ่างล้างจานตามขนาด สามารถทำได้ 2 แนวทาง
แนวทางแรก คือ เตรียมเหล็กเสริมยื่นออกมาจากผนังตามระยะที่กำหนดไว้ตั้งแต่แรกก่อนการก่อส่วนผนัง แล้วหล่อคอนกรีตเคาน์เตอร์เชื่อมกับเหล็กเสริมดังกล่าว โดยมีผนังเคาน์เตอร์ช่วยรับแรง
อีกแนวทาง คือ หล่อเคาน์เตอร์ตามแบบ รอจนคอนกรีตเซตตัวจึงค่อยยกมาติดตั้งบนผนังเคาน์เตอร์ที่ทำไว้แล้ว ผนังเคาน์เตอร์จะทำหน้าที่รับน้ำหนักแผ่นท็อปเคาน์เตอร์โดยตรง
1.3 พื้นเคาน์เตอร์ครัวปูน ควรสูงกว่าระดับพื้นบ้านประมาณ 10 ซม. แนวทางที่ทำได้สำหรับผนังก่ออิฐ เช่น เทพื้นคอนกรีตเสริมเหล็ก หรือใช้อิฐมวลเบาหนา 7.5 ซม. วางตามนอน วางตะแกรงเหล็ก (Wire Mesh) แล้วจึงเทคอนกรีตทับ
สนใจ บริการต่อเติมห้องครัว จาก HomeSmile คลิก
ภาพ: ตัวอย่างเคาน์เตอร์ก่ออิฐมอญและอิฐมวลเบา
นอกจากการเลือกวัสดุอิฐก่อกับแผ่นเคาน์เตอร์หล่อด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กแล้ว ปัจจุบันมีแผ่นเคาน์เตอร์สำเร็จรูปที่มีชิ้นส่วนต่าง ๆ ประกอบกัน อย่างเช่น แผ่นเคาน์เตอร์มวลเบาสำเร็จรูป ซึ่งผลิตจากคอนกรีตมวลเบาที่มีการเสริมเหล็กไว้ภายใน มีขนาดมาตรฐานให้เลือกใช้งาน โดยแบ่งออกเป็น ชิ้นส่วนบน (มีให้เลือกทั้งสำหรับเคาน์เตอร์ปกติ เคาน์เตอร์สำหรับติดตั้งเตา และเคาน์เตอร์สำหรับอ่างล้างจาน) ชิ้นส่วนด้านข้าง (ส่วนผนังหรือขาตั้ง) และชิ้นส่วนล่าง (ส่วนพื้น) จึงสามารถติดตั้งง่าย สะดวก รวดเร็ว เพราะไม่ต้องก่ออิฐหรือหล่อคอนกรีตที่หน้างาน
ภาพ: ตัวอย่างเคาน์เตอร์มวลเบาสำเร็จรูป
สินค้า เคาน์เตอร์ครัวสำเร็จรูป คลิก
อ่านเพิ่มเติม: เคาน์เตอร์ครัวปูน เลือกแบบก่ออิฐหรือใช้แผ่นคอนกรีตมวลเบาสำเร็จรูปดี
2. วัสดุกรุท็อปเคาน์เตอร์ครัวปูนต้องแกร่ง ดูแลง่าย
วัสดุที่เหมาะสำหรับท็อปเคาน์เตอร์ครัวไทย แบบเคาน์เตอร์ครัวปูนนั้น มักพิจารณาเรื่องคุณสมบัติที่เหมาะกับการใช้งานควบคู่กับงบประมาณเป็นสำคัญ แนะนำให้เลือกใช้เป็น หินแกรนิต หินเทียม และกระเบื้องเซรามิก
2.1 หินแกรนิต วัสดุที่ราคาไม่สูงมาก หาซื้อง่าย มีสีและลวดลายตามธรรมชาติ แข็งแกร่ง แต่มีรูพรุน ดูดซึมน้ำได้ดี จึงเป็นที่มาของการสะสมเชื้อโรค เชื้อรา หรือตะไคร่ได้ ดังนั้น หากเลือกใช้หินแกรนิต ควรทาด้วยน้ำยาเคลือบผิวให้ทั่วทุกด้านของแผ่นหินก่อนนำไปติดตั้ง
2.2 หินเทียม มีให้เลือกหลายประเภท เช่น แบบที่เป็นอะคริลิก 100% หรือ อะคริลิกผสมโพลิเมอร์ ซึ่งไม่ดูดซึมน้ำ สามารถดูแลทำความสะอาดง่าย แต่ต้องระวังเรื่องความร้อนจากภาชนะใส่อาหารจะทำให้พื้นผิวเสียหายได้ง่าย จึงควรเตรียมที่วางของร้อนไว้ หรือปรึกษากับผู้ผลิตให้ออกแบบพื้นที่วางของร้อนโดยเฉพาะ
2.3 กระเบื้องเซรามิก มีหลายขนาดให้เลือก นอกจากกระเบื้องที่มีขนาดและความหนาปกติแล้ว ยังมีกระเบื้องขนาดใหญ่พิเศษที่ความหนาเหมือนหินธรรมชาติด้วย มีข้อดีเรื่องการดูดซึมน้ำต่ำ ทำความสะอาดได้ง่าย แต่หากมีรอยต่อระหว่างแผ่น จะต้องหมั่นดูแลร่องยาแนวอย่างสม่ำเสมอ
สนใจ บริการต่อเติมห้องครัว จาก HomeSmile คลิก
ภาพ: ตัวอย่างการปิดผิวท็อปเคาน์เตอร์ครัวด้วยหินแกรนิต ขอขอบคุณ: ห้องครัวคุณเชียงราย อัศวพิชญโชติ
ภาพ: ตัวอย่างการปิดผิวท็อปเคาน์เตอร์ครัวด้านบนด้วยหินเทียม
ภาพ: ตัวอย่างการปิดผิวท็อปเคาน์เตอร์ครัวด้วยกระเบื้องเซรามิก
ภาพ: ตัวอย่างการปิดผิวท็อปเคาน์เตอร์ครัวด้วยกระเบื้องเซรามิก Grande Collection จาก COTTO (รุ่น WOOD STONE White 160X320 ซม. (ความหนา 12 มม.))
สินค้า กระเบื้องปูพื้นและผนัง คลิก
3. เลือกวัสดุปิดผิวผนังเคาน์เตอร์ครัวปูน ให้เข้ากับสไตล์การตกแต่ง
ก่อนปิดผิวผนังเคาน์เตอร์ด้วยวัสดุตกแต่งต่างๆ ควรมีการเตรียมพื้นผิวให้เรียบร้อย ทั้งด้านในและด้านนอกผนังเคาน์เตอร์ เช่นเดียวกับการเตรียมพื้นผิวผนังก่อนติดตั้งวัสดุตกแต่ง ซึ่งวัสดุปิดผิวผนังเคาน์เตอร์ครัวไทยที่เหมาะสม โดยส่วนใหญ่นิยมเลือกใช้กระเบื้องเซรามิก ปูนขัดมัน และลามิเนต
3.1 การปิดผิวด้วยกระเบื้องเซรามิก มีข้อดีคือ มีขนาด ผิวสัมผัส สีสัน และลวดลายให้เลือกหลากหลาย เหมาะกับทุกสไตล์การตกแต่ง โดยหากเป็นผิวมันวาวจะดูแลทำความสะอาดง่าย
3.2 การตกแต่งพื้นผิวด้วยปูนขัดมัน เหมาะกับการตกแต่งบ้านในสไตล์ลอฟต์ ซึ่งลวดลายที่สวยงามไม่แตกร้าวต้องอาศัยฝีมือช่างผู้เชี่ยวชาญ แต่บางกรณีอาจมีผงปูนหลุดล่อนออกมาได้ แนะนำให้ทาด้วยน้ำยาเคลือบผิวให้ทั่วถึง
3.3 การเลือกใช้ลามิเนตในการปิดผิวที่เคาน์เตอร์ครัวไทย พื้นผิวปูนฉาบจะต้องเรียบสม่ำเสมอ ได้ระดับดิ่งฉาก เมื่อติดตั้งลามิเนตซึ่งมีลักษณะเป็นแผ่นบาง (ด้วยกาว) จะได้เรียบร้อย ไม่กระเดิดหรือมีตะปุ่มตะป่ำ ลามิเนตมีสีสัน ลวดลาย และผิวสัมผัสให้เลือกใช้มากมายจึงเข้าได้กับทุกสไตล์ อย่างไรก็ตาม ลามิเนตมีโอกาสหลุดล่อนได้ง่ายหากต้องสัมผัสความชื้นเป็นประจำ ขณะใช้งานจึงต้องระวังและมีการดูแลรักษาอย่างดี
สนใจ บริการต่อเติมห้องครัว จาก HomeSmile คลิก
ภาพ: ตัวอย่างการตกแต่งปิดผิวโดยรอบเคาน์เตอร์ครัวด้วยกระเบื้องเซรามิก และปิดผิวท็อปเคาน์เตอร์ด้วยหินเทียม
ภาพ: ตัวอย่างการเลือกใช้เคาน์เตอร์คอนกรีตมวลเบาสำเร็จรูป Q-CON ที่ปิดผิวโดยรอบและตกแต่งท็อปเคาน์เตอร์ครัวด้วยปูนขัดมัน
ภาพ: ตัวอย่างการตกแต่งปิดผิวโดยรอบเคาน์เตอร์ครัวด้วยลามิเนต
สินค้า กระเบื้องปูพื้นและผนัง คลิก
4. หน้าบานตู้และลิ้นชัก เลือกแบบสำเร็จรูปหรือแบบสั่งทำตามขนาดที่ต้องการ
4.1 หน้าบานตู้และลิ้นชักแบบสำเร็จรูป มีขนาดมาตรฐาน มีวัสดุและสีให้เลือกไม่มาก แต่ง่ายต่อการสั่งซื้อไปติดตั้ง สิ่งสำคัญคือต้องออกแบบตั้งแต่แรกและเตรียมเคาน์เตอร์หน้างานให้พอดีกับหน้าบานและลิ้นชักสำเร็จรูป เพื่อให้สามารถติดตั้งได้พอดีไม่มีปัญหา
4.2 ส่วนหน้าบานหรือลิ้นชักแบบสั่งทำ เหมาะสำหรับเคาน์เตอร์ที่มีการออกแบบให้พอดีกับแต่ละหน้างาน โดยสามารถระบุขนาด รูปแบบ วัสดุ และสีสันได้หลากหลาย ซึ่งต้องให้นักออกแบบระบุรายละเอียดต่างๆ อย่างครบถ้วนเพื่อการผลิตตรงตามแบบและติดตั้งได้พอดีกับหน้างาน
4.3 วัสดุหน้าบานหรือลิ้นชักที่นิยมใช้ได้แก่ ไม้จริง Particle Board พลาสติก
ไม้จริง จะมีความแข็งแรง สวยงาม แต่ราคาสูงกว่าวัสดุอื่น และต้องมีการอบหรือเคลือบน้ำยากันปลวกและกันชื้น
Particle Board แม้จะราคาถูกกว่า แต่ต้องมีการปิดผิวเพื่อความสวยงาม ไม่ว่าจะเป็นการปิดผิวด้วยลามิเนตหรือการทำสีตามที่ต้องการ
พลาสติก ส่วนใหญ่จะเป็นวัสดุของหน้าบานหรือลิ้นชักสำเร็จรูป ทนความชื้น ปลวกไม่กิน ราคาถูก หาซื้อง่าย แต่มีสีให้เลือกไม่มาก เช่น ขาว ครีม น้ำตาล ลายไม้
ภาพ: เคาน์เตอร์ครัวไทยที่เลือกใช้หน้าบานตู้และลิ้นชักแบบสำเร็จรูป
ภาพ: ตัวอย่างเคาน์เตอร์ครัวคอนกรีตมวลเบาสำเร็จรูป ที่เลือกใช้หน้าบานหรือลิ้นชักแบบสั่งทำ ขอขอบคุณเจ้าของบ้าน: ห้องครัวคุณเชียงราย อัศวพิชญโชติ
อ่านเพิ่มเติม: หลากวัสดุเลือกสรร ทำเคาน์เตอร์ครัวไทยพร้อมบานตู้ครัว
5. อุปกรณ์ประกอบและอุปกรณ์ยึดที่เกี่ยวข้องของเคาน์เตอร์
เช่น มือจับเพื่อเปิดปิด บานพับสำหรับหน้าบานตู้ รางเลื่อนเปิดปิดลิ้นชัก
5.1 มือจับ มีให้เลือกหลายวัสดุ เช่น สเตนเลส อะลูมิเนียม เหล็กชุบโครเมี่ยม ทองเหลืองหรือทองแดง พลาสติก
สเตนเลส มีความแข็งแรงทนทาน มีให้เลือกทั้งแบบเงาและแบบด้าน ง่ายต่อการดูแลรักษา ทนต่อการเกิดสนิม ทนต่อการขีดช่วน ทนต่อการกัดกร่อน ทนความร้อนได้ดี และสามารถนำกลับมาผลิตใช้ใหม่ได้หมด
อะลูมิเนียม มีน้ำหนักเบา ทนทาน โทนสีเงินเหลือบขาวที่ให้ความรู้สึกอบอุ่นผ่อนคลาย
เหล็กชุบโครเมี่ยม มีความแข็งแรงทนทาน มีผิวที่เป็นมันวาว ป้องกันการเกิดสนิม ทนความร้อนได้สูง
ทองเหลืองหรือทองแดง มีโทนสีที่โดดเด่นแตกต่างที่เน้นความดิบเท่ของวัสดุ ซึ่งควรมีการเคลือบป้องกันสีลอกเพื่อให้ใช้งานได้ดี
พลาสติก เช่น พลาสติก ABS (เอบีเอส) หรือ PP (พอลิโพรไพลีน) โดยทั่วไปแล้ว วัสดุพลาสติก ABS จะขึ้นชื่อว่ามีความแข็งและเหนียว มีคุณสมบัติทนแรงกระแทก ทนต่อการเสียดสี และสามารถขึ้นรูปได้หลากหลายวิธี ส่วนวัสดุพลาสติก PP จะทนต่อแรงกระแทกแรงดึงต่างๆ มีความแข็ง เหนียว และยืดหยุ่น ทนต่อการขีดข่วน และมีน้ำหนักเบา
นอกจากการติดตั้งมือจับแล้ว ยังมีอีกรูปแบบที่ไม่ต้องติดตั้งมือจับคือ การออกแบบหน้าบานตู้/ลิ้นชัก ให้มีร่องหรือช่อง หรือจะปาดขอบหน้าบานตู้/ลิ้นชัก ให้ขนาดมือเราจับเพื่อเปิดปิดได้
5.2 บานพับและรางเลื่อน มีวัสดุให้เลือกไม่มากเท่าวัสดุมือจับ เช่น เหล็กชุบกัลวาไนซ์ เหล็กพ่นสี และสเตนเลส ซึ่งมีความแข็งแรงทนต่อการใช้งานที่ต้องมีการเคลื่อนไหวตลอดขณะเปิดปิดตู้ ส่วนวัสดุพลาสติกจะใช้กับรางเลื่อนบางรุ่น (แต่ไม่นิยมใช้ทำเป็นบานพับ) โดยแนะนำให้เลือกใช้รุ่นที่มีคุณภาพทั้งประเภทของพลาสติกและการเคลือบสีพ่นสีที่ได้มาตรฐาน
ทั้งบานพับและรางเลื่อนสามารถแบ่งได้เป็น 2 ชนิดคือ ชนิดปิดเปิดปกติ และชนิดที่มีการเปิดปิดอย่างนุ่มนวล (Soft Close) โดยชนิดที่เปิดปิดอย่างนุ่มนวลจะมีราคาสูงกว่าแบบปกติ
สนใจ บริการต่อเติมห้องครัว จาก HomeSmile คลิก
ภาพ: มือจับรูปแบบและวัสดุต่างๆ ที่เข้าชุดกับเคาน์เตอร์ครัว
ภาพ: ตัวอย่างการออกแบบหน้าบานตู้ให้มีร่องหรือช่องให้มือเราจับเพื่อเปิดปิดหน้าบานตู้หรือลิ้นชักได้
ภาพ: รูปแบบของการปาดขอบหน้าบานตู้/ลิ้นชัก ให้ขนาดมือเราจับเพื่อเปิดปิดได้
นอกจาก 5 เรื่องข้างต้นนี้ ยังมีเรื่องรูปแบบ รูปทรง หรือดีไซน์ และสีสันที่มีมากมายที่นอกจากจะเลือกให้เหมาะกับรูปแบบหรือสไตล์ของเคาน์เตอร์ครัวและส่วนประกอบอื่นๆ แล้ว ยังควรเลือกรูปแบบให้เหมาะสมกับการใช้งาน ถนัดเหมาะมือ ตัวอย่างเช่น หากเป็นบานเปิดตู้หรือลิ้นชักขนาดเล็กหรือไม่กว้างมาก ควรเลือกมือจับแบบปุ่มหรือมือจับขนาดสั้นๆ ให้สัมพันธ์กับหน้าบาน อีกทั้งควรเลือกวัสดุและอุปกรณ์ต่างๆ ที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน เพื่อให้ตอบโจทย์และทนต่อการใช้งาน และอย่าลืมดูแลรักษาและทำความสะอาดแต่ละส่วนเพื่อให้ดูสวยงามเหมือนใหม่น่าใช้งานอยู่เสมอ
คิวคอน
อิฐมวลเบา Q-CON หนา 12.5 ซม. G2
41.50 บาท / ชิ้น
ราคาหน้าโรงงาน
คิวคอน
แผ่นเคาน์เตอร์สำเร็จรูปคิวคอน ส่วนบน ขนาด 56x150x7.5 ซม.
882.00 - 1,050.00 บาท / ชิ้น
คิวคอน
แผ่นเคาน์เตอร์สำเร็จรูปคิวคอน ส่วนแก๊ส ขนาด 56x90.5x7.5 ซม.
532.14 - 698.00 บาท / ชิ้น